หุ้นสื่อกับคดีกรุงไทย

หุ้นสื่อกับคดีกรุงไทย

วันจันทร์ที่แล้วเป็นวันคล้ายวันเกิดเนชั่น มี “คนการเมือง” มากหน้าหลายตามาร่วมอวยพร ทั้ง ส.ส.

ทั้ง ส.ส. ทั้งว่าที่รัฐมนตรี ทำให้ผมได้พูดคุยนอกรอบกับท่านเหล่านั้น โดยละวางเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองไว้เบื้องหลัง ปรากฏว่าได้เห็นกระจกสะท้อนปัญหาการเมืองไทยหลายด้านทีเดียว

อย่างเช่น คุณกรณ์ จาติกวณิช จากค่ายประชาธิปัตย์ ที่พูดตรงๆ เลยว่า ข่าวการแก่งแย่งโควต้า รุมทึ้งเก้าอี้รัฐมนตรีของรัฐบาลพลังประชารัฐ ทำให้ตัวคุณกรณ์เบื่อหน่ายนักการเมืองมาก และคิดว่าประชาชนทั่วๆ ไปก็คงจะคิดเหมือนกัน นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการ เล่นการเมือง” กันอย่างหน้ามืดด้วย กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การยื่นคำร้องกล่าวหากันไปเรื่องการถือครองหุ้นสื่อ

ตัวคุณกรณ์เองก็โดนพรรคอนาคตใหม่ยื่นให้ตรวจสอบเหมือนกัน และเป็น ส.ส.ล็อตแรก 9 คนที่ศาลยกคำร้องทันที เพราะะคุณกรณ์บอกว่า บริษัทของตนตั้งขึ้นมาเพื่อทำโครงการ “ข้าวอิ่ม ช่วยชาวนาภาคอีสาน พลิกเอกสารแผ่นเดียวก็รู้แล้วว่าไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวข้องกับสื่อเลย แต่ก็ยังถูกร้อง

ที่น่าคิดก็คือเรื่องกฎหมาย คุณกรณ์ตั้งข้อสังเกตว่าเรื่องหุ้นสื่อ กฎหมายไปให้ความสำคัญกับกิจการสื่อแบบดั้งเดิมที่ประชาชนเข้าถึงน้อยลง (แล้วนักการเมืองก็เอาเล่นงานกันแบบเอาเป็นเอาตาย โดยไม่ได้คิดถึงสาระที่แท้จริงว่ากฎหมายห้ามเรื่องนี้เพื่ออะไร) แต่กฎหมายกลับไม่พูดถึงสื่อโซเชียลฯที่กลายเป็นสื่อกระแสหลักในการรับรู้ข่าวสารของคนไทยไปแล้ว และไม่ได้มีมาตรการควบคุมในส่วนนั้นเลย

ในฐานะ คนทำสื่อแถมยังทำข่าวการเมือง ฟังแล้วก็รู้สึกขำขื่น...

พูดถึงเรื่องกฎหมาย (จริงๆ แล้วคือรัฐธรรมนูญ) ที่บทบัญญัติบางเรื่องบางประเด็นมันดูงงๆ ก็ทำให้นึกไปถึงกรณีของ คุณอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่กำลังโดนถล่มหนักเกี่ยวกับคดีปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย คล้ายๆ อดีตตามมาหลอกหลอน

เรื่องนี้เป็นประเด็นแง่มุมทางกฎหมาย สรุปง่ายๆ ก็คือ ศาลฎีกานักการเมืองพิพากษาไปแล้วว่าการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทยเป็นความผิด ไม่ถูกหลักเกณฑ์ กรรมการบริหารของธนาคารกระทำผิดจริง ฝ่ายค้านก็ออกมาตั้งคำถาม เมื่อเป็นแบบนั้นแล้วทำไมคุณอุตตมซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการธนาคารจึงรอด ขณะที่คุณอุตตมก็บอกว่า ตนไม่ได้มีชื่อถูกฟ้องไปถึงศาล คดีจบตั้งแต่ชั้นสอบสวน แล้วจะให้ผิดได้อย่างไร

จริงๆ เหตุผลของคุณอุตตมและผลของคดีในทางความเป็นจริง ก็ต้องถือเป็นข้อยุติ แต่สิ่งที่ฝ่ายค้านจะหยิบมาเล่นต่อไปก็คือ คุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 ที่บางข้อเขียนเอาไว้กว้างมาก เช่น มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรม (ซึ่งเนื้อหาในนั้นเป็นเรื่องอุดมคติทั้งสิ้น)

ดูเหมือนรัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบ กำลังสร้างปัญหาให้กับฝ่ายที่คิดว่าจะได้ใช้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ!