กสทช.ได้เวลายกเครื่อง(2):“ติดกระดุมผิด”-“ตัดเสื้อไม่วัดตัว

กสทช.ได้เวลายกเครื่อง(2):“ติดกระดุมผิด”-“ตัดเสื้อไม่วัดตัว

คอลัมน์เมื่อตอนที่แล้ว ว่าความยุ่งเหยิง-อลหม่าน ในวงการวิทยุ-ทีวีที่ เกิดขึ้นจนยากจะสะสางได้

 ผลจากการทำงานแบบ“สร้างดาวคนละดวง” ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) ไม่ได้หมายความว่าหลักการความเป็น“องค์กรอิสระ”ไม่ถูกต้อง ขอยืนยันถึงโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมและบรอดแคสติ้งส์ ยังต้องยืนยันความเป็น“องค์กรอิสระ”เพื่อหลุดพ้นจากระบบราชการที่ล้าหลัง


การเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลังจากพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2553 แล้วกำหนดให้ต้องสรรหาคัดเลือกกรรมการกสทช. 11 คนให้เสร็จภายใน 180 วัน


หน้าตาของกสทช.ชุดแรกที่มีที่มาจากการสรรหาในแต่ละสาย ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าน่าจะเรียกว่ากสทบ.เสียมากกว่า นายทหารตั้งแต่ระดับพันเอกจนถึงพลเอกมากันครบถ้วน


ประธานกสทช.เป็นพล.อ.อ.ธเรศ ปุณณศรี ประธานกทค.พ.อ.ดร.เศรษฐพงษ์ มะลิแก้วและประธานกสท.พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ท่ี่นั่งในตำแหน่งประธานมาเกินครึ่งเทอมมา 6 เดือนแล้วที่สมควรอย่างยิ่งในการสลับเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานทั้ง 3 ชุด เพื่อให้ช่วง 2 ปี 6 เดือนหลังได้ประธานชุดใหม่ที่อาจจจะมีไอเดียและวิธีการทำงานแตกต่างจากชุดเดิม


ทั้งๆที่คณะกรรมการสรรหากสทช.ชุดเดิม 15 คนดูเหมือนว่าจะดีและหลากหลายมาจากตัวแทนวิชาชีพและราชการพอๆกัน


ประธานกรรมกรรสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ประธานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี,ปลัดกระทรวงกลาโหม,ปลัดกระทรวงเทคโนโลยี่สารสนเทศ, ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยี่อิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอรืแห่งชาติ, นายกวิศวกร,ประธานสภาคนพิการฯ,นายกสมาคมวิชการนิเทศศาสตร์ฯ, นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์, ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา

เอกชน,ประธานกรรมการสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรรมการบริษัทไทย, ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย, ประธานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติและประธานสหพันธ์องค์กรผู้บบริโภค


แต่บุคคลที่ได้รับคัดเลือกมาเป็นกสทช. 11 คน ผ่านการเห็นชอบจากวุฒิสภาได้มาแบบนี้ พอจะสะท้อนให้เห็นว่าคณะกรรมการสรรหา 15 คนที่กำหนดไว้หลากหลาย ไม่ใช่หลักประกันว่าจะได้บุคคลที่เหมาะสมและมีความสามารถในการทำงานในฐานะ Regurator ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือการยึดมั่นหลักการและเที่ยงตรงมากกว่าความรู้เฉพาะด้าน ที่ไม่ได้ช่วยให้การทำหน้ากำกับและดูแลได้แต่อย่างใด


มิหนำซ้ำในหลายครั้งได้สร้างความสับสน-ยุ่งเหยิง-อลหม่าน ตามวิธีคิดของประธานชุดเล็กทั้งสองชุด คือกทค.และกสท.ที่มีอำนาจมากกว่าประธานกสทช.ชุดใหญ่


แต่โครงสร้างใหม่ของกสทช.ตามกฏหมายใหม่ที่กำลังแก้ไขจะลดจำนวนกสทช.ลงจาก 11 คนเหลือ 7 คน แล้วระบุให้มาจากกิจการกระจายเสียง,กิจการโทรทัศน์,กิจการโทรคมนาคม,วิศวกรรม, กฏหมายลเศรษฐศาสตร์และคุ้ัมครองผู้บริโภค ที่พอจะลดปัญหาเสียงโหวตที่ล็อคตายตัวในคณะกรรมการกทค.และกสท.ที่ทำให้ “เสียงชี้ขาด” มีความสำคัญและราคาการโหวตเพิ่มขึ้นอย่างไม่น่าเกิดขึ้น


“เสียงชี้ขาด”ในกทค.ไม่ค่อยมีปัญหาเพราะส่วนใหญ่คะแนนขาดลอย 4:1 แต่มักมีข้อครหามติแทบทุกครั้งว่าอยู่บนผลประโยชน์ภาคธุรกิจมากกว่าภาคผู้บริโภค


แต่“เสียงชี้ขาด”ในกสท.ในช่วงหลังๆ กลับมีความสำคัญถึงขั้่นชี้เป็นชี้ตายอนาคตของอุตสาหกรรม หากเสียงชี้ขาดเคารพในเจตนารมณ์ ของการกำกับดูและและหลักกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ย่อมไม่ใช่เรื่องน่าห่วงใย แต่เปิดช่องให้มีขบวนการ“ล็อบบี้”จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเบี่ยงเบนเจตนารมณ์และตีความกฏหมายแบบศรีธนญชัย ย่อมเสี่ยงต่อข้อครหาใช้“ดุลยพินิจ” ส่วนบุคคลที่อาจจะมีคนยอมจ่ายเพื่อแลกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ


ส่วนคณะกรรมการสรรหาดูเหมือนจะเป็นหลักคิดคนละขั้วกับชุดเดิม ที่เน้นความหลากหลายจนมากเกินไป แต่ชุดใหม่มองชื่อตำแหน่งแล้วดูจะงุนงงมากๆ ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่น่าจะมีองค์ความรู้ในการคัดเลือกบุคคลได้ตรงตามคุณสมบัติของ 7 คน


ประกอบด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ,ประธานศาลฎีกา, ประธานศาลปกครองสูงสุด, ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปราการทุจริตแห่งชาติ,ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน


หน้าตาของกสทช.ชุดที่ 2 ตามพรบ.ที่แก้ไขใหม่มี 7 คนคงจะมีพื้นฐานสำคัญ“กฏหมาย”เป็นหลัก อาจจะกลายเป็น“ฝันร้าย”ยิ่งกว่าเดิมของผู้ประกอบการกิจการกระจายเสียง, กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมที่กสทช. มาจากบุคคลหลากหลายและเป็นตัวแทนผลประโยชน์ของผู้เสนอชื่อในแต่ละสาย จนเกิดปัญหาการทำงานของกสท. “สร้างดาวคนละดวง-ช่วงชิงงานกันจ้าละหวั่น” ทำให้งานพันกันนัวเนีย แต่กทค.กลับเป็นอีกปัญหาที่ทำงานรักษาผลประโยชน์ ให้ผู้ประกอบการมากกว่าทำงานรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภค


หากเดินหน้าคณะกรรมการสรรหาแบบนี้จะยิ่งกว่า “กลัดกระดุมเม็ดแรกผิดเม็ด” ถึงขั้่นตัดเสื้อไม่ได้วัดตัว เพราะช่างตัดเสื้อล้วนมาจากสายกฏหมายที่ไม่สอดคล้องใดๆ กับการกำกับดูแลสายเทคโนโลยี่โทรคมนาคม และบรอดแคสติ้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากๆ


ความล้มเหลวอีกอย่างของการเกิดขึ้นของกสท. ชุดแรกคือบุคลากรภายในสำนักงานกสทช. ที่มีการโอนย้ายจากหน่วยงานหลักๆคือกรมไปรษณีย์โทรเลข,กรมประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่อยู่ในระบบราชการที่ไม่เหมาะกับ“องค์กรอิสระ” ที่จะต้องเน้นการทำงานอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกับคิดให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลก


รวมทั้งการให้อำนาจการใช้เงินมากเกินไป ที่ไม่มีการถ่วงดุลกับกสทช. 11 คน ที่มีสิทธิพิเศษและอำนาจในการใช้จ่ายเงินเป็นแบบ“โควต้า”ไม่ใช่ตาม“เนื้องาน”ตามความเหมาะสม


ดังจะเห็นได้จากงบเดินทางดูงานต่างประเทศของกสทช.รวมกันสูงกว่างบประเภทอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าผลสัมฤทธิ์กลับมาพัฒนางานกำกับและดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแทบมองไม่เห็นเลย


มีข้อสังเกตุว่าทำไมกสทช. 2 ท่านที่มาจากสายผู้บริโภคคือนายแพทย์ประวิทย์ ลี่วงศสถาพรกับอาจารย์สุภิญญา กลางณรงค์และรวมไปถึงดร.ธวัชชัย จิตรภาษนันท์ที่มาจากเศรษฐศาสตร์ ดูจะมองเห็นคุณค่าของเงินงบประมาณกสทช.ในการดูงานต่างประเทศเและอื่นๆน้อยกว่ากรรมการกสทช.สายอื่นๆ ผลงานล้วนเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าทำงานตามหน้าที่สายงานที่เชี่ยวชาญมาจริงๆ


สำนักงานเลขาธิการกสทช.ที่รับหน้าที่ในการใช้จ่ายเงินเพื่องานบริหารทั่วไปและบุคลากร ยิ่งแล้วไปใหญ่กับเสียงครหาถึง“ความไม่โปร่งใส”ในการจัดซื้อจัดจ้างครั้งแล้วครั้งเล่าที่ต้องคอยชี้แจงและตอบคำถามสังคมแบบไม่ได้คลายสงสัย ถึงข้อสังเกตุของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่มีความเห็นถึง“ราคา”ของการจัดซื้อแทบทุกครั้งมักสูงกว่าปกติ


กสทช.ชุดแรกทำหน้าที่มาได้ 3 ปี 6 เดือนน่าจะมีการสรุปบทเรียนของโครงสร้างแบบ “องค์กรอิสระ” ในระบบกำกับและดูแลกิจการด้านเทคโนโลยี่ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยที่สุดในช่วงเวลา 2 ปี 6 เดือนที่เหลือก็ไม่ควรปล่อยให้กสทช. ชุดนี้ทำงานแบบเดิมท่ี่มีหลายงานที่เกิดจาการริเริ่มของแต่ละคนแล้ว“ดันทุรัง”ทำต่อไป โดยไม่ได้ใส่ใจว่าเกิดประโยชน์ใดๆหรือประกาศบางฉบับที่ฝืนความเป็นจริงก็ควรจะได้รับการสะสางยกเลิกไป