ไอเทม "ผ้าไทย" กับคน Gen Z "ความต่าง ที่ลงตัว"

ไอเทม "ผ้าไทย" กับคน Gen Z "ความต่าง ที่ลงตัว"

สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ยกขบวนความน่ารักสดใสของวัยรุ่นยุค 5G ด้วยการแปลงโฉมกลุ่มสาวๆ จากโรงเรียนต่างๆ ในชุดผ้าไทย เพื่อเป็นต้นแบบ Soft Power ให้กับคนรุ่นใหม่

เมื่อพูดถึงผ้าทอไทย แน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนที่นิยมซื้อ นิยมใช้ ก็จะอยู่ในกลุ่มคน Gen X ขึ้นไป ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ผ้าไทย ได้จะรับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ และมีการปรับงานดีไซน์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น แต่การจะขยายกลุ่มที่ชื่นชอบผ้าทอไทยมาที่กลุ่ม Gen Z ยังนับว่าเป็นเรื่องยาก เพราะคน Gen Z คือกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีช่วงวัยระหว่าง 9 – 24 ปี เป็นเจเนอเรชันที่เกิดมายุคโซเชียลมีเดียและอินเทอร์เน็ต ดังนั้น เรื่องของกระแสแฟชั่นต่างๆ ที่เข้ามา คนกลุ่มนี้จะรับรู้ได้ทัน และรับรู้ได้ไว อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่ชื่นชอบความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นตัวของตัวเองอีกด้วย

ไอเทม \"ผ้าไทย\" กับคน Gen Z \"ความต่าง ที่ลงตัว\"

  • แปลงโฉมวัยรุ่นยุค 5G ด้วยผ้าไทย 

ดังนั้น การจะทำให้คน Gen Z หันมาสนใจในงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึง ผ้าไทย จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ และมีความท้าทาย จึงเกิดเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ อย่างลงตัวของ สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ sacit ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมองค์ความรู้และต่อยอดงานศิลปหัตถกรรมไทย ที่มุ่งสืบสาน สร้างสรรค์ ส่งเสริม ศิลปหัตถกรรมไทยในทุกมิติอย่างยั่งยืน รวมไปถึงงานผ้าไทย ให้คนไทยในทุกเจเนอเรชันได้สัมผัสและเป็นเจ้าของงานผ้าไทยที่มีความหลากหลาย ตรงตามความชื่นชอบและไลฟสไตล์การแต่งตัวของแต่ละบุคคล และยังเป็น Soft Power ให้คนรุ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคน Gen Z หันมาปิ๊งในแฟชั่นเก๋ๆ จากผ้าไทยอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างกระแสในงานหัตถกรรมไทยด้วยการสร้างการยอมรับแล้ว ยังต่อยอดไปสู่การซื้อใช้ แต่ก็ยังมองไม่ออกว่า คน Gen Z จะมาตกหลุมรักงานผ้าทอไทยได้อย่างไร?

ไอเทม \"ผ้าไทย\" กับคน Gen Z \"ความต่าง ที่ลงตัว\"

ทาง sacit จึงยกขบวนน้องวัยใส กลุ่มสาวๆ Gen Z จากโรงเรียนต่างๆ มาเป็นต้นแบบ Soft Power จับแต่งตัวในชุด ผ้าไทย ได้แก่ น้องเมญ่า จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย, น้องการ์ตูน จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, น้องน้ำหวาน - น้องน้ำตาล จากโรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี, น้องแพร จากสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และน้องเคท จากโรงเรียนโยธินบูรณะ ซึ่งแต่ละคนได้มาแปลงโฉมสวมใส่ชุดผ้าไทยที่มีเสน่ห์แตกต่างกันตามภูมิภาค รับรองว่า ใครเห็นเป็นต้องชมว่า สวย น่ารัก สดใส เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า แม้กระทั่งผ้าทอและชุดแบบดั้งเดิมที่ยังไม่ได้ผ่านการปรับประยุกต์ในเชิงแฟชั่น แต่เมื่อถูกจับมาอยู่ในไม้แขวนอย่างสาวน้อยวัยใส Gen Z ก็ออกมาดูสวยงาม สดใส และเป็นความลงตัวที่ชวนให้เกิดกระแสบอกต่อ

เมื่อเห็นแบบนี้แล้ว ก็คงพอมีไอเดียในการหยิบจับ เลือกซื้อ เลือกใส่ ชุดผ้าไทย โดยใส่ความครีเอทเป็นตัวของตัวเองและความสนุกสนานลงไป ไม่ว่าจะเป็นคน Gen ไหน เชื่อว่าพอใส่แล้วจะเกิดเสน่ห์ เป็นเทรนด์ผ้าไทยที่ใส่แล้วมั่นใจอย่างแน่นอน

ไอเทม \"ผ้าไทย\" กับคน Gen Z \"ความต่าง ที่ลงตัว\"