ถ้าไม่อยากให้​ *คอนโดมิเนียม* เป็น​ “สลัมลอยฟ้า”

ถ้าไม่อยากให้​ *คอนโดมิเนียม* เป็น​ “สลัมลอยฟ้า”

ระบบอาคารชุด​ *คอนโดมิเนียม​* ตามข้อบังคับ และพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อาคารชุด​ กำหนดให้ ทั้งปีจอ​ 2561 ผ่านไป​ ปีกุน​ 2562 เข้ามาแทนที่​

 และทุกๆ ปี​ เมื่อผ่านพ้นปีเก่า​ ย่างเข้าปีใหม่​ ท่านผู้อ่าน​แฟนคอลัมน์​จำนวนไม่น้อย​ อาจคิดพิจารณา​ทบทวนเรื่องเก่าๆ มุ่งทำสิ่งที่ดีใหม่ๆ​ ให้เกิดประโยชน์ หรือวางแผนย้ายที่อยู่แห่งใหม่จากบ้านจัดสรร​ อาคารชุด​ หรืออีกหลายท่าน​ อาจคิดหาช่องทางลงทุน​ ประกอบอาชีพ​ สร้างรายได้ให้แก่ตนเอง​ และครอบครัว​ 

อนึ่ง​ ท่านที่อาจเตรียมวางแผนย้ายสถานที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานในเมือง​ เพื่อลดค่าใช้จ่ายต่างๆ​ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน​ หลายท่าน​ ใช้ขนส่งมวลชนขนาดใหญ่สาธารณะ​ ทั้งนี้​ เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างวัน​ ฝุ่นละออง​มลพิษ ปัจจัย​ดังกล่าวข้างต้น​ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้หลายท่านตัดสินใจซื้อ​ และย้ายเข้าอาศัยในอาคารชุด​ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองมากขึ้น 

อย่างไรก็ดี​ หลายท่าน​ ในฐานะ​ผู้ซื้อห้องชุดในคอนโดมิเนียม​ อาจได้ศึกษา​เรียนรู้ระบบอาคารชุด​ โดยเฉพาะการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ส่วนบุคคล​ ห้องชุด​ และทรัพย์ส่วนกลาง​ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่มีด้วยตนเอง​ หรืออาจสอบถามจากบรรดาผู้รู้​ ผู้มีประสบการณ์มาบ้าง​ หรือบางท่าน​ อาจเดินทางเข้าสอบถามรายละเอียดกับบุคลากรของสำนักงานนิติบุคคล​โดยตรง ​ ผู้เขียน​ขอ​ ชมเชย สนับสนุนการกระทำดังกล่าวของท่าน เพราะมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

อย่างไรก็ตาม​ การอยู่อาศัยในอาคารชุด​ คอนโดมิเนียม​ อาจแตกต่างจากบ้านจัดสรร​ สิ่งปลูกสร้าง​แนวราบ​ค่อนข้างมาก​ เหตุเพราะในอาคารชุด​มีผู้คนจำนวนมาก​ อีกทั้งใช้ทรัพย์ส่วนบุคคล​ และทรัพย์ส่วนกลาง​ สิ่งอำนวยความสะดวกตลอดเวลา​ ที่สำคัญ​การใช้ทั้งทรัพย์ส่วนบุคคล​ และทรัพย์ส่วนกลาง​ สิ่งอำนวยความสะดวก จำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้อง​ ถูกวิธี​ ซึ่งนอกจากจะเกิดประโยชน์ต่อตนเองแล้ว​ ยังก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม​ เกิดมูลค่าเพิ่มทรัพย์สินอีกด้วย​ ดังนั้น​ การใช้ประโยชน์ในอาคารชุดที่ถูกต้อง​ ​ไม่สร้างความเสียหาย​ หรือความเดือดร้อน​รำคาญแก่ส่วนรวม​ และผู้ซื้อ​ เจ้าของร่วมอื่น​ และจะไม่ให้คอนโดมิเนียม​ เป็น​ สลัมลอยฟ้า ผู้เขียน​ มี​ คำแนะนำ ดังต่อไปนี้

1.​ ศึกษาข้อบังคับ​ กฎ​ ระเบียบ​ ข้อควรปฏิบัติ​ และกฎหมาย การอยู่อาศัยของคนจำนวนมากในอาคารแห่งเดียว​ ภายใต้ชายคาเดียวกัน​ จำเป็นต้องมีข้อบังคับ​ กฎ​ ระเบียบ​ และกฎหมายใช้บังคับแก่ผู้อยู่อาศัย​ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย​ ซึ่งกฎ​ระเบียบ​ทั้งหลาย ท่านสามารถติดต่อ​ สอบถามได้ที่สำนักงานของนิติบุคคลอาคารชุดของท่าน 

2.​ การตกแต่ง​ -​ ต่อเติมห้องชุดต้องขออนุญาตก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ห้องชุดของท่าน​ ข้างเคียง​ ส่วนรวม​ และนิติบุคคลอาคารชุด​ ท่านมีหน้าที่แจ้งเรื่องดังกล่าวต่อสำนักงานนิติบุคคลฯ ก่อนตกแต่ง​ หรือต่อเติมห้องชุดของท่าน 

3.​ ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล​ และส่วนกลาง ค่าบริการสาธารณูปโภคที่เกิดขึ้นภายในห้องชุด​ อาทิ​ ค่าน้ำประปา​ ไฟฟ้า​ อินเทอร์เน็ต​ หรือเคเบิ้ล​ ทีวี​ โทรศัพท์​ เป็นต้น​ ท่านมีหน้าที่ชำระค่าให้แก่นิติบุคคลฯ ไม่ชำระไม่ได้

4.​ ใช้ห้องชุดให้ตรงตามวัตถุประสงค์ เมื่อโครงการคอนโดมิเนียมกำหนดให้ใช้ห้องชุดเพื่อการอยู่อาศัย​ เว้นห้องชุดเชิงพาณิชย์​ ร้านค้าที่กำหนดเป็นการต่างหาก​ ตามข้อบังคับ​และกฎหมาย​ ขอให้ท่านใช้ห้องชุดให้ถูกต้อง​ ตรงตามที่นิติบุคคลฯกำหนด​ อย่าฝ่าฝืน​ ละเมิดข้อบังคับ​ เพราะไม่เกิดประโยชน์​แก่ท่าน อีกทั้งอาจสร้างความเดือดร้อน​ ความเสียหายแก่ส่วนรวมอีกด้วย 

5.​ นิติบุคคลอาคารชุดต้อง​ เข้มแข็งเป็นหลักปักขี้เลนไม่ได้ นิติบุคคลอาคารชุด​ “อ่อนแอ ย่อมมีโอกาสทำให้อาคารชุด​ (หลายแห่ง)​ เป็น​ สลัมลอยฟ้า ได้ง่าย​ ประกอบกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น​ หรือสะสมมานาน​ อาจกระทำด้วยความยากลำบากในอนาคต

6.​ อย่าเอาหูไปนา​ เอาตาไปไร่หรือ​ ธุระไม่ใช่” เมื่อท่านพบเห็นสิ่งผิดปรกติ​ หรือความไม่ถูกต้อง​ ท่านมีหน้าที่แจ้ง​ หรือบอกกล่าวให้ฝ่ายที่รับผิดชอบ​ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ 

7.​ ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์​ ข้อเดียวอาจดีกว่าบ่นมาก​ หรือหลายครั้ง กิจกรรมทรัพย์ส่วนกลาง​ ทั้งการให้ข้อเสนอแนะ​จากแบบสอบถามความคิดเห็น​ หรือการ เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ ตามที่นิติบุคคลฯจัดขึ้น​ อาจเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุง​ แก้ไขทรัพย์ส่วนกลางที่ชำรุด​ เสียหาย หรือการให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานนิติบุคคลฯ 

8.​ สนับสนุน​ ส่งเสริม​ คนดี​ คนเก่ง”​ เป็นตัวแทน​ บริหารงานแทนท่าน​ ในฐานะ​ ผู้จัดการ​หรือคณะกรรมการ​ ตามโอกาสที่เหมาะสม ระบบอาคารชุดถูกกำหนดให้มีตัวแทนเจ้าของร่วม​ จำนวนไม่น้อยกว่า​ 3​ คน​ แต่ไม่เกิน​ 9​ คน​ ปฏิบัติหน้าที่​ในฐานะ​คณะกรรมการ​ ทำหน้าที่ควบคุมการจัดการงานของนิติบุคคลฯ ให้นโยบาย​ คำแนะนำการบริหารงานแก่ผู้จัดการ​ หรือผู้จัดการของนิติบุคคลฯ เมื่อรายเดิม​ ครบวาระ​ หรือพ้นจากตำแหน่ง​  โดยนิติบุคคลฯ จะบริหารให้คอนโดมิเนียมน่าอยู่​ น่าอาศัย​ และมีมูลค่าเพิ่มได้​ จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้บุคคลที่เก่ง​ มีความรู้​ ความสามารถ​ อีกทั้งซื่อสัตย์​ สุจริต​ เป็นตัวแทนท่าน​ ทำหน้าที่ดังกล่าว​แทนท่านได้ 

9.​ รับฟัง​ พร้อมน้อมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง การอยู่อาศัยในอาคารชุด​ คอนโดมิเนียม​ มิใช่ท่าน​ หรือเพื่อน​ หรือญาติสนิท​ จะอยู่อาศัยเพียงคนเดียว​ กลุ่มเดียว​โดยลำพัง แต่มีผู้ซื้อรายอื่นร่วมอาศัยด้วย​ ขอให้ท่านเปิดใจ​ เปิดกว้าง​ รับฟังข้อคิดเห็น​ ข้อเสนอแนะของผู้ซื้อรายอื่น​(บ้าง)​ อาจเกิดประโยชน์​และมีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น​ และ

10.​ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน การเอารัดเอาเปรียบต่อผู้อื่น​ ไม่ว่าจะเป็นสังคมแคบ​ หรือกว้าง​ เล็ก​ หรือใหญ่​ ย่อมไม่เป็น เรื่องที่ดี​ หรือการคิดเอาแต่เพียงผลประโยชน์ส่วนตน​ มากกว่าส่วนรวม​ ก็ไม่เป็นเรื่องที่ดีในสังคมอาคารชุด​เช่นเดียวกัน หรือการทำตัวเป็นแกะดำในฝูงแกะขาว​ ก็ไม่สมควรกระทำ​ เพราะสังคมอาคารชุดส่วนใหญ่ ไม่ให้การยอมรับ

โดย... 

พิสิฐ ชูประสิทธิ์

นายกสมาคมนักบริหารอาคารชุด – หมู่บ้านจัดสรรไทย

“ที่ปรึกษา” ฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ

Email address :[email protected]