“ร่วมกัน" ฉ้อโกง?

“ร่วมกัน" ฉ้อโกง?

เมื่อมีผู้สนใจสมัครงานจนสามารถตกลงค่าจ้างระหว่างทั้งสองฝ่าย “นายจ้าง” จึงอนุมัติรับ​ “ลูกจ้าง” เข้าปฏิบัติหน้าที่​

อาจมีบันทึกข้อตกลงการจ้าง​ สิทธิประโยชน์ไว้เป็นหลักฐานการจ้าง​ ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย​สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง​ต่อไปด้วย 

เเม้ทั้ง 2 ฝ่ายได้จัดทำ​ข้อตกลง​การจ้างระหว่างกันเเล้ว​ อาจเกิดเหตุการณ์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง หรือสัญญาจ้าง ย่อมเป็นเหตุให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายตามมา แต่ละฝ่ายสามารถใช้สิทธิทางศาลดำเนินคดีเเก่ผู้ผิดข้อตกลงการจ้าง หรือสัญญาจ้างต่ออีกฝ่ายได้ ยกตัวอย่าง “นายจ้าง” ไม่จ่ายค่าจ้างภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือค้างจ่ายค่าจ้างหลายเดือนติดต่อกัน​ หรือกรณี​ “ลูกจ้าง" หลอกลวงนายจ้าง​ ทำให้นายจ้างหลงเชื่อ ซื้อเครื่องไม้เครื่องมือทำความสะอาดที่ไม่ได้คุณภาพ​ มาตรฐาน​ ราคาถูก​ ร่วมกันปลอมแปลงใบเสร็จรับเงิน​​ เป็นต้น

อย่างไรก็ดี​ นอกจากขอบเขตงานตามที่ว่าจ้างตามข้อตกลงการจ้าง​ หรือสัญญาจ้างแล้ว​ ยังจำเป็นต้องคำนึง ความซื่อสัตย์ สุจริตของลูกจ้างเพิ่มเติมด้วย​ เมื่อนายจ้างมอบหมายลูกจ้างให้พิจารณาจัดซื้อจัดหาน้ำยาเคมี อุปกรณ์ทำความสะอาดรองรับการปฏิบัติงานของลูกจ้างเเล้ว​ ลูกจ้างมีหน้าที่จัดซื้อจัดหาตามที่นายจ้างมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต​ ซึ่งหากนายจ้างทราบความผิดที่ลูกจ้างได้กระทำ “นายจ้าง” อาจร้องทุกข์กล่าวโทษ​ต่อพนักงานสอบสวน​ หรือใช้สิทธิทางศาลดำเนินคดีตามกฎหมายแก่ “ลูกจ้าง” เป็นต้น

การรับสมัครพนักงาน​ ลูกจ้าง​ ไม่ว่าจะเป็นแม่บ้านรักษาความสะอาด หรือรักษาความปลอดภัย หรือธุรกิจอื่นใด​ นายจ้างจำเป็นต้องตรวจสอบประวัติ ผลงาน ภูมิหลังของบุคคลผู้สมัคร​ให้ถี่ถ้วนรอบคอบ​ อาจรวมถึงนิติบุคคล ผู้รับจ้างเฉพาะทางบริการจัดหา ส่งบุคคลปฏิบัติงานในอาชีพดังกล่าวให้แก่นายจ้างยังจำเป็นต้องตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อป้องกันเหตุเเห่งความเสียหายในอนาคตแก่นายจ้างได้

โครงการนิติบุคคลอาคารชุด​ “ขนาดใหญ่” ชื่อ​ “ก” ในจังหวัด​ท่องเที่ยวชื่อดัง มีนิติบุคคลบริษัทจำกัดมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้พัฒนา​ เป็นเจ้าของโครงการ​ดังกล่าว บนพื้นที่กว่าสองไร่เศษ​​ 1​ อาคาร สูง​ 30​ ชั้น​ จำนวนห้องชุดจำหน่ายรวมกว่า​ 400 ห้อง​ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเเละสาธารณูปโภคครบครัน

โครงการดังกล่าวจดทะเบียนกับ​ กรมที่ดิน” เมื่อ เม.ย.2560 ผู้ประกอบการเจ้าของโครงการจดทะเบียน หิ้วบุคคลธรรมดา​ นาย​ “ข” ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ​ ตั้งเเต่วันจดทะเบียนนิติฯ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี​ นาย​ “ข” ผู้จัดการตกลงว่าจ้างนิติบุคคลชื่อ​ “ค” ซึ่งนาย​ “ข” เป็นเจ้าของกิจการ​ รับผิดชอบงานตามหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุด​ “ก” เป็นเวลา 2 ปีตามสัญญาจ้าง​ ด้วยงบประมาณค่าใช้จ่าย​ ซึ่งเป็นค่าจ้าง​ ชำระให้นิติบุคคล​ “ค” เดือนละ 2 แสนบาทเศษ​ กับจำนวนบุคลากรของผู้รับจ้างนิติบุคคล​ ค​ รวมทั้งสิ้น​ 8​ คน

คณะกรรมการจำนวน 5 คนได้รับการแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วม “ครั้งเเรกเมื่อ ..2560 เป็นตัวแทนเจ้าของร่วมทำหน้าที่กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ ดูแลการปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการ นาย ส่วนนาย มีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูเเล ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่นิติบุคคล เเละบุคลากร ลูกจ้าง ของนิติบุคคล อีก 8 คน ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาจ้าง

ผู้จัดการนาย​ “ข” นิติบุคคลผู้รับจ้าง “ค” และคณะกรรมการจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตามปกติ​ หรือการจัดประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ ซึ่งกิจกรรมการประชุมดังกล่าวล้วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง​ตามข้อบังคับ ทั้งการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง​ การอนุมัติค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน-​ปี การหารือข้อปฏิบัติ​ แนวทางการอยู่อาศัยร่วมกัน​ ตลอดจนการรับฟังรายงานผลการดำเนินงานของผู้จัดการนาย “ข”  และนิติบุคคล​ “ค” ผู้รับจ้าง เป็นต้น

เมื่อ ม.ค.2562 ผู้จัดการนาย “ข" และนิติบุคคลผู้รับจ้าง​ “ค” จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตามปกติที่เคยจัดให้มีคราวละ 2 เดือนครั้ง​ มีวาระการประชุมพิจารณาอนุมัติคัดเลือก​ สรรหานิติบุคคล​ ผู้รับจ้างภายนอก​ เฉพาะทาง ได้แก่​ งานจัดจ้างตรวจสอบ​ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ​ “รายปี” ตามกฎหมายสิ่งเเวดล้อม​ พบว่ามีเอกสารเพียงใบเดียวเป็นสรุปรายงานเปรียบเทียบนิติบุคคลเฉพาะทาง​ ผู้เสนอราคารวม 3 ราย รายเเรกเสนอราคา​ 131,400​ บาท รายที่สองเสนอราคา​ 109,283.40​ บาท​ และรายสุดท้ายเสนอราคา​ 133,800​ บาท

ที่ประชุมมีมติอนุมัติคัดเลือก​ “รายที่สอง” ตามราคาที่เสนอ​ 109,283.40​ บาท​ ตามที่ผู้จัดการนาย​ “ข” เเละนิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ “ค” ด้วยเหตุผล​ราคาต่ำ​ ถูกที่สุดกว่ารายแรกและรายสุดท้าย​ นิติบุคคลผู้รับจ้าง“ค” เเละผู้จัดการนาย​ “ข” ส่งเช็คชำระค่าจ้างงานตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดังกล่าวต่อคณะกรรมการ​ เพื่ออนุมัติค่าจ้างจำนวนดังกล่าวต่อคณะกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม เพื่อชำระค่าจ้างให้เเก่นิติบุคคล​ “รายที่สอง” ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ

ต่อมาคณะกรรมการได้ตรวจสอบรายงานใบเสนอราคาการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดังกล่าวกับนิติบุคคลผู้เสนอราคาทั้งสามราย​ ด้วยตนเอง โทรศัพท์สอบถาม​ และร้องขอ​ ใบเสนอราคา จากนิติบุคคลผู้เสนอราคาทั้งสามราย พบว่าใบเสนอราคา​ “รายเเรก” ราคาที่เสนอเป็นเงิน​ 91,806 บาท​ รายที่สอง​และสามราคาที่เสนอตรงตามใบสรุปรายงานที่เสนอ​ของนิติบุคคลผู้รับจ้าง​ “ค” และผู้จัดการนาย​ “ข” เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ​ จึงได้ทราบความจริง​ ราคาที่เสนอรายแรกถูกกว่าราคาที่เสนอรายที่สองและสาม​ การกระทำของผู้จัดการนาย​ “ข” และนิติบุคคลผู้รับจ้าง​ “ค” และบุคลากร​ ลูกจ้างของนิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​ “ค” ทำให้คณะกรรมการหลงเชื่อ​ เรียกเอาผลประโยชน์ส่วนตน​ จึงถือได้ว่าร่วมกันกระทำความผิดฐาน​ร่วมกันฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา​

คณะกรรมการจึงได้รวบรวมเอกสารหลักฐานเเจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเป็นคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน​ ข้อหา​ ร่วมกันฉ้อโกง ภายในอายุความ​เพื่อให้ดำเนินคดีนาย “ข” ผู้จัดการ ลูกจ้างบุคคล เเละนิติบุคคลผู้รับจ้าง “ค​” รวม​ 4 ราย​ ตามลำดับ​​จนกว่าคดีจะถึงที่สุด​

โดย...

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

[email protected]