อุตสาหกรรมไทยในยุคเศรษฐกิจชีวภาพ

อุตสาหกรรมไทยในยุคเศรษฐกิจชีวภาพ

แม้ไทยมีจุดแข็งเรื่องทรัพยากรชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ และมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการผลิตในภาคการเกษตร จนเป็นฐานในการพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

แต่ที่ผ่านมาทรัพยากรได้ถูกนำมาใช้จนลดลงและเสื่อมโทรมไปมาก จนต้องทำให้ต้องหันกลับมาหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพอย่างระมัดระวังและให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ เพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่าควบคู่ไปกับการรักษษสมดุลทางสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในหลากหลายสาขามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพหรือก่อให้เกิดนวัตกรรม

ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรกรรมของไทยมีต้องปรับรูปแบบที่หันมามุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-based product) โดยกำหนดผลิตภัณฑ์ชีวภาพตามนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ได้แก่ ด้านพลังงานชีวภาพ ด้านการแพทย์และสุขภาพ ด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ และด้านการเกษตรและอาหาร ซึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรหรือความพร้อมในระดับสูงเนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูง ระบบอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพนี้ทำให้ส่งผลดีต่อภาพรวมของเศรษฐกิจประเทศโดยเป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

158453602382

จากการสนับสนุนของภาครัฐที่มีการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางชีวภาพ (Bio Hub of ASEAN) และจัดตั้งเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพให้เกิดขึ้นภายในปี 2570 ส่วนภาคเอกชนต่างก็มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพในอุตสาหกรรม) ในการดำเนินธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซลและเอทานอล) เป็นต้น

ากแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศต่างลงความเห็นว่าส่งผลดีโดยได้มีการสร้างเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและการผลิตขั้นต้นอย่างยั่งยืน การสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพที่สามารถแข่งขันได้ และการสร้างห่วงโซ่อาหารที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน อันเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากคนให้น้อยที่สุดเพื่อการดำรงอยู่แบบพึ่งพาของคนและสิ่งแวดล้อมต่อไป

โดย... 

เสาวนีย์ บุญเชียงมา

ฝ่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย