ลงทุนแบบตั้งรับในภาวะสินทรัพย์หยุดนิ่ง

ลงทุนแบบตั้งรับในภาวะสินทรัพย์หยุดนิ่ง

สำหรับเดือนนี้ ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่า ภาวะปัจจุบันทั้งโลก ต้องต่อสู้กับเจ้า COVID-19

ซึ่งจะมีการแพร่ระบาดรอบ 2 (Second Wave) ตอนนี้เรายังถือว่าเป็นข่าวดี แต่ก็ต้องระมัดระวังกันระยะยาว แต่ปัจจัยที่เป็นปัญหาตามมาเหมือนเงาของ COVID-19 นั่นคือ ภาคเศรษฐกิจ มีอะไรบ้างเราลองมาไล่เรียงกัน

ผมขอเริ่มต้นจากปัจจัยต่างประเทศ เริ่มจากภาคต่อจากปีที่แล้ว คือ สงครามการค้าระหว่าง สหรัฐกับจีน ซึ่งก็ต่อกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ ท่ามกลางความช้ำระบมของทั้งสองประเทศ หลักๆ คือ การที่สหรัฐ ตั้งป้อม เล็ง บริษัทจีนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น เรื่องสองคือ การต่ออายุแบนด์ HAUWEI อีก 1 ปี ทั้งนี้ ยังไม่นับเรื่องที่มีการจะเตรียมฟ้องร้อง จีน ถึงความเสียหายที่เกิดจาก COVID-19 และประเด็นร้อนอีกเรื่องที่ผมขอจัดเต็มว่าเป็นเรื่องเดียวกัน คือ การประท้วงใน ฮ่องกง ซึ่งเรื่องภายในระหว่างจีนและฮ่องกง ผมขอมองแบบ กลางๆ คือ เรื่องนี้คงเป็นปัญหารายวันที่เข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุน เพราะจีนคงไม่ยอมให้ทุกอย่างเป็นไปตามประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกอย่างสหรัฐ

ในขณะที่มาตรการผ่อนคลายของบ้านเรานับว่าเป็นปัจจัยบวกที่เหนือการคาดการณ์ต่อตลาดหุ้นบ้านเรา ณ ตอนนี้ทำให้หมดความกังวลเรื่องจุดต่ำสุดใหม่(new low) แม้ว่า เป้าหมายของดัชนีใกล้ 1,400 จุด ไม่สะท้อนปัจจัยลบที่เราเผชิญอยู่ในตอนนี้ก็ตาม เพราะเศรษฐกิจภายในประเทศของเราได้รับความเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลต้องระดมทุนเงินก้อนใหญ่เพื่อเยียวยา เศรษฐกิจ และสังคม การบริโภคทั่วโลกชะลอตัว ขณะที่การส่งออกยังไม่โดดเด่นเท่าที่ควร แม้แต่การท่องเที่ยวซึ่งยังคงต้องใช้เวลา ถึงแม้จะมีมาตรการมาช่วยเหลือภาคท่องเที่ยวและบริการ แต่ ไทยเที่ยวไทย คงยังไม่พออาจจะต้องรอตัวจริง อาทิต นักท่องเที่ยว จีน และอินเดีย เป็นต้น

คำถามคือ ทำไมตลาดหุ้นยังตอบรับในเชิงบวก ซึ่งต่างประเทศก็เป็นเหมือนกัน พูดทีหลังมักถูกเสมอ เหตุผลใหญ่ๆมี 2 ข้อเท่านั้น ข้อแรก ผลตอบแทนจากพันธบัตร หุ้นกู้ และเงินฝาก ต่ำมากๆ ผมว่า พันธบัตรรัฐบาล อายุไม่เกิน ปี น่าจะไม่ถึง 1% ข้อที่ 2 สภาพคล่องล้นระบบ หมายถึง นักลงทุนถือครองเงินสดไว้มากเกิน ผู้ดูแลนโยบายการเงินทั่วโลกฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ โดยเฉพาะเจ้าพ่อพิมพ์ แบงก์ อย่างสหรัฐ ก็ฉีดเงินเข้าสู่ระบบเช่นกัน

ในภาวะดังกล่าวที่ธนาคารกลางของหลายๆประเทศต่างออกมาตรการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศตนเองนั้น ปัจจัยบวกในยามวิกฤติที่เกิดขึ้น คือ เงินล้นระบบส่งผลดีต่อการลงทุน ผมแนะนำว่า การลงทุนยาวในภาวะเช่นนี้เป็นทางออกที่ดีเสมอ ปัจจุบันก็มีกองทุนที่ได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษีจากมาตรการภาครัฐที่น่าสนใจ ทั้งกองทุน RMF ซึ่งเหมาะกับการลงทุนเริ่มลงทุนมาได้สักระยะหนึ่ง หรือ SSF ถือลงทุนในระยะเวลาที่สั้นลงหน่อย ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการลงทุนของแต่ละท่าน กับนโยบายกองทุนรวมที่แต่ละท่านสนใจ

สำหรับกองทุน SSF ภายใต้การบริหารของบลจ.วรรณ ก็มีนโยบายการลงทุน เน้นการลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ กองทุน ONE-ALLCHINA-ASSF, ONE-UGG-ASSF อย่างไรก็ดี บลจ.วรรณเราเน้นการลงทุนยาวในต่างประเทศประเภทหุ้น Growth Stock ซึ่งท่านควรศึกษารายละเอียดของกองทุนอย่างละเอียดที่สำคัญต้องสามารถยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะลงทุนรูปแบบใดก็ตาม แต่ในภาวะเช่นนี้ สินทรัพย์แต่ละประเภทจะอยู่ในสภาวะหยุดนิ่ง ดังนั้น การเน้นประโยชน์เรื่องภาษีจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ป้องกันไม่ให้ท่านเสียโอกาสการลงทุน ได้ดีที่สุด พร้อมรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนรูปแบบอื่นเพิ่มเติม ผมแนะนำสัดส่วนในรูปแบบ Conservative ก่อนในระยะนี้ เพื่อรอสถานการณ์ต่างๆให้มีความชัดเจน ทั้งปัจจัยความขัดแย้งต่างประเทศระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างเช่น จีนและสหรัฐ และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤติ COVID-19 โดยแนะนำสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประมาณ 20% ตราสารหนี้ระยะสั้น 65% น้ำมันกับทองประมาณ 15% ครับ