ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ​ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว​

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ​ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว​

โดยปรกติ​ ธรรมชาติ​ของ​ “นายจ้าง” หรือหัวหน้างาน​ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นองค์กร​ธุรกิจ​ครอบครัว​ สังคมขนาดเล็ก​กลางหรือใหญ่​

น้อยราย​ที่จะไม่รัก​สงสาร​ผูกพัน​ หรือรู้สึกเห็นอกเห็นใจ​ ลูกจ้าง ซึ่งทำงาน​ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่ตน​ ถ้า​ “นายจ้าง ไม่เหลืออด​เหลือทน​ น้อยรายนัก อาจ​(ไม่)จำเป็นต้องโยกย้าย​​เลิกจ้างปลดออก​หรือไล่ออก​ ลูกจ้าง ของตนเอง​ ​เป็นต้น 

พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คุ้มครองแรงงาน​ฯ​ นายจ้าง อาจเลิกจ้าง​ ลูกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย​ ​(Compensation Fee)​ ให้แก่ ลูกจ้าง หากพบความผิด​ด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้​ (1)ขาดงานติดต่อกันสามวัน​ โดยไม่มีเหตุอันควร​ (2)ตักเตือนแล้ว​ แต่ลูกจ้างเพิกเฉย​ ไม่ปรับปรุง​​แก้ไข​ จนก่อให้เกิดความเสียหาย​ (3) ทุจริตต่อหน้าที่​ จนก่อให้เกิดความเสียหาย​ (4)ละเมิดข้อบังคับ​กฎระเบียบการทำงาน​ จนได้รับความเสียหาย​ (5) นำความลับภายใน​บอกกล่าวแก่ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต​ จนเกิดความเสียหาย​ (6) ต้องคดีอาญา​ ​จนเป็นเหตุได้รับโทษ​โทษจำคุก​ ฯลฯ​ เป็นต้น​ หรือกรณี​ ลูกจ้าง​ ปฏิบัติหน้าที่ให้แก่​ นายจ้าง เมื่อ​ ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่​ ย่อหย่อน​ ขาดประสิทธิภาพ​ อาจเกิดจากเกียจคร้าน​ หรือขาดความรับผิดชอบ​ ประสบการณ์​ การเอาใจใส่​ โดยทั่วไป​ นายจ้าง มักเรียก​ “ลูกจ้าง พูดคุย​ หรือให้โอกาส​ ลูกจ้าง ปรับปรุง​ แก้ไขการปฏิบัติหน้าที่​ หากไม่ดีขึ้น​ นายจ้าง อาจต้องโยกย้าย​ หรือเลิกจ้าง​ ลูกจ้าง เพื่อสรรหา​ คัดเลือก​ ลูกจ้าง รายใหม่​แทนรายก่อน 

ประเด็น​ หรือเรื่องข้างต้น​ อาจนำมาเทียบเคียงกับระบบอาคารชุด​ ภายใต้พ.ร.บ.อาคารชุดฯ​ ทุกนิติบุคคลอาคารชุด​ (ทั่วประเทศ)​ โดยผู้จัดการ​​มีหน้าที่ความรับผิดชอบ​ ​(Responsibility)​บริหารจัดการ​ บำรุงรักษาทรัพย์ส่วนกลาง​ ตามวัตถุประสงค์​ มติคณะกรรมการที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ อย่างไรก็ดี​ ผู้จัดการ​ โดยความเห็นชอบคณะกรรมการ​อาจเสนอแผนบริหารบุคลากร​ฝ่ายจัดการอาคาร​ รักษาความปลอดภัย​ความสะอาดซ่อมบำรุงระบบวิศวกรรมประกอบอาคาร​ สวนหย่อม​สิ่งอำนวยความสะดวก​ การบริหารพื้นที่จอดรถยนต์​ หรือเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง​ ด้วยการจ้างบุคลากรโดยตรง​ หรือจ้างผ่าน​ นิติบุคคล​ ผู้รับจ้าง​เป็นการเฉพาะทาง​รองรับงานดังกล่าว​ตามข้อบังคับ​และกฎหมายได้ ทั้งนี้​ เพื่อให้งานดังกล่าว​ ​เกิดประสิทธิภาพ​เหมาะสม​ตรงตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการ​​ เจ้าของร่วม ​นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง 

อย่างไรก็ดี​ เมื่อนิติบุคคลอาคารชุด​ตกลงว่าจ้างบุคลากรฝ่ายต่างๆ​ หรือรักษาความปลอดภัย​ ความสะอาด​ สวนหย่อม​ระบบวิศวกรรม​ หรืองานส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องแล้ว​ ลูกจ้าง หรือ​ ผู้รับจ้าง ย่อมมีหน้าที่ความรับผิดชอบ​ปฏิบัติงาน​ตามที่ได้รับมอบหมาย​ หรือข้อตกลงการจ้างของ​ นายจ้าง​ - ผู้ว่าจ้าง หรือเมื่อพนักงานรักษาความปลอดภัย​ปฏิบัติหน้าที่​ “บกพร่อง จนเป็นเหตุได้รับความเสียหาย​ ​เช่น​ ทิ้งจุดโดยไม่มีเหตุอันควร​ ​หรือหลับยาม​บ่อยครั้ง​ หรือดื่มสุรา​สูบบุหรี่​ ทั้งก่อน​หรือระหว่างการปฏิบัติหน้าที่​ หรือขาดงาน​ โดยไม่บอกกล่าวหัวหน้าชุด​ หรือต้นสังกัด​ หรือกรณีอื่น​จนเกิดเป็นความเสียหายแก่​ นายจ้าง​ หรือ​ ผู้ว่าจ้าง ก็อาจเป็นเหตุให้​  “นายจ้าง​ -​ ผู้ว่าจ้าง ​ตักเตือน​ หรือบอกเลิกการจ้างตามสัญญาจ้าง​ หรือข้อตกลงการจ้างได้​ หรือพนักงานรักษาความสะอาด​ ​ แม่บ้านส่วนกลาง​ขาดการเอาใจใส่​ ปล่อยให้เกิดกลิ่นเหม็น​คละคลุ้ง​ทั่วบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง​จากห้องเก็บขยะ​ หรือปล่อยปละละเลย​หน้าที่ความรับผิดชอบ​ หรือเบียดบังเวลางาน​รับงานส่วนบุคคลให้กับสมาชิก​เจ้าของร่วม​ผู้อาศัย​บางราย​ หรือใช้เวลางาน​จัดเก็บขยะของเหลือใช้​รอวันขาย​ เป็นต้น​ ทั้งนี้​ นายจ้าง​ - ผู้ว่าจ้าง อาจบอกกล่าว​ ตักเตือน​ หรือบอกเลิกการจ้างงานตามสัญญาจ้าง​ หรือข้อตกลงการจ้างงานได้​ เป็นต้น 

หรือกรณีบุคลากร​ฝ่ายจัดการอาคาร​บางราย​บางคน​จัดการงานต่างๆ​ ไม่แล้วเสร็จ​ภายในระยะเวลากำหนดหรืออาจย่อหย่อน​ขาดประสิทธิภาพของงานที่ว่าจ้าง​ หรือหัวหน้างาน​โยนงาน​บางเรื่อง​ให้แก่ลูกน้อง​ ​ผู้ใต้บังคับบัญชา​ แทนที่จะรับผิดชอบด้วยตนเอง​ ผลงาน จึงไม่สัมฤทธิ์ผล​หรือหัวหน้างาน​บางคน​ปฏิบัติหน้าที่​ดังเช่น​ “ศรีธนญชัย หรือ​ ​​แก้ผ้า​เอาหน้ารอด​ (ไปวันๆ )​ หรือขาดเป้าหมาย​แผนงาน​ก็อาจเป็นเหตุให้​ นายจ้าง​ - ผู้ว่าจ้าง ตักเตือน​ หรือบอกเลิกสัญญาจ้าง​ หรือข้อตกลงการจ้างงานได้เช่นเดียวกัน 

อย่างไรก็ตาม​ การเลิกจ้าง​ ทั้งการไม่ต่อสัญญาจ้าง​ หรือข้อตกลงการจ้างต่อ​ ลูกจ้าง​ - ผู้รับจ้าง ของ​ นายจ้าง​ -​ ผู้ว่าจ้าง​อาจเกิดขึ้น​ จำนวนน้อย หรือมีไม่มาก​ เหตุเพราะ​ ลูกจ้าง​ หรือ​ ผู้รับจ้าง ส่วนใหญ่​เห็นความสำคัญของงานที่ตนรับผิดชอบเป็นอย่างดี​ อีกทั้ง​ อาจทราบดีว่า นายจ้าง​ - ผู้ว่าจ้าง ​เสียเวลา​เสียโอกาส​การทำงานของตน​ ​เพราะนอกจากเสียเวลา​ ค่าใช้จ่ายในการติดต่อ สรรหา​คัดเลือก​ลูกจ้าง​หรือผู้รับจ้าง​ รายใหม่​ ทดแทน​รายเดิมแล้ว​ ลูกจ้าง​ -​ ผู้รับจ้าง อาจตกงาน​ เสียเวลาหางานใหม่​ ดังนั้น​ การบริหารงานบุคคล​ หรือบุคลากร​ ลูกจ้าง จึงถือเป็น​ เรื่องใหญ่ และ ​“สำคัญยิ่ง ที่​ นายจ้าง​ - ผู้รับจ้างหรือหัวหน้างาน​ต้นสังกัด​(ทุกคน)​ต้องหมั่นใส่ใจ​ดูแลรับผิดชอบ ลูกจ้าง ผู้รับจ้าง ของตน

โดย... 

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย และ

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

email address :[email protected]