อยู่ให้รัก​ จากให้คิดถึง

อยู่ให้รัก​ จากให้คิดถึง

เข้าใจว่าท่านผู้อ่าน​แฟนคอลัมน์​ที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ​ ลูกจ้าง​ ผู้ใต้บังคับบัญชา​ หรือหัวหน้างาน​ ผู้บริหารองค์กร​หลายท่าน​อาจพบ​

หรือเห็นประโยคข้อความข้างต้น​ เผยแพร่​ ประชาสัมพันธ์ในองค์กรร้านค้าบริษัททั่วไป​จำนวนไม่น้อย​ อาจประสงค์สื่อให้ทุกคน​ ทั้งลูกจ้าง​ หัวหน้างาน​ผู้บริหารองค์กรนั้นๆ​ ตระหนัก​คิด​พิจารณา​ เมื่อมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้าง​ หรือข้อตกลงการจ้าง​ ก็ให้ปฏิบัติหน้าที่ให้สอดคล้องกับสัญญา​ข้อตกลงการจ้างให้เกิดประสิทธิภาพ​เป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเอง​ หัวหน้างาน​ ผู้บริหาร​ และองค์กรของตน​ อนึ่ง​ การปฏิบัติงานของบุคลากรในทุกตำแหน่งงาน​ภายในองค์กรที่มีมาตรฐาน​ยอมรับ ทั้งบุคลากรภายในองค์กร​และบุคคลภายนอก​ ล้วนถูกกำหนดให้มีการพิจารณา​และประเมินผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ​ หรือตามที่ได้ รับมอบหมายอยู่เป็นระยะๆ​ ทั้งนี้​ เพื่อวัดประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร​ เพื่อปรับปรุง​แก้ไขงานให้เหมาะสมเกิดประโยชน์ต่อทั้งตนเอง​ หัวหน้างาน​และแก่องค์กรในที่สุด​ 

โดยปรกติของระบบการทำงานของพนักงาน​ลูกจ้างหรือหัวหน้างาน​ เมื่อปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง​ขาดประสิทธิภาพ​หรืองานที่มอบหมายไม่แล้วเสร็จ​หรืองานมอบหมายไม่ตอบโจทย์ของหัวหน้างาน​ และองค์กร​หัวหน้า​ผู้บริหาร​มักเลือกใช้วิธีการตักเตือน​ (warning)​ บอกกล่าวด้วยวาจา​หรือเป็นหนังสือ​ อาจกระทำเป็นครั้งคราว​เพื่อบอกกล่าวให้พนักงาน​ลูกจ้างทราบ​ เพื่อการปรับปรุง​ แก้ไข​ข้อบกพร่อง แต่หากบอกกล่าว​ หลายครั้ง​ ลูกจ้าง​ พนักงานไม่สามารถปรับปรุง​ แก้ไขข้อบกพร่อง​ของตน เช่นนี้แล้ว​ หัวหน้า​ ผู้บริหาร​ อาจเลิกจ้าง​ หรือโอนย้ายข้ามแผนก หรือลดค่าจ้าง​ เงินเดือน​ เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน​ ลูกจ้างรายนั้นๆได้ 

เรื่องข้างต้น​ อาจไม่แตกต่างจากระบบอาคารชุด​คอนโดมิเนียม ภายใต้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)อาคารชุด​ ทุกนิติบุคคลอาคารชุด​จำเป็นต้องจ้างบุคลากรรองรับการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลาง​ ตลอดจนการให้บริการแก่เจ้าของร่วม​ ผู้ซื้อ​ ผู้พักอาศัย​ ตามข้อบังคับ​ ทั้งนี้​ เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์​ ข้อบังคับ​ มติคณะกรรมการ​ หรือที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วม​ อนึ่ง​ รูปแบบการจ้างงานบริหารทรัพย์ส่วนกลางนิติบุคคลอาคารชุด​ อาจจัดจ้างบุคลากรโดยตรง​หรือจ้างผ่านนิติบุคคล​บริษัทจำกัดรับจ้างบริหารทรัพย์สิน​ (Management​ Service Company)​ อย่างใด​อย่างหนึ่ง​ตามความเหมาะสมได้​ ซึ่งอาจมีตำแหน่งงานที่จำเป็น​และสำคัญ ได้แก่​ ผู้จัดการอาคาร​(Building​ -​ Residence Manager)​ ผู้ช่วยผู้จัดการ​อาคาร​ ธุรการสำนักงาน​ การเงิน​ บัญชี วิศวกร​ หัวหน้าช่างซ่อมบำรุง​ ช่างซ่อมบำรุง เป็นต้น​ ซึ่งแต่ละตำแหน่งดังกล่าวข้างต้น​ ถูกกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ​ แยกขาดจากกัน​ยกตัวอย่างเช่น​ ผู้จัดการอาคาร​ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กำหนด​ อีกทั้งยังมีหน้าที่รายงานต่อผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ หรือบุคลากรที่ได้รับมอบหมาย​ หัวหน้าช่าง​ อาจมีหน้าที่ความรับผิดชอบแตกต่างจากผู้จัดการอาคาร​ แต่มีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานต่อวิศวกร​ ส่วนวิศวกร​ อาจมีหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้จัดการอาคาร​ หรือผู้จัดการนิติบุคคลฯ เป็นต้น ​ หรือพนักงานการเงิน​ ธุรการสำนักงาน​ และบัญชี​ อาจรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้จัดการอาคาร​ เป็นต้น​ 

ดังนั้น​ เมื่อผู้จัดการ​นิติบุคคลฯภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการ​ เมื่อได้ทราบจำนวนอัตรา​ตำแหน่งงานที่จำเป็น​และเหมาะสมแล้ว​ ผู้จัดการ​มีหน้าที่ประกาศ​รับสมัครบุคลากร​ พนักงาน​ ลูกจ้าง เข้าปฏิบัติหน้าที่ตามแผนงานสรรหา​ คัดเลือก​ การอนุมัติการจ้างงานบุคลากร​ ตลอดจนงบประมาณค่าใช้จ่ายการจ้างบุคลากร​ ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการต่อไป 

ความสำคัญของการคัดเลือก​ สรรหาบุคลากร​ พนักงาน​ ลูกจ้าง​ ตามตำแหน่ง​ อัตราดังกล่าวข้างต้น​ เห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่ผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ พึงใส่ใจ​ เพราะหากนิติบุคคลอาคารชุดได้พนักงาน​ ลูกจ้างที่ขาดประสบการณ์​ ความชำนาญ​ หรือมือยังไม่ถึง​ หรือเพดานบิน​ยังน้อย​ ไม่แข็งแรง อาจกระทบ​ หรือเป็นภาระต่อนายจ้าง​ (ขว้างงูไม่พ้นคอ)​ ผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ เหตุเพราะงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ​ หรือตามที่ได้มอบหมายของลูกจ้าง​ อาจไม่สำเร็จ​ ขาดผลงานเป็นชิ้นเป็นอันได้​ ดังนั้น​ การคัดเลือก​สรรหาบุคลากรด้านการจัดการทรัพย์สิน​ นิติบุคคลอาคารชุด​ จึงอาจจำเป็นต้องกำหนดทั้งคุณสมบัติ​ ประสบการณ์​ ความสามารถพิเศษด้านภาษา​ (ต่างประเทศ)​ การใช้เครื่องไม้ เครื่องมือสำนักงาน​ อัธยาศัย​ มนุษย์สัมพันธ์ และมีใจรักงานบริการ​ รับแรงกดดันจากการทำงานตามหน้าที่ได้ เป็นต้น​ ซึ่งนอกจากผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ จำเป็นต้องพิจารณาคัดเลือก​ สรรหาบุคลากร​ ที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมแล้ว​ ยังอาจต้องพิจารณาบุคลิก​ อัธยาศัย​ มนุษย์สัมพันธ์ของบุคลากร​ ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย 

บุคลากรที่ไม่ชอบพูด​ หรือไม่ขยันพูด​ชี้แจง​หรือพบปะผู้คน​ผู้ใช้บริการ​เจ้าของร่วม ​ย่อมไม่เหมาะสมให้ หรือนำบุคลากรรายดังกล่าว​ประจำจุดต้อนรับ​หรือประชาสัมพันธ์ด้านหน้าโครงการ​ แต่อาจเหมาะสมกับงานในตำแหน่ง​หน้าที่อื่น​หรือบุคลากรที่อัธยาศัยบุคคลดีอาจเหมาะสมต่อตำแหน่งงานธุรการสำนักงาน​ แต่หากขาด​หรือไม่มีอัธยาศัย​ขาดมนุษย์สัมพันธ์​ ย่อมไม่เหมาะสมต่อตำแหน่งงานธุรการสำนักงาน​ เป็นต้น​ อย่างไรก็ตาม​ บุคลากร​พนักงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่ให้แก่นิติบุคคลอาคารชุด​ทุกแห่ง​ทั่วประเทศ​ ล้วนทราบดีว่า​เป็นการทำงานให้แก่คนจำนวนมาก​ โดยเฉพาะเจ้าของร่วม​ในอาคารชุด​เท่านั้น​อาจไม่พอ​ ยังอาจต้องเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ​ตัวแทนเจ้าของร่วม​ จำนวนไม่ น้อยกว่า​ 3 ​ คน​ แต่ไม่เกิน​ 9​ คน​ ร่วมด้วย​ ซึ่งหากคณะกรรมการ​ กรรมการบางราย​ ไม่สามารถแยกแยะรายละเอียด​ หน้าที่ความรับผิดชอบของตนด้วยแล้ว ​ เช่นนี้​ อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานของนิติบุคคลอาคารชุด ไม่ยอมรับ​ หรือให้ความเคารพได้ 

ในขณะเดียวกัน​ พนักงาน​ลูกจ้าง​ที่ถูกเลิกจ้างด้วยสาเหตุงานขาดประสิทธิภาพ​ ไม่ประสบความสำเร็จในสายตาของนายจ้าง​ผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ผู้ว่าจ้าง​ หรือพนักงาน​ลูกจ้าง​ไม่ยอมรับต่อ การโอนย้ายสถานที่การปฏิบัติงาน​ หรือโอนย้ายแผนกที่เหมาะสม​ ท่านก็ไม่สมควรตำหนิ​ หรือนินทา ลับหลังนายจ้าง​ ผู้ว่าจ้าง​ ผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ เหตุเพราะนายจ้าง​ผู้ว่าจ้าง​ ด้ให้โอกาสการทำงาน​ ารปรับปรุง​แก้ไขข้อบกพร่องการปฏิบัติหน้าที่​หลายครั้ง​หลายคราแล้ว​ เหตุเพราะความรู้​ความสามารถ​หรือมือยังไม่ถึง ​ อีกทั้งผลงานไม่ตอบสนอง​ตอบโจทย์นายจ้าง​ผู้จัดการนิติบุคคลฯ​ผู้ว่าจ้าง