การบริหารการศึกษาในมุมมองธุรกิจ

การบริหารการศึกษาในมุมมองธุรกิจ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสทราบความคิดเห็นของผู้นำทางความคิดสองท่าน คือ อาจารย์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รองศาสตราจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับการศึกษาไทย และได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเนชั่นกับ Fukui University of Technology ประเทศญี่ปุ่น ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ที่แม้ต่างฝ่ายจะมีมุมมองและเหตุผลประกอบที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ทุกฝ่ายก็เห็นตรงกันว่า การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาประเทศ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสทราบความคิดเห็นของผู้นำทางความคิดสองท่าน คือ อาจารย์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รองศาสตราจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับการศึกษาไทย และได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเนชั่นกับ Fukui University of Technology ประเทศญี่ปุ่น ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ที่แม้ต่างฝ่ายจะมีมุมมองและเหตุผลประกอบที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ทุกฝ่ายก็เห็นตรงกันว่า การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาประเทศ

สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสทราบความคิดเห็นของผู้นำทางความคิดสองท่าน คือ อาจารย์ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ซึ่งปัจจุบันเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ รองศาสตราจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกี่ยวกับการศึกษาไทย และได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนความรู้และมุมมองทางการศึกษา ของมหาวิทยาลัยเนชั่นกับ Fukui University of Technology ประเทศญี่ปุ่น ผมคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ ที่แม้ต่างฝ่ายจะมีมุมมองและเหตุผลประกอบที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ทุกฝ่ายก็เห็นตรงกันว่า การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาองค์กรและการพัฒนาประเทศ

อาจารย์สุวิทย์ได้กล่าวถึงบทบาทของการพัฒนาการศึกษาว่า ไม่ควรจะฝากไว้ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการเพียงหน่วยงานเดียว จึงได้ถือเป็นนโยบายกระทรวงพาณิชย์ ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยจะเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างคนที่รองรับโลกธุรกิจในอนาคต และสร้างสถาบันการศึกษาที่สามารถตอบโจทย์ภาคธุรกิจอย่างแท้จริง

ผมในฐานะที่บริหารสถาบันการศึกษา สอนด้านการบริหารธุรกิจ และเคยทำงานในองค์กรเอกชน ขอสนับสนุนนโยบายของท่านด้วยใจจริง สาเหตุที่สนับสนุนนโยบายนี้ มิใช่เพราะคิดว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยมีความเก่งกล้าสามารถ ที่จะช่วยสนับสนุนธุรกิจได้ แต่เราคงจะต้องยอมรับกันว่า ใช่ว่าอาจารย์ด้านบริหารธุรกิจทุกคนจะมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จ อาจารย์ด้านบริหารธุรกิจที่ออกไปทำกิจการของตัวเอง ก็อาจจะต้องล้มเลิกกิจการแล้วกลับมาเป็นอาจารย์สอนหนังสือตามเดิม

ทั้งนี้ ก็พราะด้วย “คนสอนไม่เคยทำธุรกิจ และคนทำธุรกิจไม่เคยสอน” ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงควรจะได้มาร่วมมือกัน เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีโอกาสได้นำเอาความรู้ในทางวิชาการ ไปปรับใช้จริงให้เกิดประโยชน์ในทางธุรกิจ และจะได้รับเกียรติและเวลาในการทำกำไรของนักธุรกิจมืออาชีพ มาถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับคณาจารย์และนักศึกษา เพื่อให้เข้าใจเทคนิคในทางปฏิบัติที่อาจไม่มีหนังสือวิชาการได้บันทึกไว้ ในทางการบริหารธุรกิจ คนทุกคนไม่จำเป็นต้องทำได้ทุกอย่าง แต่ละคนควรจะมีความถนัดเฉพาะตัว (Specialization) แล้วอาศัยความเก่งของตนนั้น ไปบูรณาการร่วมกับคนอื่น เพื่อความสำเร็จที่มีประสิทธิภาพ 

กรณีที่ว่านี้จึงเป็นเหตุผลข้อหนึ่ง ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นได้เข้ามาอยู่ภายใต้เครือเนชั่น ที่มุ่งหวังที่จะเชื่อมโยงโลกวิชาการและโลกธุรกิจเข้าด้วยกัน เพื่อที่จะได้ฝึกฝนให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ทำงาน ตั้งแต่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะสามารถทำงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา

ก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์ได้สอบถามไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ และพบว่ามีปัญหาประการหนึ่ง ที่ควรจะต้องปรับตัวคือ “เกือบทุกมหาวิทยาลัยสอนได้ทุกวิชา ผมได้มีโอกาสเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเนชั่น ไปร่วมประชุมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อตอบคำถามนั้น และคิดว่ามีข้อเท็จจริงที่น่าจะอธิบายเพิ่มเติม เพื่อการกำหนดแนวทางพัฒนาได้ตรงกับปัญหา

จริงๆ แล้ว สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศมีประมาณ 150 แห่ง เท่าที่นับจำนวนสถาบันที่เข้าร่วมประชุม และนับจากเอกสารสรุปการประชุม จำนวนมหาวิทยาลัยที่ให้ข้อมูลนั้น ไม่น่าจะเกินครึ่งหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมด ในเมื่อกระทรวงศึกษาธิการเอง ได้กำหนดมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษา เพื่อกำหนดให้หลักสูตรเปิดสอนครอบคลุมเนื้อหาวิชาที่เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกมหาวิทยาลัย และในเมื่อหลักสูตรด้านการบริหารธุรกิจก็มีเปิดสอนโดยทั่วไป

ดังนั้น การที่มหาวิทยาลัยจะสอนได้ในวิชาที่เป็นมาตรฐานก็คงจะเป็นเรื่องปกติ และเพราะด้วยในทุกวันนี้ มหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีความจำเป็นต้องมีรายได้เพียงพอต่อการดำเนินงาน  มหาวิทยาลัยก็ต้องพัฒนาหลักสูตรที่จะมีผู้สนใจสมัครเรียน หรือมีแหล่งรายได้ที่จะให้ผู้เรียนสามารถกู้ยืมเงินได้ 

ตัวอย่างที่น่าจะเห็นได้ประการหนึ่งก็คือ เมื่อกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กำหนดเพิ่มเติมหรือปรับลดหลักสูตรใด สถาบันต่าง ๆ ก็จะแก้ไขปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาสามารถของกู้ยืมตามหลักเกณฑ์ได้

ข้อเท็จจริงที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็อาจจะมีความเห็นโต้แย้งว่า เนื้อหาวิชามาตรฐานที่กำหนดมานี้ เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องคิดค้น เพื่อสร้างความแตกต่าง และให้สามารถแข่งขันได้เอง แต่ในทางปฏิบัติแล้ว หากไปสอบถามอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ คงจะมีจำนวนไม่น้อย ที่จะช่วยกันอธิบายว่า เพียงทำตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่ผู้ออกกฎเกณฑ์  ตัวอย่างหนึ่งที่น่าจะเห็นได้ชัดเจนก็คือ เมื่อกองทุให้อาจารย์ หรือสถาบันอุดมศึกษาต้องทำเพื่อประกันคุณภาพทางการศึกษา ก็ไม่มีเวลาต้องคิดสรรค์เรื่องอื่นใดแล้ว และโดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเอง ต้องคำนึงถึงทั้งคุณภาพและความคุ้มค่าของต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แนวทางที่จะเห็นผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว และคุ้มค่ากับรายได้จึงไปปรับเน้นที่ด้านการตลาดและการขายเป็นอันดับต้นๆ แทนการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของสถาบันนั้น หากต้องใช้เวลาสั่งสมและใช้การลงทุนเพิ่มขึ้น

ปรากฏการณ์นี้น่าจะสอดคล้องกับที่ รองศาสตราจารย์ธเนศได้วิพากษ์ไว้ว่า มหาวิทยาลัยได้ถูกจัดให้เป็นกิจการในภาคบริการประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกผลักให้ต้องเปลี่ยนแปลงตนเอง ให้กลายเป็นธุรกิจที่ผลิตความรู้ให้เป็นสินค้า เพื่อขายในตลาดของมวลมหาชน ดังนั้น ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาที่จะผลิตบัณฑิต พัฒนาความรู้ บริการวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จึงต้องคำนึงถึงพื้นฐานทางการเงินร่วมด้วย แทนที่จะคำนึงถึงประโยชน์ของสาธารณะเป็นสำคัญ

มุมมองธุรกิจที่นำมาปรับใช้ในการบริหารการศึกษาที่ยกมานี้ คงมิใช่เพื่อที่จะการปรับเปลี่ยนการศึกษากลายเป็นธุรกิจการศึกษา แต่จากทรรศนะของผู้นำทางความคิดที่ยกมาประกอบกับข้อเท็จจริงเพิ่มเติมสนับสนุนต่างๆ นี้ น่าจะเป็นข้อมูลประกอบเพื่อใช้ในการคิดร่วมกันเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษา สามารถบังเกิดผลอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการพัฒนาทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ อันจะมีผลเอนกอนันต์ต่อการพัฒนาชาติในที่สุด

------------------

อ.ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย

มหาวิทยาลัยเนชั่น

[email protected]