เอกราชทางไซเบอร์ไทย ปัญหาการละเมิดที่ปชช.ควรรู้

เอกราชทางไซเบอร์ไทย ปัญหาการละเมิดที่ปชช.ควรรู้

ปัญหาใหญ่ที่กำลังอุบัติขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก ได้แก่ ปัญหา “Cyber Sovereignty” หรือ “ความเป็นเอกราชทางไซเบอร์” ของผู้คนในประเทศ

ตลอดจนไปถึงปัญหาความมั่นคงของชาติ (National Security) ซึ่งคนไทยเองส่วนใหญ่ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่ากำลังถูกละเมิดในเรื่อง “Cyber Sovereignty” เนื่องจากปัญหาดังกล่าวถูกซ่อนอยู่ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการใช้งานสมาร์ทโฟนในปัจจุบันที่อยู่ในชีวิตประจำวันของคนไทย ทำให้ผู้ให้บริการ Social Media และ Cloud รายใหญ่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก มีความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ และสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการตลาดได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการขาดรายได้ของรัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีจากยอดเงินในระดับหมื่นล้านบาท โดยรัฐบาลไม่สามารถจัดเก็บภาษีผู้ให้บริการได้อย่างที่ควรจะเป็น เนื่องจากผู้ให้บริการทำการ Settlement Payment โดยการใช้ Payment Gateway นอกประเทศไทย เป็นต้น

ปัญหาด้าน “Personal Privacy” กำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันที่กำลังคืบคลานเข้ามาแบบเงียบๆ และปัญหาด้าน “Personal Privacy” จะหนักว่าปัญหาด้าน “Security” ในอนาคตอันใกล้นี้ จึงทำให้เกิดหน้าที่ใหม่ที่คนไทยทุกคนต้องปฏิบัติ ที่เราต้องคอยหมั่นปรับปรุง “Digital Literacy” ของเราในการใช้งานโซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟนต่างๆ ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันให้ รู้เท่าทัน เทคโนโลยีที่กำลังละเมิดความเป็นส่วนตัวของมนุษย์โดยมนุษย์ด้วยกัน อีกทั้งในมุม “เศรษฐศาสตร์” และ ในมุม “ความมั่นคงของชาติ” ที่รัฐบาลก็จำเป็นต้อง “ตื่นตัว” และ “ระวัง” ให้มากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากปัญหาด้าน “Personal Privacy” แล้ว ยังมีปัญหาด้าน “Personal Privacy” ปัจจุบันมีโปรแกรมจับเวลาวัดสถิติการใช้งานสมาร์ทโฟนของเราในชีวิตประจำวันแต่ละวันดังกล่าว ยกตัวอย่าง เช่น โปรแกรมประเภท “Screen Time” บน Android และ “Screen Time” new feature บน iOS 12 ซึ่ง Mobile App และ iOS feature ดังกล่าวจะสามารถตรวจสอบการใช้งานสมาร์ทโฟนของเรา ว่าเราใช้เวลาไปกี่ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้เราสามารถบริหารเวลาและลดเวลาในการใช้งานสมาร์ทโฟนในแต่ละวันลง วิธีการอื่นๆ ในการบริหารเวลาที่ดี เช่น การปิด Notification การไม่ใช้มือถือแทนนาฬิกาปลุก การปิดเครื่องในขณะนอนหลับหรือปลีกวิเวกจากมือถือบ้างในบางเวลา ตลอดจนการฝึกนิสัยที่ไม่มีมือถือเราก็ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นต้น 

ทำความรู้จัก 4 ระดับของการวิเคราะห์ข้อมูล “Big Data Analytics”

หลักการวิเคราะห์ข้อมูล “Big Data Analytics” ดังกล่าวมีทฤษฎีที่ “Gartner ” ได้เคยวิเคราะห์ไว้ในงานวิจัยของพวกเขาว่า มีสี่ขั้นของระดับในการวิเคราะห์ข้อมูล (ดูรูป:The Four Types of Data Analytics (source: Gartner)) ดังนี้ 

เอกราชทางไซเบอร์ไทย ปัญหาการละเมิดที่ปชช.ควรรู้

ขั้นที่1 “What happened : Descriptive Analytics” 

ทำให้นักวิเคราะห์สามารถรับรู้ได้ว่า กำลังเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น ที่มีผลกระทบและมีนัยยะต่อสิ่งที่กำลังเฝ้าจับตาดูอยู่ สามารถนำมาใช้ใน การบริหารจัดการ Security Operation Center (SOC) ดูแลการเฝ้าระวังด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หรือเฝ้าดู Brand Image/Reputation Risk" ในโลกโซเชียลว่ามีผลกระทบอะไร เกิดขึ้นในเชิงบวก หรือเชิงลบต่อสินค้าและบริการ ตลอดจน "Brand" และชื่อเสียงของบริษัท หรือ ชื่อเสียงของผู้บริหารระดับสูง

ขั้นที่ 2 “Why did it happened? : Diagnostic Analytics” 

ทำให้นักวิเคราะห์สามารถบอกได้ว่า ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์ในขั้นที่1 ที่มาที่ไปของการเกิดเหตุการณ์ ทำให้รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมและเข้าใจปัญหามากขึ้น 

ขั้นที่ 3 “What will happen? : Predictive Analytics ”

ทำให้นักวิเคราะห์สามารถ “ทำนาย” หรือ “คาดการณ์” เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ล่วงหน้า เป็นประโยชน์ต่อองค์กรในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง และสามารถสั่งการTake Action ได้ทันท่วงที

ขั้นที่ 4 “How to prevent bad thing from happening and to potentialize the good once?: Prescriptive Analytics ” 

เป็นขั้นสูงสุดที่นักวิเคราะห์สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ และในทางกลับกัน สามารถทำให้เกิดเหตุการณ์ที่องค์กรอยากให้เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อองค์กร เช่น ทำให้ Promotion Campaign มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง มีผลต่อการซื้อขายสินค้าและบริการ ตลอดจนส่งผลกระทบถึงชื่อเสียงขององค์กรและผู้บริหารระดับสูง

เราจะเห็นได้ชัดเจนว่า ยุคแห่ง“ Data-Driven Economy” กำลังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจสังคมของประเทศชาติ ที่ผู้นำประเทศและรัฐบาลจะอยู่เฉยไม่ได้กับปรากฎการณ์ดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งกำหนดนโยบายทางไซเบอร์และยุทธศาสตร์ไซเบอร์ “National Cyber Policy and National Cyber Strategy” เพื่อกำหนดทิศทางให้กับประชาชนในประเทศ ตลอดจนปัจจุบันการ รุกรานทางความคิด ต่อประชาชนในประเทศในรูปแบบใหม่ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น

มาถึงจุดนี้ท่านผู้อ่านคงเห็นแล้วว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุค “Data Economy” ที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่กำลังใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เราช่วยกันใส่เข้าไปในระบบอย่างเต็มที่ เปรียบเสมือนกำลังขุดเจาะน้ำมัน แต่หาใช่บ่อน้ำมันไม่ กลับเป็นบ่อข้อมูลที่ผู้ผลิตและผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่กำลังขุดเจาะกันอยู่ตลอด 24 ชั่วโมง สมกับคำกล่าวที่ว่า “Data is a new oil of Digital Economy”