ระวัง 'จุดอ่อน' ละเมิด'สิทธิ'

ระวัง 'จุดอ่อน' ละเมิด'สิทธิ'

น่าสนใจอย่างยิ่งกรณีคัดค้านร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 พ.ศ. 2559 ที่กำลังร้อนแรงอยู่ในเวลานี้

โดยเฉพาะการหยิบยกเอาประเด็นปิดปากประชาชน มาเป็นประเด็นต่อสู้ กับ เป้าหมาย” ในเชิงยุทธศาสตร์ ของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่ต้องการใช้ปราบปรามกลุ่มคนที่ต่อต้านอำนาจ คสช.” และทำผิด ป.อาญา ม.112 (หมิ่นเบื้องสูง)

เพราะอย่าลืมว่า การแสดงความคิดเห็น และวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ในสื่อสังคมออนไลน์ อาจไม่ใช่เฉพาะฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเท่านั้น อาจเป็นประชาชนที่สนใจการเมือง เป็นนักวิชาการที่ต้องการเสนอแนะในเชิงนโยบาย ฯลฯ

อย่างที่ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) กล่าวในเวทีเสวนา “ประเทศไทย หลัง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2559” (25 ธ.ค.) ถึงการกำหนดความผิดของผู้ที่กระทำการต่างๆ ตามมาตรา 14 (1) ที่มีการแก้ไขบทบัญญัติ เช่น การนำเข้าข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน อาจนำไปสู่การตีความทางกฎหมายเพื่อการปิดปาก หรือการวิพากษ์วิจารณ์โครงการหรือผลงานของรัฐบาลได้

(2) ที่เขียนใหม่ ว่า การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานและทำให้ประชาชนตื่นตระหนก ทำให้มีเงื่อนไขที่นำไปสู่การตีความแบบผิดๆได้...

นี่คือ “จุดอ่อน” ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่แม้จะมี “จุดแข็ง” ในการเอาผิดกับคนบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมบิดเบือนหรือ นำข้อมูลเท็จเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และมีกฎหมายรองรับ แต่ขณะเดียวกัน การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่จะถูกนำมาขยายผลเป็น “เป้าโจมตี” อย่างแน่นอน ก็จะเป็นเงาตามตัวพ.ร.บ.ฉบับนี้ตลอดไปเช่นเดียวกัน ไม่เชื่อคอยดู