เวียดนาม:อุปสรรค โอกาสของ SME ไทย

เวียดนาม:อุปสรรค โอกาสของ SME ไทย

เวียดนามได้วางยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนที่สำคัญ ในการเปิดตลาดสหภาพยุโรป(อียู)สำหรับสินค้าเวียดนามให้เปิดกว้างและยกระดับอุตสาหกรรมประเทศ

ในช่วงระหว่างปี 2552 ถึง 2561 เวียดนามส่งออกไปยุโรปขยายตัวสูงถึง 270% ได้ดุลการค้ากับยุโรปเพิ่มจาก 8,000 ล้านดอลลาร์ เป็น 36,000 ล้านดอลลาร์ เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของอาเซียนที่ส่งไปขายยุโรป สินค้าที่ยุโรปซื้อจากเวียดนามเป็นอันดับหนึ่งคือ “เครื่องใช้ไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน” 

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.2562 สหภาพยุโรปและเวียดนามได้ลงนามข้อตกลง EVFTA และข้อตกลงคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EU Agreement:EVFTA) ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็น FTA ที่มีความทะเยอทะยานและมีขอบเขตครอบคลุมที่สุด

ที่สหภาพยุโรปเคยเจรจา มีเนื้อหาทั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน ลดภาษีกว่า 99% ของสินค้านำเข้าจากคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อความตกลงมีผลบังคับใช้ เวียดนามจะลดภาษีทันที

65% ของสินค้าที่ส่งออกจากสหภาพยุโรป และจะทยอยลดภาษีที่เหลือภายใน 10 ปี สหภาพยุโรปจะลดภาษีทันที 71% ของสินค้าที่ส่งออกจากเวียดนาม และจะทยอยลดภาษีที่เหลือภายใน 7 ปี และยังได้ลงนามข้อตกลง EVIPA ในคราวเดียวกันช่วยให้เวียดนามพัฒนากรอบทางด้านการลงทุนและการใช้กฏหมาย ให้โปร่งใส เพื่อดึงดูดเงินลงทุนจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

เมื่อข้อตกลง EVFTA มีผลบังคับใช้ จะทำให้เวียดนามได้เปรียบไทยในการแข่งขันในตลาดสหภาพยุโรปจากความสามารถทางการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากได้เปรียบข้อยกเว้นด้านภาษีนำเข้า อีกทั้งยังใช้สิทธิ GSP ที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ไปตั้งแต่ปี 2558 ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโอกาส

ในการเข้าถึงสหภาพยุโรปที่มีประชากรกว่า 500 ล้านคน มีมูลค่า GDP ประมาณ 18 ล้านล้านดอลลาร์ การส่งออกของเวียดนามไปสหภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้น 4-6% เป็นมูลค่า 19 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับการไม่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 75 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2571 โดยข้อตกลง EVFTA จะช่วยส่งเสริมการส่งออกของเวียดนามโดยเฉพาะสินค้าเกษตรและสินค้าประมงและสัตว์น้ำ

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค) ได้วิเคราะห์ผลกระทบของความตกลง EVFTA ต่อการส่งออกสินค้าไทย โดยกลุ่มสินค้าที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ยานพาหนะและส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบและแผงวงจรไฟฟ้า ขณะที่สินค้าสิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม สินค้าข้าวและเกษตร ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ อัญมณีและเครื่องประดับของเวียดนามเข้าสู่ตลาดยุโรปมากขึ้น

ธนาคารพัฒนาเอเชีย ยังคาดการณ์การเติบโตมูลค่าจีดีพีของเวียดนามปี 2562 อยู่ที่ 6.8% ส่วนไทย อยู่ที่ 3.9%

การจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส ระบุว่า เวียดนามเป็นปลายทางการลงทุนที่ร้อนแรงที่สุดในเอเชีย โดยในปี 2560 เวียดนามดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติมูลค่า 17,000 ล้านดอลลาร์มากที่สุดสำหรับตลาดเกิดใหม่เมื่อเทียบกับจีดีพี มูลค่า 250,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2561 เวียดนามเป็นตลาดIPO (Initial Public Offering) ใหญ่เป็นอันดับ 4 ในภูมิภาคแซงหน้าประเทศเกาหลี สิงคโปร์ และออสเตรเลีย ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองโฮจิมินห์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ความมหัศจรรย์ของประเทศที่เคยผ่านสงครามมายาวนาน และผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศไทยน่าสนใจมาก ติดตามต่อไปครับ...