ปิดทองหลังพระ​ ?

ปิดทองหลังพระ​ ?

แฟนรายการ​เวทีประกวดแข่งขัน​ “มิสยูนิเวิร์ส” ส่วนใหญ่​ ไม่ทราบประวัติ​ ภูมิหลัง​ ความรู้​ ความสามารถของผู้เข้าประกวด​ นางงามจักรวาล​ หรือ​

มิสยูนิเวิร์ส ที่ฝ่ายจัดงานรับผิดชอบจัดขึ้นในแต่ละปีเท่าใดนัก​ เมื่อคณะกรรมการตัดสินใจ​ ประกาศผู้เข้าประกวดคนใด​สมควรสวมมงกฏ​ แสดงว่านางงามผู้นั้น​ ต้องได้คุณสมบัติ​ตามหลักเกณฑ์​ อาทิ​ ความงาม​ ความเฉลียวฉลาด​ ปฏิพานไหวพริบ​ การตอบคำถาม​ ชุดประจำชาติ​ ฯลฯ​ เป็นต้น​ 

ล่าสุด​ เวทีประกวดมิสยูนิเวิร์ส​ ปี​ 2019 มิสฟิลลิบปินส์​ น.ส.เคทรีย์น่า​ เกรย์สาวลูกครึ่งออสเตรเลีย ชนะใจคณะกรรมการ​ ได้ครอบครอง​ มงกฏมิสยูนิเวร์ส ปีดังกล่าว​ โดยไม่มีที่ติ​ เป็นที่ชื่นชม​แฟนชมรายการประกวดทั่วโลก​ แต่หลายท่าน​ อาจไม่ทราบเลยว่าการสวมมงกฏในแต่ละปี​ ทั้งทีมงาน​ ตัวนางงาม​ ได้ทุ่มเทแรงกาย​ แรงใจ​ เรียนรู้​ ฝึกฝนการเตรียมตัวก่อนการเข้าประกวดอย่างหนักมากน้อยเพียงใด ?

เรื่อง​ ประเด็นข้างต้น​ อาจไม่แตกต่างจากวิชาชีพการบริหารทรัพย์สิน​ คอนโดมิเนียม”​  อำนาจหน้าที่การบริหารทรัพย์สิน​คอนโดมิเนียม​ ซึ่งอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว​ ทั้งนี้​ เป็นไปตามข้อบังคับของนิติบุคคลอาคารชุด​ และพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อาคารชุด​ มาตรา​ 36 มติที่ประชุมคณะกรรมการ​ และที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ อย่างไรก็ตาม​ เมื่อโครงการคอนโดมิเนียม​ มีอายุมากกว่า​ 5​ ปี​ จำเป็นต้องอาศัยงบประมาณที่เพียงพอต่อการบำรุงรักษา​สาธารณูปโภค​ และระบบวิศวกรรมที่เสื่อมสภาพตามกาลเวลา

ข้อเท็จจริง​ ประการหนึ่ง​ ได้แก่​ การปรับเพิ่มค่าส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด ​กับ เจ้าของร่วม​ ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า​ เช่น​ ระยะ​ 3​ หรือ​ 5​ หรือ​ 7​ หรือ​ 10 ปี​ โดยบุคคล​ หรือนิติบุคคล​ ผู้ดำรงตำเเหน่งผู้จัดการ​ และที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมในระดับหนึ่งแล้ว​ แต่มักไม่ได้ถูกนำมาใช้กับนิติบุคคลอาคารชุด​ และผู้ซื้อห้องชุด​ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ​สำคัญ​ ได้แก่​ คณะกรรมการเกรงใจผู้ซื้อ​ หรือไม่ประสงค์ให้ผู้ซื้อได้รับผลกระทบ​ หรือไม่ประสงค์ให้ผู้ซื้อ​ ตามจิก​ ตามด่า​ หรือตำหนิคณะกรรมการในภายหลัง​ เมื่อผู้จัดการ​ ไม่สามารถนำนโยบายการปรับเพิ่มค่าส่วนกลางตามที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม ในอดีตเคยวางข้อกำหนดดังกล่าวไว้ให้แก่คณะกรรมการ​ ตลอดจนผู้จัดการไม่สามารถปฏิบัติได้​ สภาพแวดล้อม​ ทรัพย์ส่วนกลาง​ และสาธารณูปโภคที่เสื่อม​ หมดอายุจากการใช้งาน​ จะนำเม็ดเงินค่าส่วนกลางที่เพียงพอ​ต่อการปรับปรุง​ แก้ไขให้ดีขึ้นในอนาคตได้อย่างไร ?

ผู้ซื้อหลายท่านกล่าว​ เหตุใด​ นิติบุคคลฯ จึงต้องลดอัตรากำลังพนักงานรักษาความปลอดภัย​ ในขณะที่เมื่อ 2, 3, 4 ปีก่อน​ มีกำลังพนักงานรักษาความปลอดภัย(รปภ.)​ จำนวนมาก​ หรือ

เหตุใด​ นิติบุคคลฯ จึงต้องลด รปภ.​ หลายจุด​ อาจไม่สะอาดเหมือนแต่ก่อนหรือในอดีต​ หรือ เหตุใด​ นิติบุคคลฯจึงต้องลดบุคลากร​ให้น้อยกว่าในอดีต​ ในขณะที่ปริมาณงานมีจำนวนมาก​ ทำให้ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน​ไม่สามารถตอบสนองบริการที่ดีเหมือนแต่ก่อนได้ เป็นต้น

ผู้จัดการ​ ตอบ​ ชี้แจงผู้ซื้อ​ เจ้าของร่วมรายซึ่งมีคำถามข้างต้น​ นิติบุคคลฯ ขาดงบประมาณตามที่เรียกเก็บกับผู้ซื้อทุกรายในอัตราต่อ ตารางเมตร​ เท่าเดิม ไม่มีการปรับเพิ่มค่าส่วนกลางกับผู้ซื้อ เจ้าของร่วม ค่าส่วนกลางที่เรียกเก็บในปัจจุบันกับท่าน​ ยังคงเป็น​ อัตราเดิม”​ หากต้องการให้เกิดบริการที่สมบูรณ์แบบตามที่ท่านกล่าว​ หรือเรียกร้อง​ เสนอแนะ​ และจำเป็นอย่างยิ่งต้องปรับเพิ่มค่าส่วนกลางต่อตารางเมตรที่สูง​ หรือเพิ่มขึ้น​ กว่า 50 หรือ 60 70% ​เป็นอย่างน้อย

ผู้ซื้อ​เจ้าของร่วมหลายคน​เข้าใจ​ เเต่มีผู้ซื้อเจ้าของร่วมอีกหลายคน​ไม่เข้าใจ​ พลันเมื่อนิติบุคคลฯเสนอทางเลือกการปรับเพิ่มค่าส่วนกลางในอัตราใหม่ที่เเตกต่างจากเดิม​ หลายคน​ ส่ายหน้า ไม่อยากจ่าย​ เช่นนี้เเล้ว​ สาธารณูปโภค​ ทรัพย์ส่วนกลาง​ เเละสิ่งอำนวยความสะดวก​ต่างๆ จะดีขึ้น​ได้อย่างไร ?

ผู้จัดการ​หลายท่าน​ เมื่อเห็นว่านโยบายการปรับเพิ่มค่าส่วนกลาง​ ไม่สามารถตอบสนองแก่เจ้าของร่วมส่วนใหญ่​ จะมีแนวทาง​หรือวิธีการให้นิติบุคคลฯสามารถเดินหน้า​ อยู่รอด​ได้อย่างไร​ จึงจำเป็นต้องหาช่องทาง​ ได้แก่​ การเร่งรัดหนี้ค่าส่วนกลางค้างชำระ​ การหารายได้ในช่องทางอื่นที่เหมาะสม​ หรือการลดค่าใช้จ่ายบางรายการ​​ หรือการลดการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก​ บางรายการ​ เป็นต้น

เมื่อจำเป็นต้องใช้​อาศัยหลักเกณฑ์​วิธีการ​หรือแนวทางข้างต้น​ เเน่นอน​ย่อมกระทบต่อการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน​ ทั้งทรัพย์ส่วนบุคคล​ และทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมทุกคน​ สำหรับเจ้าของร่วมรายซึ่งชำระค่าส่วนกลางตรงตามกำหนดเวลา​ และใช้ประโยชน์แห่งทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น​ ย่อมเกิดผลกระทบแก่ท่านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้​ แต่เจ้าของร่วม​รายซึ่งค้างจ่ายและไม่ได้ใช้ประโยชน์ทรัพย์สิน​ อาจไม่ได้รับผลกระทบ แต่อย่างใด​ อาจกระทบทางอ้อม​ ดังนั้น​ เมื่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมไม่อนุมัติปรับเพิ่มค่าส่วนกลางตามข้อบังคับ​ และ พ.ร.บ.อาคารชุด​ เมื่อผู้จัดการมีความจำเป็นต้องใช้หรืออาศัยหลักเกณฑ์​ วิธีการ​ หรือแนวทางดังกล่าวข้างต้นกับเจ้าของร่วม​ และพยายามประคับประคองให้นิติบุคคลฯสามารถเดินหน้าการบริหารทรัพย์สินได้ระดับหนึ่ง​ โดยอาศัยค่าส่วนกลางอัตราเดิม เมื่อหลายปีที่ผ่านมา​ เพื่อรองรับการบริหารทรัพย์ส่วนกลาง​ดังกล่าว ขอท่านได้อย่าตำหนิ​การทำงานของผู้จัดการ​ หรือฝ่ายบริหารทรัพย์สิน​ ขาดประสิทธิภาพ​ หรือไม่ได้คุณภาพ​ แต่ควรชมเชยผู้จัดการ​ ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน​ สามารถบริหารทรัพย์สิน ด้วยอัตราค่าส่วนกลางเดิม​ โดยไม่ปล่อยทรัพย์สินเน่า​ ทำได้อย่างไร​ ?

โดย...

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย และ

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

[email protected]