เศรษฐกิจ ดอกเบี้ย ค่าเงิน หลากปัจจัยที่ต้องจับตา
สวัสดีครับในช่วงที่ผ่านมาปัจจัยที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงมีด้วยกันหลายปัจจัย
และบ่อยครั้งการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยต่าง ๆ นี้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว และบางคราวทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าตั้งตัวไม่อยู่เพราะในแต่ละวันนั้น การปรับเปลี่ยนอัตราและราคาของหลายอย่างมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ปัจจัยทั้งหลายมีผลกระทบต่อคนหลายคน และมีมิติที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าแต่ละบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ มีรายได้ ค่าใช้จ่าย มีภาระที่เกิดขึ้นที่เกิดจากผลการเปลี่ยนแปลงซึ่งจากปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นบางปัจจัยเปลี่ยนแปลงโดยที่เราควบคุมไม่ได้ แต่บางปัจจัยเป็นปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงเพราะเราต้องการให้เปลี่ยนแปลง
ผมขอเอาปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงมาดูด้วยกันและพิจารณาผลกระทบและความคาดหวังที่ เกิดขึ้นในแต่ละด้านดังนี้
ดอกเบี้ย
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่มีการปรับตัวลดลงถึง 2 ครั้งภายในครึ่งปีแรก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของดอกเบี้ยที่ลดลงนั้นเป็นการส่งสัญญาณ ที่ชัดเจนและเจตนาที่ดี ซึ่งสัญญาณที่ชัดเจนนั้นคือ การบอกว่า เศรษฐกิจมีความท้าทายกว่าที่ประมาณการ อาจจะเป็นด้วยการส่งออกที่ชะลอตัวลง ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตน้อย หรือไม่เติบโต และในส่วนของเจตนาดีนั้น คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายนั้น เพื่อให้เกิดการลดต้นทุนของการดำเนินการของธุรกิจ เพื่อให้เกิดความ สามารถในการแข่งขันอันด้วยการลดต้นทุน และทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุน หรือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการด้วยมีต้นทุนที่ถูกลงในการลงทุน หรือการจัดการ
ซึ่งการปรับเปลี่ยนลดลงของดอกเบี้ยนั้นมีเจตนาดีให้กับผู้ที่มีต้นทุนในการใช้เงิน และให้ได้ประโยชน์ของการลดลงของดอกเบี้ย ซึ่งการได้ประโยชน์นี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้ ประกอบการหรือผู้ที่ใช้เงินซึ่งนำการลดลงของดอกเบี้ยไปทำให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การลงทุนใหม่ หรือการปรับเปลี่ยนการทำงานของบริษัท อาทิ การลงทุนในการ นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ การปรับกระบวนการให้อัตโนมัติ และทำให้ผลผลิตเพิ่มเติม ขึ้นด้วยต้นทุนโดยรวมที่ต่ำลง
ในอีกด้าน ดอกเบี้ยมีผลต่อบุคคล หรือองค์กรอื่น ๆ อีกด้าน คือ บุคคล หรือองค์กรที่ มีรายได้พึ่งพาอยู่กับดอกผล เช่นดอกเบี้ยเงินฝาก เงินบำนาญ เงินดอกผลของมูลนิธิ และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งรายได้นั้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่ด้าน หนึ่งได้ประโยชน์จากการลงของดอกเบี้ย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้กับธุรกิจอื่น ๆ แต่ในด้านของผลประโยชน์รับที่ได้น้อยลงนั้น บุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ นั้น ก็ต้องหาทางเลือกในการให้ได้ผลตอบแทนที่น้อยลงไปกว่าเดิมไม่มาก หรือไม่น้อยลงเลย ซึ่งผลที่เกิดขึ้นจากการลดลงนั้น อาจจะทำให้เกิดภาวะที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องลงทุน หรือ เลือกในสินทรัพย์ หลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพิ่มเติมขึ้น และหากไม่สามารถหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงที่รับไม่ได้ ก็ต้องยอมรับผลตอบแทนที่ลดลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ทางเลือกในการลงทุน
การฝากเงิน และการลงทุน มีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน การฝากเงินเป็นการได้ผลตอบ แทนในการฝาก โดยในวันที่ครบกำหนดนั้นจะได้ผลตอบแทนการฝาก (ดอกเบี้ย) และเงินต้นคืนครบจำนวน ในขณะที่การลงทุน คือการนำเงินที่มีอยู่ไปเลือกเปลี่ยน เป็นทรัพย์สิน หลักทรัพย์ หรือสินทรัพย์ใด ๆ ที่มีความคาดหวังว่ามูลค่าของสินทรัพย์ หรือหลักทรัพย์นั้น ๆ มีมูลค่าเพิ่มเติมขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านไป ซึ่งการลงทุนนั้นจะมี ความเสี่ยงด้านราคาสินทรัพย์ซึ่งถ้าราคาอ้างอิงของสินทรัพย์นั้นมีราคาลดลง และอาจจะมีราคามูลค่ารวมต่ำกว่าราคาตั้งต้นที่ลงทุนได้
ซึ่งในภาวะดอกเบี้ยต่ำนั้น ผู้ที่มีรายได้อ้างอิงกับดอกเบี้ยตามที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปนั้น การเลือกลงทุนในทางเลือกต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นมากขึ้น และจำเป็นต้องมีความเข้าใจมากขึ้นถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ที่ดี สถานการณ์ที่ไม่ได้ และในกรณีที่รับได้หากไม่เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้ผู้ลงทุนคงต้องถามว่า สามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน
อัตราแลกเปลี่ยน
ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนตั้งแต่ปี 2540 นั้น อัตราแลกเปลี่ยนของเราเปลี่ยนแปลงเป็นอัตราลอยตัว (Managed Float) ซึ่งต้องบอกว่าอัตราแลกเปลี่ยนนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่อย่างสม่ำเสมอ และเป็นการยากที่จะจัดการ เพราะตลาดมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีคนที่อยู่ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนนั้น จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องหลัก ๆ คือ ผู้นำเข้า และผู้ส่งออก ซึ่งหากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนค่าลงหรือแข็งค่าขึ้นทั้งผู้นำเข้าและส่งออกก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบต่างกันไป
ควรบริหารความเสี่ยงเท่าไหร่ดี
บ่อยครั้งมีคนถามว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะไปทางไหน และควรบริหารความเสี่ยง อย่างไร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงคือการลดหรือปิดความเสี่ยง และไม่ต้องการผลตอบแทนที่ทั้งมากขึ้นหรือลดลงในอนาคต การบริหารความเสี่ยงที่ดีคือปิดความเสี่ยงและสามารถประมาณการต้นทุนต่าง ๆ ให้ได้เพื่อให้สามารถกำหนดราคาทั้งราคาขายและ ราคาซื้อ แต่หากเรามองย้อนหลังไปกว่า 15 ปีนั้น การบริหารความเสี่ยงนั้นยังไม่ได้ มีการดำเนินการอย่างแพร่หลายนักในลูกค้ากลุ่ม SME
ปัจจัยต่าง ๆ มีทั้งผลที่เป็นบวกและลบ แต่เราคงต้องดูผลกระทบและตรวจดูภาระที่อาจจะเกิดขึ้นและบริหารจัดการและหาข้อดีของการเปลี่ยนแปลงให้ได้ก็จะดี แต่การเปลี่ยนแปลงถ้าให้ประโยชน์ด้านใดเป็นหลักก็จะทำให้ความสมดุลอีกด้านลดลง และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมขึ้น เลือกและบริหารจัดการให้ได้เป็นสิ่งที่สำคัญ และต้องดำเนินการ