โครงสร้างความคิดของผู้บริหาร

โครงสร้างความคิดของผู้บริหาร

การใช้ความคิดของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน

ทั้งที่เป็นเรื่องที่ตั้งใจคิดและเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจคิดและเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่เกิดคิดไปเอง คิดไปอย่างอัตโนมัติ หรือคิดฝันกลางวันไปตามเรื่องตามราว

และเป็นที่แน่นอนว่า ความคิดของผู้บริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ จะต้องแตกต่างจากความคิดของคนธรรมดาสามัญทั่วไป

เมื่อเกิดความคิดขึ้น ผลที่จะเกิดขึ้นตามมาอาจเกิดขึ้นได้ 2 ทาง หากผู้คิดไม่เกิดความพยายาม ใช้แรงบันดาลใจ แรงผลักดันภายใน หรือแรงกระตุ้นต่างๆ เพื่อทำให้ความคิดของตนเกิดเป็นความจริงขึ้นได้ ผู้คิดก็อาจพอใจที่จะอยู่เฉยๆ กับความคิดนั้น หรือแม้กระทั่งลืมความคิดดีๆ ที่เคยคิดได้ไปอย่างไม่เหลืออยู่ในความทรงจำ

มีนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับความคิดของผู้บริหารธุรกิจและผู้บริหารองค์กรอื่นๆ โดยทั่วไป พบว่า ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักจะมีความคิดที่มีลักษณะเป็นโครงสร้าง

เรื่องของโครงสร้าง เป็นเรื่องที่นักปรัชญาทำการศึกษามาตั้งแต่สมัยโบราณกาล จนเกิดเป็นรากฐานของวิทยาการสาขาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูรัส จนกระทั่งพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา และวิศวกรรมศาสตร์

ส่วนใหญ่แล้ว โครงสร้าง จะเห็นได้ชัดเจนกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สามารถมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่โครงสร้างของความคิดเป็นสิ่งที่นักปรัชญาทางด้านการบริหารกำหนดขึ้น

โครงสร้างความคิดเชิงบริหาร อาจแบ่งได้เป็นรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ ความคิดมุมเดียว ความคิดแบบ 2 มุม ความคิดแบบ 3 มุม และซับซ้อนมากขึ้นต่อๆ ไปจนถึง คิดแบบ 6 หรือ 7 มุม

ผู้บริหารที่ใช้ความคิดแบบมุมเดียว จะแทนได้ด้วยโครงสร้างที่เป็นวงกลมที่ไม่มีเหลี่ยมมุม โดยจะเห็นว่า สิ่งที่อยู่ภายในวงกลมจะมีความสำคัญเท่าเทียมกันหมด และจะต่างจากสิ่งอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกวงกลม

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ผู้บริหารมักจะคิดว่า วงกลมของตนเองก็คือ องค์กรที่รับผิดชอบที่อยู่ สิ่งที่อยู่ภายในวงกลม ได้แก่ ฝ่ายต่างๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เช่น หากเป็นธุรกิจ ก็จะขีดวงกลมให้ล้อมรอบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายตลาด ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบัญชี ฯลฯ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ในวงกลมของตน มากกว่าสิ่งที่อยู่ภายนอก

โครงสร้างความคิดแบบมุมเดียวหรือแบบวงกลม ทำให้ไม่เกิดความหลากหลายทางความคิดได้มากนัก ดังนั้น โครงสร้างความคิดในระดับต่อไป คือ ความคิดแบบ 2 มุม ซึ่งจะทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ที่เป็น 2 ขั้ว อยู่คนละด้านกัน เช่น “สำคัญ-ไม่สำคัญ” “จำเป็น-ไม่จำเป็น” หรือ “ควรลงทุน-ไม่ควรลงทุน”

ความคิดแบบ 2 มุม จะเกิดขึ้นได้บนระนาบเดียวในโครงสร้างที่เป็นเส้นตรงเท่านั้น เช่นเดียวกับไม้กระดานกระดก ที่จะทำให้ผู้บริหารเกิด การตัดสินใจ เพื่อเลือกลงมือกระทำในด้านที่คาดว่า จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ความคิดแบบ 3 มุม จะทำให้เกิดโครงสร้างที่เป็นรูป 3 เหลี่ยม ซึ่งประกอบด้วยความคิดแบบ 2 มุมที่เป็นเส้นตรง มารวมกัน 3 เส้น ซึ่งจะทำให้เกิดทางเลือกต่างๆ ขึ้น โดยทางเลือกเหล่านี้ ผู้บริหารมักจะเรียกว่ากลยุทธ์

สมมติว่า ผู้บริหาร ต้องการเลือกทำเลสำหรับการสร้างโรงงานใหม่ที่เหมาะสมที่สุด โดยมีประเด็นที่ต้องพิจารณาควบคู่กันไป 3 ด้าน คือ 1) ความสำคัญ 2)ความจำเป็น และ 3)การตัดสินใจ

ลำดับทางเลือกที่จะเกิดขึ้นกับโครงสร้างความคิด ก็คือ ดูจากความสำคัญก่อน ต่อไปจึงดูความจำเป็น และสุดท้ายเลือกวิธีการลงทุน เพื่อให้ง่ายขึ้น อาจเขียนแทนโครงสร้างความคิด ได้วเป็น (1-2-3) ซึ่งจะทำให้ได้โครงสร้างความคิด 6 ทางเลือก หรือเกิดกลยุทธ์ในการตัอสินใจได้ 6 กลยุทธ์ ได้แก่ (1-2-3), (1-3-2), (2-1-3), (2-3-1), (3-1-2) และ (3-2-1)

จะเห็นได้ว่า เมื่อเพิ่มมุมของโครงสร้างความคิดขึ้น ความคิดก็จะขยายตัวหรือแตกแขนงออกไปได้อย่างเป็นทวีคูณ

ส่วนที่เป็นคณิตศาสต์ของโครงสร้างความคิดเกิดจาก “ความเชื่อมโยง” ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า การคิดแบบมุมเดียว จะไม่เกิดความเชื่อมโยงใดๆ ขึ้น หากใช้ความคิดแบบ 2 มุม จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงขึ้นได้ 1 ความเชื่อมโยง

ยิ่งคิดแบบหลายๆ มุม ความเชื่อมโยงของความคิดก็จะเกิดได้มากขึ้น พิสูจน์ตามกฎคณิตศาสตร์ได้ว่า

จำนวนความเชื่อมโยงของความคิด = โดยที่ N คือจำนวนแง่มุมความคิดที่เกิดขึ้น

แต่เมื่อคิดหลายๆ มุมมากขึ้น ความซับซ้อนก็จะตามมา เช่น คิด 4 มุม จะเกิด 6 ความเชื่อมโยง คิดแบบ 5 มุม จะเกิด 10 ความเชื่อมโยง คิดแบบ 6 มุม จะเกิด 15 ความเชื่อมโยง ของความคิด เป็นต้น

การฝึกฝนทักษะของการคิดแบบมีโครงสร้าง จะทำให้ปริมาณและคุณภาพเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ เป็นหลักประกันความสำเร็จในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ