เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอนที่ 2)

เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอนที่ 2)

ปัจจุบันโลกมีความเหลื่อมล้าหลายด้านที่สะท้อนความไม่เสมอภาค (Inequality) ระหว่างภูมิภาค และ ระหว่างประเทศ

ทั้งในส่วนความเหลื่อมล้าด้านรายได้ ความเหลื่อมล้าด้านทรัพย์สิน ความเหลื่อมล้าด้านโครงสร้างภาษี ความเหลื่อมล้าเชิงพื้นที่ และความไม่เท่าเทียมกันในการแข่งขัน ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้าสูงที่สุดในโลกจากข้อมูลของ GS Global Wealth Report 2018 ของเครดิตสวิส Private Banking การวัดความเหลื่อมล้านั้น เป็นการวัดการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) โดยประเทศที่มีข้อมูลการวัดกระจายมั่งคั่งสมบูรณ์มีเพียง 35 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน เป็นต้น

จากสถำนกำรณ์ควำมเหลื่อมล้ำของไทย ปี 2559 

-คนไทย 1% มีสินทรัพย์มากถึง 66.9% ของสินทรัพย์รวม

-5 ปีที่ผ่านมา คน 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนไทยทั่วประเทศรวมกัน

-คนไทยมากกว่า 3 ใน 4 ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินใดๆ เลย ( 61% ของโฉนดที่ดินของไทย อยู่ในมือประชากร 10%)

-มหาเศรษฐีระดับพันล้าน เพิ่มจาก 5 คน ( พ.ศ. 2551 ) เป็น 25 คน (พ.ศ.2558) (แต่คนไทย 10% หรือประมาณ 7 ล้านคน ยังมีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน)

-โอกาสของลูกคนที่มีรายได้น้อย จะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยต่างจากคนอื่น 19 เท่า

 ปัจจัยและสาเหตุ 6 ประการ ของความยากจน และความมเหลื่อมล้ำ

1.ด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ ที่เอื้อประโยชน์ต่อเจ้าทุนมากกว่าเจ้าของแรงงาน ผลตอบแทนแรงงานเพียง 40% ของรายได้ประชาชาติ และยังเอื้อประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตรกรรม 2.ด้านโครงสร้างภาษี ทำให้เกิดการพึ่งพิงภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าภาษีทางตรง (51.8% ต่อ 36.6%) ทำให้การใช้ภาษีโรงเรือน ที่ดินและภาษีบารุงท้องที่ในปัจจุบันทาให้เกิดความไม่เป็นธรรมหลายประการจากลักษณะของการใช้ฐานภาษีและอัตราภาษี ส่งผมให้โครงสร้างภาษีไม่สอดคล้องกับลักษณะฐานภาษี

3.ด้านโครงสร้างทางสังคม กล่าวคือ การกระจายบริการพื้นฐานของรัฐยังมีความเหลื่อมล้าทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ทำให้แรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบกับการเข้าถึงหลักประกันทางสังคมและการคุ้มครองโดยกฎหมาย เกิดช่องว่างการเข้าถึงองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร

4.ด้านกฎหมาย การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ทั่วถึงและไม่เท่าเทียม คนจนชายชอบยังเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไม่ทั่วถึง 5.ด้านกรรมสิทธิ์ที่ดิน โดยหน่วยงานบริหารจัดการที่ดินของประเทศไทยยังขาดเอกภาพ ที่ดินของรัฐส่วนใหญ่จึงขาดความชัดเจนในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน เกิดเป็นปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับแนวคิดสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ ที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐและราษฎรในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และปัจจัยและสาเหตุสุดท้าย 6.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใส เกิดปัญหาคอรัปชั่น ทาให้การใช้จ่ายงบประมาณสิ้นเปลืองและโครงการภาครัฐไม่ยั่งยืนหรือไม่ได้ประโยชน์แท้จริงต่อกลุ่มคนหรือพื้นที่เป้าหมาย 

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยงานหนึ่งที่พยายามลดความเหลื่อมล้า โดยได้จัดทา แผนที่นำทำงและยุทธศำสตร์กำรวิจัยและนวัตกรรมรำยสำขำด้ำนควำมเหลื่อมล้ำ” โดยระดมความ คิดจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) และหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนพรรคการ เมืองเพื่อให้ได้แผนที่ดังกล่าว (Strategic Map) ที่สามารถใช้พัฒนาและแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการ รวมทั้งรับรู้สถานการณ์สภาพปัญหาด้านความเหลื่อมล้า (ปัจจุบันสานักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้อนุมัติทุนสนับ สนุนกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยกลุ่มเรื่อง“การลดความเหลื่อมล้าในสังคมไทยในหลายๆ ประเด็นสาขา”)

เหลื่อมล้ำ เรื้อรัง รุนแรง ล้มเหลว ??? (ตอนที่ 2)

สรุปการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ ความไม่เสมอภาค (GINI Coefficient Index) โดยสานักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2560 ค่า GINI ทั้งด้านรายได้ และรายจ่าย ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พอสรุปได้ว่า ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้าอยู่ (แต่ไม่ใช่ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ามากที่สุดในโลก) แต่จากการเรื้อรังของความเหลื่อมล้าในประเทศไทย ยังมีความจาเป็นต้องให้ความสาคัญในการผ่านมาตรการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อให้ประชากรในกลุ่ม่ที่มีรายได้น้อย และรายได้ปานกลางมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีการกระจายรายได้จากกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูง ไปสู่ประชากรกลุ่มต่างๆ ดีกว่าที่เป็นมาจนถึงปัจจุบัน

ปัญหาความเหลื่อมล้าเป็นปัญหำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ความเหลื่อมล้าทางสังคม (Social Inequality) และปัญหาความยากจน เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจขจัดให้หมดสิ้นไปได้ แต่สิ่งที่พอกระทาได้ คือ การลดความรุนแรงของความเหลื่อมล้าให้น้อยลงตามสมควร ปัญหาดังกล่าวนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังคงอยู่และทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบสู่ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิผล “สังคมประชาธิปไตย” (Democracy Society) ; “สังคมของผู้มีการศึกษา” (Educated Society) ; “สวัสดิการสังคม” (Social Welfare) ; “การปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม” (Fair Trade Practice) ; “การปรับโครงสร้างภาษี” (Tax Reforms) ; และการปลูกฝัง “จิตสานึกในการพึ่งพาตนเอง” ( A Sense of Self-Reliance) เป็นมาตรการที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้าทางสังคมได้มาก

โดย... ธีรวิทย์ จารุวัฒน