สัญญาณค่าเงินดอลลาร์

สัญญาณค่าเงินดอลลาร์

สัญญาณค่าเงินดอลลาร์

ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาสกุลเงินดอลลาร์ฯ มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลส่วนใหญ่รวมไปถึงเงินสกุลในตลาดเกิดใหม่ โดยตั้งแต่ในช่วงเดือนก.ค.ที่ผ่านมาภาพการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์เริ่มชัดเจนมากยิ่งขึ้นโดยดัชนี Dollar Indexปรับตัวขึ้นจากจุดต่ำสุดในช่วงเดือน พ.ค. ที่ 91.91 จุด และปรับตัวเพิ่มขึ้น ณ วันที่ 27 ต.ค.อยู่ที่ระดับ 96.55 จุด ค่าเงินดอลลาร์ฯ กลับมาแข็งค่าใกล้เคียงกับค่าเงินหลังวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ ให้กลับมาแข็งค่าอีกครั้งในคราวนี้ โดยเหตุผลหลักๆ คือเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่มีสัญญาณฟื้นตัว ได้แก่ อัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ ตัวเลขภาคการผลิตที่เริ่มแข็งแกร่ง ยอดอสังหาริมทรัพย์ทั้งบ้านมือหนึ่งและมือสอง รวมทั้งตัวเลขเงินเฟ้อที่ขึ้นมาอยู่ในระดับ 1.7%-2.2% ซึ่งทำให้มีกระแสเงินทุนไหลกลับเข้าสู่สหรัฐฯ และจากสัญญาณดังกล่าวถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐมีแนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปลายปี 2016 และปี 2017 ซึ่งการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวของธนาคารกลางสหรัฐทำให้เกิดความแตกต่างด้านนโยบายการเงินระหว่างประเทศกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะยุโรปและญี่ปุ่นที่ยังคงมีความจำเป็นต้องคงหรือเพิ่มนโยบายการเงินเชิงปริมาณในตลาดต่อไป นอกจากนี้ ปัจจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 พ.ย. จากผลสำรวจต่างๆ เริ่มเห็นถึงความชัดเจนว่าแนวโน้มของผลคะแนนจะเทเสียงไปที่นาง Hillary Clinton ที่มีนโยบายในการสนับสนุนเศรษฐกิจมากกว่านาย Donald Thump ที่เป็นคู่แข่งสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ ยิ่งแข็งค่าขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบค่าเงินสกุลดอลลาร์ฯ กับสกุลเงินเพื่อนบ้านจะเห็นได้ว่าสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อย่างกลุ่มยูโรโซนยังคงเห็นทิศทางเศรษฐกิจที่ยังคงทรงตัวเนื่องด้วยความกังวลจากเรื่อง Brexitความไม่แน่นอนด้านการเมืองของกลุ่มประเทศสมาชิก เช่น การทำประชามติของประเทศอิตาลีในช่วงเดือน ธ.ค การเลือกตั้งของประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสในปี 2017 และECB มีแนวโน้มจะขยายเวลามาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ออกไปอีก 9-12 เดือน และจะยังไม่ลดระดับการซื้อพันธบัตร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้กดดันให้ค่าเงินยูโรนั้นอ่อนค่าไปโดยปริยายซึ่งสอดคล้องกับประเทศญี่ปุ่นที่ BOJ ก็ได้ปฏิรูปนโยบายการเงินในการประชุมครั้งที่ผ่านมาเพื่อยืดอายุการผ่อนคลายออกไปได้นานขึ้นและส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมา

ในส่วนกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market)หากธนาคารกลางสหรัฐปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และค่าเงินดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นนั่นหมายถึงการส่งผลให้สกุลเงินในกลุ่มประเทศเกิดใหม่อ่อนค่าลงในทิศทางเดียวกันและอาจกดดันให้ตลาดในกลุ่มเกิดใหม่ต้องเผชิญกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ แต่ผลกระทบของกระแสเงินทุนไหลออกจะรุนแรงมากเพียงใด จะต้องกลับมาพิจารณาที่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

ในแง่ของการลงทุนนั้น ผมยังคงแนะนำให้นักลงทุนควรกระจายความเสี่ยงการลงทุนไปประเทศต่างๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตทั้งในด้านเศรษฐกิจและได้รับประโยชน์จากค่าเงิน โดยเฉพาะสหรัฐฯ จากปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ขณะที่กระจายการลงทุนไปญี่ปุ่นบางส่วนจากประโยชน์ของค่าเงินเยนที่อ่อนค่าลง และลงทุนในตลาดหุ้นไทยจากความน่าสนใจของเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับการเติบโตที่ดี จากแรงหนุนของการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและภาคการท่องเที่ยวที่ยังได้รับการตอบรับที่แข็งแกร่ง สำหรับคำแนะนำการลงทุนผ่านกองทุนรวม หากนักลงทุนต้องการลงทุนในกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ต่างประเทศทั่วโลกโดยมีผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ติดตามสถานการณ์ให้ ONE-UGG ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนหลัก ได้แก่ กองทุน Baillie Gifford Long Term Global Growth Fund (LTGG) ซึ่งบริหารงานโดยบริษัท Baillie Gifford Overseas Limited ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องการบริหารจัดการการลงทุนที่ยาวนานกว่า 108 ปี โดยล่าสุด กองทุนฯ ให้ผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (วันที่ 4 ก.ค – 27 ต.ค. 59) ที่ 12.51% เทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ 3.22%

“ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน