พัฒนาเมืองอัจฉริยะ ทางเลือกฟื้นฟูยั่งยืน หลังโควิด

พัฒนาเมืองอัจฉริยะ  ทางเลือกฟื้นฟูยั่งยืน หลังโควิด

ทั่วโลกรับมือ หาทางออกวิกฤติโควิด มีหลายประเทศเริ่มวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ใช้แนวคิดการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

สถิติของ World Bank พบว่า ปัจจุบัน 50% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในเมือง และคาดจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 68% ในปี 2593 เมื่อผู้คนมุ่งหน้าเข้าสู่เมืองใหญ่เพื่อหาโอกาสในการทำงาน 

องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ว่า จะมีเมืองใหญ่ที่มีประชากรเกิน10 ล้านคน ถึง 43 เมืองทั่วโลก โดย 30 เมืองนั้นจะอยู่ในทวีปเอเชีย เมืองขนาดใหญ่เหล่านี้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย ไม่ว่าจะจัดการของเสีย การขนส่ง จัดหาพลังงาน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบสาธารณูปโภค ด้านสาธารณสุขและอื่นๆ

การสร้างเมืองอัจริยะ (Smart Cities) เป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้รับมือกับการขยายตัวของความเป็นเมืองที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีความสำคัญต่อการการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่อัตรการขยายตัวของความเป็นเมืองรวดเร็วที่สุด

จากข้อตกลงปารีส 190 ประเทศทั่วโลกได้ตกลงร่วมกันว่าจะช่วยกันควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส บรรดาประเทศในเอเชียให้สัตยาบันว่าจะช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ถึง 65% ภายในปี 2573

ขณะที่รัฐบาลทั่วโลกกำลังทำงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบโรคระบาด หลายรัฐบาลตอบรับต่อข้อเรียกร้องจากองค์กรอิสระเช่น International Energy Agency และผู้นำจากหลายประเทศ ในการสนับสนุน “การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน” ซึ่งทำได้ด้วยการเพิ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน โครงการที่สนับสนุนการประหยัดพลังงาน รวมถึงการสร้างเมืองสีเขียว

ในเอเชีย รัฐบาลสิงคโปร์ได้กำหนดแผนสีเขียว Singapore Green Plan 2030 เพื่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนต่อความมุ่งมั่นที่มีเรื่องภาวะโลกร้อนและการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลไทยเองได้วางทิศทางด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) โดยหนึ่งในกลยุทธ์หลักคือการส่งเสริมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและมาตรฐานความเป็นอยู่ในประเทศให้เติบโตไปควบคู่กัน

การพัฒนาเมืองอัจริยะ

เราเชื่อว่าการดำรงชีวิตอย่างฉลาดและยั่งยืนนั้นเป็นไปได้ถ้าหากมีเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม

เห็นได้จากหลายปีที่ผ่านมานี้ ภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวรับกับปัญหาโลกร้อนและผลกระทบของการขยายตัวของเมืองผ่านการสร้างอาคารสีเขียว โดยอาศัยเทคโนโลยีอันก้าวหน้ามาช่วยการพัฒนาด้านการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงาน การคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากการสร้างเมืองอัจฉริยะจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตแล้ว ยังจะช่วยให้ทุกภาคส่วนประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลา

จากงานวิจัยของ McKinsey ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองอัจฉริยะนั้นจะสามารถลดเวลาการเดินทางลงถึง 15-20% ลดอัตราค่าครองชีพลง 1-3% ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 10-15% และลดการใช้น้ำลง 20-30% ลดการเกิดอาชญากรรมของเมืองได้ถึง 40% และประหยัดเวลาในการติดต่อประสานงานกับภาครัฐและหน่วยงานด้านสาธารณสุขได้ถึง 65%

ธนาคารยูโอบีส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการสนับสนุนทางด้านการเงินภายใต้กรอบแนวคิดการเข้าถึงเงินทุนที่ยั่งยืนเพื่อเมืองอัจฉริยะ (UOB Smart City Sustainable Finance Framework) ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของธุรกิจที่สามารถเข้าถึงเงินกู้เพื่อสิ่งแวดล้อม บริการเงินฝากและบริการด้านการค้าอื่นๆ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อใช้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

โครงการยู-โซลาร์ คือหนึ่งในโครงการภายใต้กรอบแนวคิดนี้ ที่นำเสนอโซลูชันทางการเงินสนับสนุนระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยและในอาเซียน

ธนาคารจะสนับสนุนเงินทุนแก่ผู้พัฒนา ผู้ออกแบบและผู้รับเหมาออกแบบติดตั้งโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ได้แก่ สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาโครงการ และการบริหารจัดการเงินสด รวมถึงโซลูชันด้านการจัดการทางการเงิน เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แก่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ และบ้านเรือน ที่กำลังมองหาโซลูชันเพื่อการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์

องค์กรที่สนใจโซลูชันทางการเงินสำหรับอาคารสีเขียว สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.uobgroup.com/industry-insights-th/real-estate-hospitality/green-building.page