เตรียมตัว รับปีไก่ (ขยัน)

เตรียมตัว รับปีไก่ (ขยัน)

สวัสดีปีใหม่ ปี 2560 ปีไก่แสนขยัน เพราะมีเรื่องราวหลายมากมาย รออยู่ ชาวโลกรู้ว่า

โลกขยับ อะไร อะไร ย่อมไม่เหมือนเดิม เทคโนโลยีที่มาเร็ว ย่อมทำให้ชีวิตปีที่แล้ว ย่อมต่างจากปีนี้ แน่นอน

สำหรับนักลงทุน มีอะไรใหม่ ที่เป็นระบบนิเวศน์วิทยาของตลาดทุนไทยบ้างล่ะ อาทิ พรบ.หลักทรัพย์ฉบับปรับปรุง ที่มีผลบังคับใช้ไปแล้ว เมื่อ 11 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ว่ากันว่า เป็นครั้งแรก “ของใหม่” ที่ปรับแก้ไขกันจนสำเร็จ นับตั้งแต่ มีการก่อตั้ง ก.ล.ต. เมื่อปี 2535 โดยมาสำเร็จลงได้ ในช่วงเวลาของรัฐบาล คสช.

เกณฑ์ใหม่ ของบริษัทมหาชน มีเพิ่มขึ้น ชัดเจนขึ้น แม้อาจจะยุ่งยาก เพิ่มงาน แต่ในระยะยาวจะทำให้ตลาดทุนไทยมั่นคง เป็นที่น่าเชื่อถือ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูล หรือพูดให้เข้าใจกันง่ายขึ้น คือ การแสดงความซื่อสัตย์

1 หลักการบริหารกิจการที่ดี : CG Code

ที่เห็นๆ ชัดเจน เป็นภาษไทยที่ใช้ จากเดิม ใช้คำว่า “กำกับ” เปลี่ยนเป็น “บริหาร” รื่นหู และเครียดน้อยลง แค่คำบางคำ อาจเปลี่ยนโลกได้ นัยว่ากันอย่างนั้น

โดยเนื้อหา เป็นเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ที่นำไปปรับใช้ ให้เหมาะสมกับองค์กรของตัวเอง อาทิ ตระหนักรู้ในหน้าที่-ความรับผิดชอบ ของบอร์ด ( คณะกรรมการบริษัท),การประกอบการธุรกิจ บริหารงานอย่างมีจริยธรรม,รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย,ดูแลสิ่งแวดล้อม ทีใช้คำหรูๆ ว่า เป็นความยั่งยืนขององค์กร พูดฟังง่าย คือ หากอยากให้องค์กร อยู่คู่ฟ้าเมืองไทย หรือระดับโลกนานๆ ก็ต้องยึดหลักการบริหารกิจการที่ดี นี่แหละ หรือเรียกกันว่า เป็น “คนดี” ของสังคม อยู่ให้ผู้คนยกย่อง หาไม่แล้ว อาจ “ไปเร็ว” กว่ากำหนด

จะมีการเริ่ม ทำความเข้าใจ ล่วงหน้า ตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไป และคาดว่าจะใช้ประเมิน จริงจัง ในปี 2563 ยังมีเวลาให้บริษัทจดทะเบียน เตรียมตัวอีกพอสมควร อย่ากังวลใจไปเลย

2 หลักธรรมาภิบาล การลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน : CGR

นับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มนักลงทุนที่มีความสำคัญ มีบทบาท กับตลาดหุ้นทั่วโลก เวลาบรรดาผู้จัดการกองทุนโลกเงินลงทุน เข้า-ออก ในแต่ละประเทศ ย่อมส่งผลกระเทือน กระทบทันที รู้กันว่า การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนทำได้อย่างเสรี ดุจน้ำที่ไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ เงินลงทุนวิ่งเข้าหาแหล่งที่มีผลตอบแทนสูง โดยไม่ลืมเรื่องความเสี่ยงด้วยเช่นกัน

การลงทุน ของผู้ลงทุนสถาบัน จึงต้องมีวินัย บนหลักการธรรมาภิบาลที่มีมาตราฐานมากกว่ากลุ่มบุคคลธรรมดา เพราะเป็นการบริหารเงินของนักลงทุนอีกทอดหนึ่ง หากเป็นเงินตัวเอง รวยเอง-เจ๊งเอง คงไม่มีใครว่า มีหลายเรื่อง ที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะประกาศใชจริง ในปี 2561

กลุ่มนักลงทุนสถาบัน ได้แก่ บลจ.-Asset Managers , Asset Owners- กบข, สนง. ประกันสังคม เป็นต้น

3 AGM Checklist

 เป็นการประเมิน 2 ใน 5 เกณฑ์หลัก ของการประเมินดัชนีธรรมาภิบาล ของตลาดทุนไทย คือ การเปิดเผยข้อมูล และการให้ความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น ( ที่เหลืออีก 3 คือ ข้อกฏหมาย, การบัญชี และ ธรรมาภิบาล) ซึ่งดำเนินโครงการ โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ชื่อ โครงการ “การประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น”

การประชุมสามัญประจำปี 2560 ของทุกบริษัทจดทะเบียน จะใช้แบบประเมิน ชุดใหม่ ล่าสุด ตามการปรับปรุง ของหน่วยายที่เกี่ยวข้อง มาแล้ว ได้แก่ สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย และ ชมรมเลขานุการบริษัท

เป็นการสอบเช็คข้อมูล ตามเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล ของการเป็นบริษัทมหาชน แม้บางเรื่อง อาจไม่ระบุในกฏหมาย แต่เป็นหลักการบริหารกิจการที่ดี เหมือนการเป็นคนดี มีศีลธรรม ของสังคม

แบบประเมิน ที่มีการปรับใหม่ นี้ เป็นการเพิ่มน้ำหนัก การเปิดเผยข้อมูลของ “กรรมการ” ของบริษัทจดทะเบียน เพราะ เป็นผู้กำหนดนโยบาย ของบริษัท ผู้ที่เข้ามาเป็นกรรมการ ย่อมถูกเลือกเฟ้น ด้านความรู้ ความสามารถ เพื่ออุทิศการทำงานให้กับบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ และมีค่าตอบแทนวิชาชีพตามเกณฑ์ ทั้งนี้การเลือกตั้งกรรมการ จะต้องบรรจุเป็นวาระ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นด้วย

สาระสำคัญ ที่ปรากฏในแบบประเมิน ประจำปี 2560 โดยสังเขป นอกเหนือจากเกณฑ์ตามปกติ ได้แก่ การได้รับค่าตอบแทนที่เป็นทั้งในรูปตัวเงินสดและอื่นๆ เช่น สมาชิกสนามกอลฟ์,ค่าเดินทาง ,ค่าจัดเลี้ยง เป็นต้น, การเปิดเผยข้อมูลของการเป็นกรรมการในบริษัทอื่นๆ อาทิ บริษัทจดทะเบียนอื่น,บริษัทย่อย,บริษัทในเครือ,ระบุระยะเวลาที่เป็นกรรมการมาแล้วกี่ปี และหากเกินกว่าเกณฑ์ 9 ปี ให้ระบุความจำเป็นในการเสนอชื่อกรรมการท่านนั้นไว้ด้วย

ที่สำคัญ มีการระบุจากคณะกรรมการสรรหา ว่า บุคคลที่เสนอชื่อเป็นกรรมการ ท่านนั้นๆ มีการไต่ตรองมาแล้วเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกรรมการอิสระ ว่าจะทำงานได้อย่างมีอิสระ และคาดหวังกันว่า จะเป็นตัวแทน สร้างสมดุลในการบริหารจัดการ เป็นที่พึ่ง เป็นความหวังให้กับนักลงทุนรายบุคคลได้

นอกจากนี้ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ยังยืนยันจุดยืนเดิม ของการลงมติ “ไม่เห็นด้วย” ใน 4 เรื่อง หากเมื่อปรากฏ ในวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น คือ 1) การมีวาระจร 2) การมีกรรมการอิสระ ที่ดำรงตำแหน่ง เกิน 9 ปี ขึ้นไป 3) การมีข้อสังเกตบางประการจากผู้สอบบัญชี และ 4) การเพิ่มทุน แบบขายเฉพาะเจาะจง-Private Placement (PP)

ชีวิต ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องใหม่ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ อย่ากังวลใจไปเลยคะ เตรียมกาย ให้พร้อม เตรียมใจให้มั่น เพื่อจับมือกัน ฟันฝ่า คลื่นลมเศรษฐกิจ ที่หนักหน่วง เชื่อมั่นว่า คนไทยทุกคน เราทำได้

สวัสดี ปีใหม่- ปี 2560 ปีไก่ ที่แสนขยัน พวกมันลุกขึ้นขัน เสียงดัง ปลุกพวกเราทุกเช้า คะ