ธุรกิจค้าปลีกปรับตัว 'ขายผ่านช่องทางออนไลน์' ช่วงโควิด-19

ธุรกิจค้าปลีกปรับตัว 'ขายผ่านช่องทางออนไลน์' ช่วงโควิด-19

ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ธุรกิจโมเดิร์นเทรดนั้นนับว่าเติบโตอย่างมาก เพราะให้บริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในช่วงล็อกดาวน์

ส่วนผู้บริโภคต้องลดการใช้จ่ายในการรับประทานอาหารที่ร้าน และหันมาซื้ออาหารแบบกลับไปทานบ้าน สั่งอาหารจากบริการส่งอาหาร หรือซื้อวัตถุดิบมาทำเองที่บ้าน ซึ่งเป็นเทรนด์หลักที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในเอเชีย รวมไปถึงร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้มั่นใจว่า มีอาหารเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ รัฐบาลต่างออกมาตรการควบคุมสายการผลิตและป้องกันการกักตุนสินค้าเพื่อโก่งราคา 

กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งวอร์รูมขึ้นเพื่อจับตาดูห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งการผลิต การแปรรูป การค้า การส่งออกและการจัดจำหน่าย ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มส่วนใหญ่ได้รับอนุญาตให้สามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ เพื่อควบคุมราคาของสินค้าจำเป็น อาทิ ไข่ไก่ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ รัฐบาลได้กำหนดราคาจำหน่ายสินค้าควบคุมดังกล่าวเพื่อป้องกันการโก่งราคา

จากการสำรวจของ Baker McKinsey ผู้บริโภคในประเทศไทยได้ นิยมหันมาซื้อของชำจากร้านค้าโมเดิร์นเทรดแทนการไปตลาดสด ซึ่งการเลือกจับจ่ายที่ร้านค้าโมเดิร์นเทรดนั้นเติบโตขึ้นกว่า 30% นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด และคาดว่าจะโตขึ้นอีก 40% หลังจากสถานการณ์โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป แนวโน้มการเติบโตนี้ชี้ให้เห็นว่าอนาคตของธุรกิจโมเดิร์นเทรดนั้นจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

159478959873

สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยนี้ จากการสำรวจพบว่า ร้านสะดวกซื้อและร้านค้าออนไลน์ มียอดการใช้จ่ายและจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 30% ผู้บริโภคที่ตอบแบบสอบถามคาดว่า หลังสถานการณ์โควิด-19 จะใช้จ่ายมากขึ้นผ่านช่องทางไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อและร้านค้าออนไลน์

จากการศึกษาพบว่า สังคมหลังโรคระบาด ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะทำอาหารรับประทานเองที่บ้าน โดยเน้นอาหารเพื่อสุขภาพและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจับจ่ายใช้สอยผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น

ในประเทศจีน หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ทั่วประเทศแล้ว ผู้บริโภคยังคงชอปปิงสินค้าจำเป็นผ่านทางออนไลน์ ในสิงคโปร์ก็เช่นกัน หลังจากที่มีการลดระดับสถานการณ์ฉุกเฉิน ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคทางช่องทางออนไลน์เพิ่มจาก 6% เป็น 8% โดยสินค้าที่ไม่ใช่อาหารมียอดจำหน่ายผ่านทางออนไลน์เพิ่มขึ้นช่วงนี้ ในประเทศไทยเอง 

ถึงแม้ว่ายอดขายทางอีคอมเมิร์ซเติบโตแบบตัวเลขสองหลัก เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่องทางค้าปลีกออนไลน์ยังคิดเป็นเพียง 5-10% ของมูลค่าตลาดธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด โดยคาดว่า สถานการณ์โควิด-19 จะเร่งให้ค้าปลีกออนไลน์เติบโตขึ้นไปอีก

อีกทั้ง ผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและสุขอนามัยของอาหารที่จำหน่ายในร้านค้า ซึ่งทำให้การควบคุมคุณภาพด้านความปลอดภัยเข้มงวดขึ้น ตั้งแต่แหล่งที่มาตลอดจนการขนส่ง การหันมาใช้ช่องทางจ่ายเงินออนไลน์ หรือ e-payment เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสธนบัตรก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ยกตัวอย่างในอินโดนีเซีย พบว่าผู้บริโภคยินดีที่จะชำระเงินผ่านช่องทาง self-checkout เพื่อหลีกเลี่ยงการติดต่อกับเจ้าหน้าที่แคชเชียร์

ในระหว่างช่วงล็อกดาวน์นี้ ภาพรวมตลาดบริการส่งอาหารในประเทศไทย ซึ่งมีผู้เล่นหลักคือ GrabFood, LineMan , Foodpanda และ Get นั้น เติบโตขึ้นโดยมียอดสั่งซื้อจากลูกค้าเพิ่มขึ้นในอัตราสองหลัก ในช่วงล็อกดาวน์ที่หลายคนทำงานจากบ้าน ซึ่งคาดว่าตลาดจะเติบโตขึ้นไปอีก 31% หรือมีมูลค่ามากกว่า 60 ล้านดอลลาร์

ช่วงล็อคดาวน์ ทำให้ยอดการซื้อของชำระผ่านออนไลน์เติบโตอย่างสูง ผู้ให้บริการค้าปลีกหลายรายใช้กลยุทธ์การขายผ่านหลายช่องทาง เช่น เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล ที่ใช้ช่องทาง omni channel ดันยอดขายให้โตกว่า 106% ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีการใช้โซเชียลมีเดีย และความร่วมมือกับพันธมิตร เข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย ทั้งในเรื่องการขยายบริการออนไลน์และการขนส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ผู้ค้าปลีกบางรายใช้ช่องทาง chat-and-shop โดยให้ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าทางการแชทหรือทางโทรศัพท์ได้ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ เช่น ฟู้ดแลนด์ และกูร์เมต์มาร์เก็ต จับมือกับ ผู้ให้บริการส่งอาหารหรือของชำออนไลน์ เช่น HappyFresh หรือ LineMan เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมช่องทางออนไลน์ สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

ติดตามอ่านรายละเอียด เกี่ยวกับมุมมองธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคได้ที่ เว็บไซต์ยูโอบี – สินค้าอุปโภคบริโภค