Strategy for Sustainable Growth (2)

Strategy for Sustainable Growth (2)

นอกจากนวัตกรรมงานก่อสร้างที่บริษัทฯได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้งานก่อสร้างมีมาตรฐานดีขึ้นแล้ว

บริษัทก็ยังให้ความสำคัญกับงานด้านการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาองค์กร เพื่อให้บริษัทสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน

จะเห็นได้ว่าพัฒนาการในด้านการบริหารจัดการองค์กรของพฤกษาในอดีตที่ผ่านมา ได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เช่น การปรับใช้ระบบประเมินผลแบบ บาลานซ์ สกอร์ การ์ด (Balanced Scorecard) ตั้งแต่ปี 2543-2544 และการปรับโครงสร้างองค์กรเป็น Business Unit แยกตามประเภทสินค้า ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยว และ คอนโดมิเนียม เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น 

นอกจากนี้ พฤกษายังได้ร่วมมือกับที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนากระบวนการทางธุรกิจ SBU หรือ Strategy Business Unit ร่วมกับบริษัทไอ บี เอ็ม (I.B.M.), การวางกลยุทธ์การเติบโตองค์กรร่วมกับบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) หรือ บีซีจี (BCG), การปรับปรุงระบบการบริหารบุคลากรร่วมกับบริษัท อินดิโก (INDIGO)

ในปีนี้พฤกษาได้ดำเนินงานด้าน Sustainable Growth Strategy โดยร่วมมือกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก อย่าง บริษัท แม็คคินซี่ แอนด์ คอมพานี (Mckinsey & Company) เพื่อวางกลยุทธ์ที่จะเติบโตในธุรกิจอสังหาฯไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนทั้งในกลุ่มธุรกิจทาวน์เฮาส์-บ้านเดี่ยว (แนวราบ) และ ธุรกิจคอนโดมิเนียม (แนวดิ่ง) โดยพิจารณาทั้งในเรื่องของ ลักษณะโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม และ บทบาทของผู้บริหารในการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร

พฤกษา มองคนงาน, ทีมงาน, คู่ค้าวัสดุก่อสร้าง และผู้ร่วมงานทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของ Supply Chain ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีความต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นห่วงโซ่ที่ Win-Win กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งห่วงโซ่ อย่างในส่วนของพนักงาน ก็มองว่าจะทำอย่างไรจะให้เขามีเงินเดือนที่ดี ในส่วนของผู้รับเหมา คนงานก่อสร้าง จะทำอย่างไรให้เขาสามารถมีงานที่ต่อเนื่อง หรือ ในส่วนของผู้ถือหุ้นก็มองว่าจะทำอย่างไรให้บริษัทเติบโต เพื่อให้ มูลค่าหุ้นเติบโตและผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลดี

อีกสิ่งหนึ่งที่ให้ความสำคัญมาก คือการส่งเสริมให้พนักงานทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์ คุณค่า เพื่อลูกค้า (Create Value) เพื่อพัฒนาคุณภาพบ้านและบริการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ

ในกระบวนการทำงานต่างๆ พนักงานจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเล็กๆ เพื่อร่วมกันคิดค้นวิธีการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานในด้านต่างๆ ซึ่งเราเรียกกิจกรรมดังกล่าวว่า Small Group Activities (SGA) ซึ่งผลการพัฒนาที่ได้รับจากกิจกรรมนี้ ก็จะถูกนำไปใช้ เป็นต้นแบบในการดำเนินงานให้กับโครงการอื่นๆทั่วทั้งบริษัท (เป็น Best Practice) เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าในวงกว้าง ผ่านสินค้า และ บริการที่ดีขึ้นต่อไป 

โดยผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ SGA อาจเป็นได้ทั้งการรวมตัวของพนักงานก่อสร้าง เพื่อหาวิธีในการปรับผิวถนนให้มีความประณีตมากขึ้น พัฒนาเทคนิกในการปูกระเบื้องให้ได้คุณภาพดี หรือการรวมกลุ่มของพนักงานบัญชีเพื่อพัฒนากระบวนการทางบัญชีของบริษัทให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

นอกจากผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นในการพัฒนาคุณภาพของสินค้า และบริการแล้วนั้น โครงการ SGA ยังเป็นกระบวนการที่ช่วยในการพัฒนาให้พนักงานของบริษัทกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในงาน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในบริษัทด้วย โดยพฤกษาเชื่อว่า หากเรามีพนักงานที่เป็นระดับ Best Seller แค่10-15% ส่วนที่เหลือเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับกลาง ก็ต้องหาทางพัฒนาเขาให้สามารถปฏิบัติงานได้ในระดับ 80% ของ Best Seller ซึ่งสามารถทำได้ผ่านการถ่ายทอด Best Practiceที่ถูกพัฒนากลั่นกรองโดย Best Sellerในแต่ละไตรมาส

ในปีนี้ พฤกษาเอง ก็จะเพิ่มการส่งเสริมความมีส่วนร่วมในการคิดสร้างสรรค์คุณค่ามากขึ้น โดยจะจัดเป็นประกวด Pruksa Create Value Award เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสร้างสรรค์นวัตกรรมในระดับพนักงาน

หนึ่งในนวัตกรรมที่เราจะนำมาใช้ในการทำงานตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป คือ ระบบ Project Management Control (PMC) คือ การบริหารโครงการให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการบริหารงานพัฒนาโครงการคอนโด เพื่อลดเวลาการก่อสร้าง ตั้งแต่การซื้อที่ดินจนปิดโครงการ โดยการทำงานในระบบ PMC จะทำให้สามารถลดอายุโครงการที่เคยใช้เวลา 5 ปี ให้เหลือประมาณ3 ปี ทำให้การบริหารจัดการด้านต้นทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลูกค้าก็ได้ประโยชน์มากขึ้น เพราะทำให้บริษัทฯ สามารถกำหนดราคาที่คุ้มค่ากว่า และประหยัดกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการอื่นในระดับเดียวกัน 

การเป็นผู้นำนั้น จะต้องมีวิสัยทัศน์ ดังนั้นเราจึงต้องคิด ต้องทำตลอดเวลานวัตกรรมก็ต้องพัฒนา ต่อยอดไปเรื่อยๆ คนก็ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเช่น พนักงานจัดซื้อก็ต้องหมั่นไปตระเวนดูผลิตภัณฑ์ต่างๆสถาปนิกก็ต้องไปดูงานอื่นๆให้เกิดความคิดใหม่ๆพนักงานการตลาดก็ต้องคิดพัฒนาปรับปรุงเรื่อง CRM เพื่อดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

เพราะความเปลี่ยนแปลงมันเกิดขึ้นทั่วโลกเกิดขึ้นตลอด ไอที ทีวี ทำให้คนเปลี่ยนความคิดไปในทางเดียวกัน เกิดการถ่ายทอด ค่านิยมรสนิยมไปในทิศทางเดียวกัน

เมื่อผู้คนเปลี่ยน แต่เราไม่เปลี่ยน เราก็หลุด เพราะเราห้ามการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เราก็ต้องปรับ

ถ้าสำเร็จก็คุ้ม แต่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงก็ตกขอบทิศทางตลาดไป

แม้เราจะทำรถเข็นขายผลไม้ ขายกล้วยทอด ก็ต้องปรับตามความเปลี่ยนแปลง เช่นทำให้ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีคุณภาพขึ้น เราไม่สามารถจะอยู่นิ่งๆ ได้

พฤกษาเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง

ปี 2536 เรามียอดขาย 200 ล้านบาท ปี 2558 เรามียอดขาย 4.2 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ กล้าลงทุนในนวัตกรรม ต้องวิจัย ต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาองค์กรไปข้างหน้า

ตอนนี้ เรามีโรงงานพฤกษา พรีคาสต์ ที่ผลิตแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปชั้นนำของโลก ทันสมัยโดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในการทำงานและควบคุมคุณภาพด้วยคอมพิวเตอร์ทำให้เราผลิตบ้านที่มีคุณภาพ มีการบริหารจัดการที่ดีที่สุดในโลก ที่บริษัทชั้นนำทั้งในไทยและต่างประเทศต่างก็ขอเข้ามาศึกษาดูงานจนเป็นต้นแบบให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นๆ

เช่นเดียวกับในวันนี้ที่เราจ้าง McKinsey & Company มาเพื่อช่วยวิเคราะห์ว่า องค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนต้องมีลักษณะอย่างไร โครงสร้างบอร์ด ผู้บริหาร ต้องเป็นอย่างไรเพราะเรารู้ว่าถ้าหากบริหารแบบ One Man Show ไปเรื่อยๆ เมื่อวันที่เจ้าของไม่อยู่แล้ว ส่วนใหญ่เกินครึ่งองค์กรก็อยู่ไม่ได้เพราะไม่ได้มีการวางโครงสร้างรองรับไว้

บางทีสิ่งที่ทำ อาจจะไม่ส่งผลทันที แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อเป็นกลยุทธ์เติบโตอย่างยั่งยืน 

Sustainable Growth Strategy