'โหวตNO' อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

'โหวตNO' อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

เริ่มทยอยเปิดตัวออกมาแล้ว ฝ่าย “โหวตNO”

 หรือ ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ หรือฉบับ ปราบโกง” สุดแท้จะเรียก

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการปรับแก้จนได้ฉบับสมบูรณ์แล้ว และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ก็อยู่ในช่วงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ประชาชนได้ทำความเข้าใจ รวมทั้งมีการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย

สาระสำคัญ ต้องบอกว่าอยู่ที่คน ชอบ-ไม่ชอบ” เพราะเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ ประชาชน ก็ต้องกระทบกับคนที่หาประโยชน์จากประชาชน โดยเฉพาะเรื่องมีกลไกตรวจสอบการทุจริตของนักการเมืองอย่างเข้มเข้น และกำหนดให้รัฐบาลต้องบริหารประเทศอย่างมีความรับผิดชอบต่อประชาชน และรับผิดชอบต่องบประมาณภาษีของประชาชน แค่นี้ก็ทำให้นักการเมืองทั้งหลายร้องจ๊ากแล้ว เรื่องอื่น อย่างเรื่องไม่เป็นประชาธิปไตย ก็ยังมีข้อถกเถียงไม่จบสิ้น

เพียงแต่ จุดอ่อน ก็คือ ช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีในบทเฉพาะกาลนั่นเอง

โดยเฉพาะการกำหนดให้ ส.ว.’ หรือ วุฒิสภา’ ทั้งหมด 250 คน มาจากการสรรหา และแต่งตั้งโดย คสช. ที่มีบทบาทอย่างสูงในการกำกับดูแลสานต่อการปฏิรูปประเทศ และให้รัฐบาลบริหารประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี

นอกจากนี้ ยังมี“คำถามพ่วง”ที่‘สนช.’ (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) มีมติถามพ่วงในการ‘ลงประชามติ’ว่าท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าเพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่าระหว่าง5ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี หรือที่เรียกว่า“ส.ว.”ที่มาจาก“คสช.”ยังมีสิทธิเลือกนายกฯได้ด้วย

นี่ยังไม่รวมอาจมีการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญ(หากร่าง รธน. และคำถาม ผ่านประชามติ)ให้มีสิทธิอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ด้วยหรือไม่

แต่โดยสรุปแค่นี้ ก็เท่ากับ“คสช.” มีอำนาจควบคุมการบริหารประเทศได้อีก 5 ปีแล้ว

เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มที่แทบจะตัดสินใจ“ไม่รับ”ร่างรัฐธรรมนูญ ได้ทันที ก็คือ กลุ่มที่ต่อต้านอำนาจ“คสช.”อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น ทักษิณ ชินวัตร พรรคเพื่อไทย นปช. (กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ) กลุ่มนักศึกษา ที่เคยออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน “คสช.”เช่น กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย และ กลุ่มประชาธิปไตยใหม่ นำโดย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ“จ่านิว”และ คณะนิติราษฎร์’ ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิชาการกฎหมาย ที่เคยเคลื่อนไหวให้ยกเลิก มาตรา112 (ความผิดหมิ่นเบื้องสูง) ตลอดจนกลุ่ม “เอ็นจีโอ” บางส่วน ในนามสภาประชาชนเพื่อการปฏิรูป

ขณะเดียวกัน กลุ่มเหล่านี้ พยายามเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ 2550 กลับมาบังคับใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ผ่านประชามติ

แต่ก็อย่างที่รู้กัน“คสช.”น่าจะเตรียมการเพื่อรองรับเอาไว้แล้ว ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะเอาตามข้อเสนอของฝ่าย “คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ” และเป็นไปได้สูงที่จะได้รัฐธรรมนูญ ฉบับ“คสช.”

ประเด็นก็คือ รู้ทั้งรู้ว่า อาจได้รัฐธรรมนูญที่เลวร้ายกว่า ร่าง ฉบับ“มีชัย”ก็เป็นได้ ทำไมฝ่าย “โหวตNO”จึงไม่กลัว และยังดูเหมือนจะใช้เป็น ยุทธศาสตร์” การต่อสู้ด้วย

คำตอบ ก็คือ ร่างรัฐธรรมนูญ คือ ความชอบธรรมในการยอมรับอำนาจ “คสช.” ดังนั้น ฝ่ายนี้เชื่อว่า ชัยชนะครั้นนี้จะเป็นครั้งที่สอง หลังจากครั้งก่อนร่างรัฐธรรมนูญถูกคว่ำโดย สปช.(สภาปฏิรูปแห่งชาติ) และยิ่งใช้ฉบับ “คสช.” ก็ยิ่งจะเป็นชัยชนะในการประกาศต่อชาวโลก ว่า เผด็จการ ก็คือ เผด็จการ ไม่มีทางที่จะยอมรับอำนาจของประชาชน

อันจะทำให้“คสช.”ขาดความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจทันที และจะเป็นแรงขับให้พลังการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตยแหลมคมขึ้นด้วย

“โหวตNO” จึงไม่ใช่แค่หวังผลที่จะให้ประชามติไม่ผ่าน และได้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ดีกว่าเท่านั้น หากแต่เป็นการต้อนให้“คสช.”ต้องใช้อำนาจเผด็จการในการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาเอง เพื่อจะได้ “ดิสเครดิต” รัฐธรรมนูญฉบับ “คสช.” เป็นรัฐธรรมนูญของเผด็จการได้อย่างเต็มปากเต็มคำนั่นเอง

“คสช.”เอง ก็ต้องระวัง ยิ่งใช้อำนาจมาก ยิ่งอยู่นาน ก็ยิ่งขาดความชอบธรรม ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่แล้ว