“ดอกเตอร์ รักษา” ใช้ App แก้โจทย์บริการ

“ดอกเตอร์ รักษา” ใช้ App แก้โจทย์บริการ

ดอกเตอร์ รักษา (Doctor Raksa ) เป็นบริการ Telemedicine รายแรกของไทย ก่อตั้งขึ้นในปี 2559

โดยจุดเริ่มต้นในการเข้าสู่ธุรกิจมาจากการเห็น pain point ของการที่ผู้ป่วยไม่อยากไปนั่งรอรักษาเป็นเวลานาน จึงจัดทำ Application ที่บริหารจัดการให้แพทย์และผู้ที่มีความต้องการรับบริการทางการแพทย์ มาเจอกันในลักษณะของ Telemedicine เพื่อให้ผู้รับบริการได้ข้อมูลสุขภาพที่มีความน่าเชื่อถือโดยตรงจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

กลุ่มเป้าหมายหลักของ Doctor Raksa คือคนวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 30 ถึง 40 ปี ซึ่งไม่มีเวลาไปพบแพทย์ ส่วนกลุ่มเป้าหมายรอง เป็น กลุ่ม คุณแม่ และกลุ่มผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคจิตเวช

สำหรับ Doctor Raksa มีจุดเด่น 2 เรื่องคือ หนึ่งการหา Partner เนื่องจาก CEO เป็นของ Doctor Raksa นั้นเป็นแพทย์ จึงชวนให้กลุ่มแพทย์มาให้บริการผ่านทาง Application ซึ่งการใช้งานทำได้งาน โดยแพทย์ที่เป็น Partner จะทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาอย่างเดียว ด้านอื่นๆ ทางฝ่าย IT ของบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการให้บริการ จากการใช้งานง่าย ทำให้เกิดการบอกต่อกันในกลุ่มแพทย์เพื่อมาเป็น Partner ในการให้บริการกับทาง App

ค่า Doctor fee นั้นแพทย์แต่ละท่านจะกำหนดค่าบริการต่างกัน โดยมีตั้งแต่ให้บริการฟรี ไปจนถึง 500 บาท โดยการกำหนดอัตราค่าบริการนั้น แพทย์แต่ละท่านจะเป็นผู้กำหนดราคาได้เองเลย โดยแพทย์จะได้รับ Doctor free เต็มจำนวน 100% ทาง Doctor Raksa App ไม่ได้มีการหักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่ทางบริษัทจะขอให้แพทย์สะสมค่าบริการจนถึง 1,000 บาทเป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถเบิกเงินส่วนนี้ออกมาได้

จุดเด่นที่สองคือ กลยุทธ์การเลือกใช้สื่อ social media ให้เหมาะสมกับแบรนด์ เมื่อเริ่มธุรกิจนั้น ทางบริษัทก็มีความต้องการจะทำ SEO Ad บน Instragram กับ Twitter แต่สุดท้ายกลับเลือกลง Facebook อย่างเดียว เพราะวิเคราะห์แล้วว่าฝ่าย Marketing ของบริษัทมีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ ทำให้ไม่อยากไปเสี่ยงในการลงทุนกับช่องทางอื่นๆ การมุ่งเน้นใช้สื่อที่ถนัดทำให้เกิดโอกาสในการสร้าง awareness อันนำไปสู่ conversion ได้ดีกว่าคู่แข่งที่ในบริการในรูปแบบเดียวกัน 

ทั้งนี้ การใช้สื่อเป็นกลยุทธ์หลักเพราะ รายได้ส่วนใหญ่ของ Doctor Raksa ซึ่งเป็น Start up นั้นมาจากการ Pitching fund ดังนั้นการเป้าหมายคือ การทำให้เกิดยอดจำนวนผู้ใช้งานให้สูงมากพอจนเป็นที่พอใจแก่นักลงทุน

หากเปรียบเทียบระหว่าง App ที่มีการให้บริการในรูปแบบ Telemedicine อื่นๆในตลาด เช่น OCCA See doctor now จะพบได้ว่า Doctor Raksa จะปรากฎในสื่อ social media บ่อยมากกว่า โดย Doctor Raksa จะเน้นการสร้างยอดผู้ใช้งานให้สูงขึ้นในช่วงเวลา Primetime คือ ช่วงเลิกงาน 5 โมงเย็นถึง 2 ทุ่ม ด้วยกลยุทธ์การให้คำปรึกษาฟรี มีการกำหนดตารางไว้ว่า วันใดจะเปิดให้บริการปรึกษาฟรี ในเรื่องใด เช่น วันจันทร์เปิดให้ปรึกษาเรื่องเด็กฟรี วันอังคารปรึกษาเรื่องจิตเวชฟรี ทั้งนี้ Doctor Raksa จะมีการวางแผนการดำเนินงานการให้บริการฟรีร่วมกันกับแพทย์ที่เป็น Partner ซึ่งกลยุทธ์นี้พบว่าเป็นการช่วยกระตุ้นยอดการเข้าใช้งาน Appได้เป็นอย่างดี

ในปัจจุบันธุรกิจในกลุ่ม Healthtech มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากนวัตกรรมใหม่ๆทางการแพทย์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนของผู้ใช้สมาร์ทโฟนและจำนวนผู้ที่เข้าถึงอินเตอร์เน็ตมีมากขึ้น ทำให้ Doctor Raksa App เป็นที่รู้จักและมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยอดผู้ใช้งานที่ได้มีการ consult กับคุณหมอแล้วตั้งแต่ก่อตั้ง Doctor Raksa มาถึงตอนนี้ก็มีทั้งหมดราว 4,000 consultation แล้ว โดยปัจจุบัน Doctor Raksa มีออฟฟิสทั้งในประเทศไทยและประเทศสิงค์โปร์

กรณีศึกษาของ Doctor Raksa App สะท้อนให้เห็นโมเดลการให้บริการทางด้านการแพทย์ ที่มีกลุ่มลูกค้าสองกลุ่มคือแพทย์ และผู้รับบริการ โดย แต่ละกลุ่มนั้นมีความต้องการแตกต่างกัน การให้อิสระในการกำหนดค่าปรึกษาและความง่ายในการใช้งาน ตอบโจทย์กับความต้องการของแพทย์ ส่วนกลุ่มผู้รับบริการได้รับความสะดวกและความมั่นใจในความเชี่ยวชาญของแพทย์ Fee consultation เป็นการสร้างให้เกิดประสบการณ์ในการใช้งาน นำไปสู่การใช้ paid service และ repeat purchase ในท้ายที่สุด

-------------------------

เครดิตการสัมภาษณ์และกรณีศึกษาโดย เจตนิพิฐ บุญสวัสดิ์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาการจัดการธุรกิจ หลักสูตร ตรีควบโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล