“นอมินี” ถือหุ้นแทนคนต่างด้าว

“นอมินี” ถือหุ้นแทนคนต่างด้าว

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท และพระราชบัญญํติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2522

 ไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนั้นผู้ถือหุ้นในบริษัทจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือเป็นนิติบุคคลก็ได้ ในกรณีป็นบุคคลธรรมดาจะเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ในกรณีเป็นนิติบุคคลจะเป็นนิติบุคลลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในต่างประเทศตามกฎหมายต่างประเทศก็ได้ และจะถือหุ้นในนามตนเอง หรือมอบหมายให้บุคคลอื่นถือหุ้นแทนที่เรียกว่า นอมินี (Nominee) จะโดยเปิเดเผยหรือไม่เปิดเผยก็ได้

จากหลักของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น บางบริษัทจึงอาจมีผู้ไม่มีสัญชาติไทยหรือเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศ หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายไทยแต่มีฐานะเป็นคนต่างด้าว ที่เรียกโดยรวมว่าคนต่างด้าวถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดก็ได้ แต่บริษัทที่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถืผู้ถือหุ้นอาจมีผลทำให้ถูกจำกัดสิทธิบางประการ ถ้ามีสัดส่วนคนต่าวด้าวถือหุ้นอยู่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนดไว้ เช่นสิทธิในการถือครองที่ดิน หรือสิทธิในการในการประกอบธุรกิจบางประเภทที่มีกฎหมายเฉพาะตวบคุม เช่น

การถือครองที่ดิน บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนถือโดยคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละสื่สิบเก้าของทุนจดทะเบียน หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น มีสิทธิในที่ดินได้เสมือนคนต่างด้าว ตามที่บัญญัติใน (1) ของมาตรา97 ของประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือสามารถถือครองที่ดินได้โดยมีข้อจำกัด ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหมวด 8 การกำหนดสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว

การประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา8วรรคสาม (1) กำหนดให้ ผู้ขอรับใบอนุญาตแบบที่สอง และแบบที่สามต้องมิใช่คนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

การประกอบธูรกิจนำเที่ยว ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ.2551 มาตรา17 (1) (ก) กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่เป็นนิติบุคคลต้อง เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ถ้าเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย

การประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน ตามพระราชบัญญํติการประกอบธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ.2551 สถาบัการเงินต้องเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และต้องมีจำนวนหุ้นที่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยถืออยู่ไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบห้าของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียง และจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

การประกอบธูรกิจตามพระราชบัญญํติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542

พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายหลักที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยแบ่งประเภทธุรกิจ ออกเป็นสามบัญชี คือบัญชีหนึ่ง ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบกิจการ มี 9 รายการ บัญชีสองเป็นธุรกิจที่ห้ามคนต่างด้าวประกอบเว้นแต่จะรับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี บัญชี 3 เป็นธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยความเห็นชองของคณะกรรมการการประกอบธูรกิจของคนต่างด้าว

สำหรับบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดแม้จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ก็จะถือว่าเป็นคนต่างด้าว อันอยู่ในข่ายถูกควบคุมการประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญํติฉบับนี้ ถ้าบริษัทนั้นมีบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่จดทะเบีนในระเทศไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เรียกโดยรวมว่าเป็นคนต่างด้าว ถือหุ้นรวมกันตั้งแต่กึ่งหนึ่งของหุ้นของบริษัทนั้น

การให้คนไทยถือหุ้นแทนเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของผู้มีสัญชาติไทยไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หรือมีฐานะเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เนื่องจากมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวในบริษัทนั้น ตั้งแต่หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งขึ้นไป อาจเลี่ยงกฎหมายไม่ให้สัดส่วนคนที่ไม่มีสัญชาติไทยหรือคนต่างด้าวถือหุ้นเกินเกณฑืที่กฎหมายกำหนด หรือไม่ให้มีฐานะเป็นคนต่างด้าวตาม กฎฟหมายว่าด้วย.การประกอบธูรกิจของคนต่างด้าว เพื่อไม่ให้ถูกจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดินหรือการประกอบธุรกิจดังกล่วดังกล่าวข้างต้น อาจจะใช้วิธีการให้คนไทยที่มีสัญชาติไทยหริอนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยที่ไม่มีสถานะเป็นคนต่างด้าวถือหุ้นแทน ที่เรียกกันว่านอมินี น่าจะมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลกำลังดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอยู่ในขณะนี้

ความผิดในการเป็นนอมินีถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะหุ้นส่วนบริษัท และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด แม้จะไม่มีข้อห้ามในการถือหุ้นแทนกัน แต่การถือหุ้นแทนกันเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของกฎหมายบางฉบับ แม้กฎหมายฉบับนั้นจะไม่มีบทกำหนดให้การถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อเลี่ยงกฎหมายเป็นความผิดไว้เป็นการเฉพาะ แต่ก็อาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

แต่สำหรับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีบทบัญญัติที่กำหนดเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาไว้อย่างขัดแจ้ง ตามที่กำหนดไว้ามมาตรา 36 ซึ่งผิดทั้งผู้ถือหุ้นแทนและบริษัทที่ให้นอมินีถือหุ้นแทนคนต่างด้าว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ