ข่าวจริง ข่าวลวง 'ไวรัสโคโรน่า' และการรับมือของรัฐบาล?

ข่าวจริง ข่าวลวง 'ไวรัสโคโรน่า' และการรับมือของรัฐบาล?

ข่าวร้ายแพร่กระจายเร็วกว่าข่าวดี กรณี "ไวรัสโคโรน่า" ก็เป็นเช่นนั้น หากนับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2562 เป็นต้นมา จนถึงวันนี้ (28 ม.ค.)

เกือบ 1 เดือนที่โรคปอดอักเสบรุนแรง ที่องค์การอนามัยโลก เรียกว่า Novel Coronavirus หรือ "ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019" เริ่มแพร่จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน กระจายไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อราว 4 พัน ยอดผู้เสียชีวิต 106 ราย

สำหรับประเทศไทย (28 ม.ค.) มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำนวน 14 ราย ส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่เข้ามาในไทย สามารถรักษาหายดีและออกจากโรงพยาบาลแล้ว 5 ราย และอีก 9 ราย  รักษาตัวอยู่

ด้วยเหตุมีคนไทยรายแรกติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (22 ม.ค.) หลังก่อนหน้านี้เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงคือเมืองอู่ฮั่น ซึ่งผู้ป่วยอยู่ที่นครปฐม ทำให้กระแสความสนใจของประชาชนเริ่มตระหนัก หันมาสนใจข่าวใกล้ตัวของการแพร่ไวรัสโคโรน่า ไม่ว่าจะเป็น ที่มาของเชื้อโรคที่มาจากจีน , ตัวเชื้อโรคกลายพันธุ์จากคนสู่คน , ต้นตอมาจากค้างคาว , อาการของคนติดเชื้อไวรัสโคโรน่า , จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า และ แพทย์ผู้รู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรน่า เป็นต้น

ข่าวจริง ข่าวลวง \'ไวรัสโคโรน่า\' และการรับมือของรัฐบาล?

ท่ามกลาง "ข้อมูลข่าวสารล้นทะลัก" จากช่วงต้นสถานการณ์เริ่มแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า ที่ปัจจัยภายนอกนอกประเทศ จีนไม่ค่อยเปิดเผยข้อมูล ส่วนปัจจัยภายใน จะกระทบการท่องเที่ยวและปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 และร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ที่มี ส.ส. เสียบบัตรแทนกันในการโหวตออกเสียง เป็นต้น กลายเป็นข่าวแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่ายังไม่โดดเด่นมากนัก

ทว่า การที่มีคลิปไวรัลถูกปล่อยออกมาเมื่อหลายวันก่อน ผสมปนเปข่าวลือมีคนจีนเมืองอู่ฮั่นป่วยล้มกลางถนนหลายคลิปอย่างต่อเนื่อง หรือคลิปที่อ้างว่าเป็นจนท.หน่วยแพทย์จีนออกมาเปิดเผยข้อมูล ทั้งความคิดเห็นคนไทยในและนอกเมืองอู่ฮั่นออกมาอยากกลับประเทศ จนกระทั่งแท็ก #ไวรัสโคโรน่า ติดท็อปแทบมาทุกวัน และตามตัว #รัฐบาลเฮงซวย ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ กลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลในที่สุด

แน่นอนว่า การรับมือไวรัสโคโรน่าของรัฐบาลไทย ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีความเคลื่อนไหวเตรียมรับมือในทางปฏิบัติเป็นระยะ

ข่าวจริง ข่าวลวง \'ไวรัสโคโรน่า\' และการรับมือของรัฐบาล?

แต่จะพอเพียงต่อความรู้สึกของประชาชนหรือไม่ ซึ่งแท็ก #ไวรัสโคโรน่า #รัฐบาลเฮงซวย เป็นตัวบ่งชี้ความรู้สึกของประชาชนได้เป็นอย่างดี แม้จะมีการโต้แย้งว่าเป็นการปั่นกระแสจากขั้วการเมืองฝั่งตรงข้ามรัฐบาลก็ตาม อาจไม่ใช่เสียทั้งหมด เพราะความตกใจ ความกลัวที่ทุกคนเปิดรับสื่อออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ ย่อมตื่นตระหนกอยู่ ซึ่งสื่อออนไลน์ต่างๆ รับรู้ได้จึงตีข่าวเพื่อเตือนภัยด้วยหวังว่าอย่าดูเบา

ข่าวจริง ข่าวลวง \'ไวรัสโคโรน่า\' และการรับมือของรัฐบาล?

กระนั้นเอง แรงกดดันประชาชนผ่านสื่อพุ่งตรงไปยังนายกฯ ด้วยการคำถามเรื่องมาตรการดูแลปกป้อง และติดตามแอคชั่นของรองนายกฯที่ดูแล กระทรวงสาธาณสุข, กระทรวงคมนาคม และรวมถึงกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลเกี่ยวพันกับ "คนจีน" ในประเทศไทย จะมีมาตรการเชิงรุกอย่างไรบ้าง แม้เข้าใจว่าทำงานรับมือต่อเนื่อง แต่เสียงสะท้อนทั้งสื่อและประชาชนเบาลงหรือไม่

วานนี้ (27 ม.ค.) นายกฯ แถลงการณ์ผ่านทีวีพูล กรณีไวรัสโคโรน่า ยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นระดับ 3 ให้สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ บริหารจัดการทรัพยากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และทางทหาร ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเฝ้าระวัง ค้นหา และคัดกรอง ช่องทางเข้า-ออกประเทศ ทั้ง 5 สนามบิน และช่องทางอื่นๆ

ล่าสุดวันนี้ (28 ม.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการรับมือสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ว่าจะมีการตั้งวอร์รูม โดยกระทรวงสาธารณสุข และดูว่าจะดูแลชาวจีนที่เข้ามายังประเทศไทยอย่างไร สมควรที่จะปิดการเข้าออกประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งต้องดูไปก่อน ยังไม่ถึงเวลา สั่งการให้กระทรวงกลาโหม เช่น ให้แพทย์ทหาร เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของกระทรวงสาธารณสุขด้วย

ข่าวจริง ข่าวลวง \'ไวรัสโคโรน่า\' และการรับมือของรัฐบาล?

"ยืนยันว่าอย่างไรสุขภาพต้องสำคัญที่สุด ซึ่งถ้าควบคุมได้ ทุกอย่างจะไม่มีปัญหา และขออย่าเอาประเด็นนี้มาเป็นปัญหาทางการเมือง เพราะมันอันตราย รัฐบาลทำเต็มที่แล้ว"

ดูเหมือน "แอคชั่นนายกฯ" จะทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลขึ้นมาบ้าง แต่สถานการณ์ที่ทุกคนเห็นข่าวสารจากต่างประเทศได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่อออนไลน์และสื่อโซเชียล ไม่ต้องรอ "สื่อดั่งเดิม" อย่างวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งกลายเป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องรับมือ

ขณะเดียวกัน วันก่อน (27 ม.ค.) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำเสนอข่าวต่อสาธารณชนในทิศทางเดียวกัน หลังเกิดข่าวปลอม หรือเฟคนิวส์ (Fake news) เกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ไม่ถูกการกลั่นกรองค่อนข้างมาก เช่น ข้อมูลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมถึงคลิปที่มีการส่งต่อในโลกออนไลน์ที่มีภาพคนล้ม ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยกระทรวงสาธารณสุข เตรียมตั้งวอร์รูมกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องที่เกี่ยวข้องของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และจะมีการแถลงข่าวให้ข้อมูลวันละ 1 ครั้ง

ข่าวจริง ข่าวลวง \'ไวรัสโคโรน่า\' และการรับมือของรัฐบาล?

อาจยังไม่เพียงพอ ในการรุกชี้แจงสื่อโซเชียลได้ทันกระแสสังคมหรือไม่ ขณะที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล จะพยายามช่วยกันเป็น "กระบอกเสียง" ในสื่อโซเชียลก็ตาม แต่เกิดไม่เป็นเอกภาพและประสิทธิภาพ ดังนั้น หากรัฐบาลเข้าใจจริตคนและสื่อ ย่อมจะเข้าใจการแก้ปัญหาให้ตรงจุดกว่านี้.. ไม่งั้น "ลุงตู่-หมอหนู" คงงานเข้าไม่เลิก และต่อเนื่อง เพราะไวรัสโคโรน่ายังคง "เขย่าขวัญ" คนจีนและคนไทยอย่างต่อเนื่อง..

หรือจะต้องให้แนะนำ อธิบายมาขนาดนี้แล้ว!!