R3 เปิดมุมมองเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริง (Virtual Banking)

R3 เปิดมุมมองเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริง (Virtual Banking)

R3 เปิดมุมมองเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริง (Virtual Banking) ในเมืองไทย “หลักเกณฑ์นี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของภาคธุรกิจการธนาคารและการเงินของประเทศ

“หลักเกณฑ์นี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญของภาคธุรกิจการธนาคารและการเงินของประเทศ

ในยุคที่นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในการแข่งขันได้อย่างยิ่งยวด

เพื่อครองใจผู้ใช้งานที่คาดหวังและกำลังต้องการบริการดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น” – นาย Amit Ghosh

 

ระบบการธนาคารดิจิทัลของประเทศไทยกำลังอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านที่มีความสำคัญอย่างมาก การตัดสินใจด้านนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานรัฐบาลเมื่อไม่นานมานี้ รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ที่คาดว่าจะเปิดเผยในปี 2565 จะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ระบบนิเวศการธนาคารดิจิทัลของประเทศในอนาคต โดยหลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศว่าจะกำหนดแนวทางการทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเกณฑ์การออกใบอนุญาตธนาคารเสมือนจริงของประเทศไทยและการมีส่วนร่วมในธุรกิจดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ R3 ในฐานะผู้ให้บริการเทคโนโลยีและบริการเพื่อวิสาหกิจชั้นนำของไทย จึงร่วมแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริงของเมืองไทยในวันนี้

แม้การนำเสนอเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริงในเมืองไทยจะมีเนื้อหาสาระที่มากเกินขอบเขตการดำเนินงานของ R3 แต่บริษัทก็รู้สึกยินดีอย่างมากที่รัฐบาลไทยมีแผนการนำเสนอเกณฑ์การออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริงในประเทศ และ R3 รอคอยที่จะได้เห็นถึงแนวทางการออกใบอนุญาตการธนาคารเสมือนจริงซึ่งจะแถลงโดยรัฐบาลไทยในช่วงเดือนมิถุนายนปีนี้ บริษัทเชื่อว่าเกณฑ์การทำงานนี้จะมีส่วนอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกของเทคโนโลยีทางการเงิน กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในตลาด รวมถึงเอื้อให้เกิดการเข้าถึงบริการทางการเงินทั้งสำหรับลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการในระบบนิเวศของประเทศมากยิ่งขึ้น

กรุงเทพธุรกิจพูดคุยถึงเรื่องนี้กับ นาย Amit Ghosh  เกี่ยวกับรายละเอียดของหลักเกณฑ์และความสำคัญที่มีต่อระบบและอุตสาหกรรมการธนาคารของไทย

 

ในฐานะที่ได้ทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในโครงการอินทนนท์ ทำให้ R3 เชื่อมั่นว่าการเปิดกว้างของ ธปท. สู่การใช้สนามแข่งขันที่มีความเท่าเทียมกันนี้ จะช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมของอุตสาหกรรมและสร้างระบบนิเวศการธนาคารและการเงินที่สดใสของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างมาก ซึ่งแนวทางการดำเนินงานบนพื้นฐานความเสี่ยงของ ธปท. สำหรับการธนาคารเสมือนจริงผ่านหลักเกณฑ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ยังช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจแก่ผู้เล่นหน้าใหม่และต่อนวัตกรรมในอุตสาหกรรมนี้ และเราหวังว่าจะได้เห็นการเติบโตของการธนาคารและการเงินของประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

นาย Amit Ghosh แบ่งปันมุมมองในเรื่อง “หลักเกณฑ์นี้จะช่วยเสริมสร้างความเติบโตของภาคธุรกิจการธนาคารและการเงินของประเทศไทยได้อย่างไร”

หลักเกณฑ์นี้มอบความกระจ่างด้านกฎหมายในภาพรวมซึ่งเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมกำลังต้องการอย่างมาก และยังนำเสนอแม่แบบการดำเนินงานในด้านการพัฒนาการธนาคารดิจิทัลของประเทศในอนาคต สิ่งนี้ถือเป็นหมุดหมายสำคัญสำหรับภาคธุรกิจการธนาคารและการเงินของประเทศในช่วงเวลาที่นวัตกรรมเป็นสิ่งที่สร้างความแตกต่างในการแข่งขันได้อย่างยิ่งยวด เพื่อครองใจผู้ใช้งานปลายทางที่คาดหวังและต้องการบริการดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

เมื่อกำหนดหลักเกณฑ์การทำงานได้อย่างแน่นอน ผู้เล่นในอุตสาหกรรมก็จะมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นว่าธุรกิจของพวกเขาจะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแบบผสมระหว่างระบบการเงินแบบดั้งเดิมกับระบบแบบกระจายศูนย์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันนี้ได้อย่างไร หลักเกณฑ์การทำงานนี้ยังช่วยกำหนดขอบเขตงานของภาคอุตสาหกรรม ช่วยให้ธนาคารและสถาบันการเงินสามารถแสวงหานวัตกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ โดยรวมแล้ว สิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับผู้ใช้งานปลายทาง เนื่องจากเรามีแนวโน้มที่จะเห็นนวัตกรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ทำงานได้ซับซ้อนขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับประสบการณ์การธนาคารในภาพรวม นอกจากนี้ แนวทางบนพื้นฐานความเสี่ยงที่ ธปท. เสนอแนะ จะนำมาซึ่งมาตรการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรม ช่วยให้พวกเขาสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในนานาประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เมื่อพูดคุยถึงเรื่องระบบการธนาคารเสมือนจริง นาย Amit Ghosh กล่าวว่า

 

ในความเป็นจริงแล้ว ธนาคารเสมือนจริงมีความคล้ายคลึงกับธนาคารปกติมาก โดยทั้งสองแบบจะมอบบริการให้ผู้ฝากเงินสามารถทำธุรกรรมการธนาคารทั้งหมดบนแพลตฟอร์มของตนเอง อย่างไรก็ดี สำหรับธนาคารเสมือนจริง ความท้าทายก็คือการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่สำคัญ อาทิ ระบบการชำระเงินและกลไกการค้ำประกันสินเชื่อด้วยต้นทุนการดำเนินงานเป็นจริง นอกจากนี้ ธนาคารเสมือนจริงจะให้ความสำคัญมากกว่าในการประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีปริมาณการใช้เทคโนโลยีสูงมากในการดำเนินงานธนาคารเสมือนจริง

 

เมื่อพิจารณาในแง่ของการออกแบบ ธนาคารเสมือนจริงเป็นบริการแบบหลายช่องทาง ซึ่งหมายความว่าผู้บริโภคจะไม่ต้องเดินทางไปยังสาขาต่าง ๆ เพื่อขอเปิดบัญชีธนาคารอีกต่อไป เพราะทุกอย่างสามารถทำผ่านระบบออนไลน์ได้ คุณสมบัติการดำเนินงานแบบดิจิทัลบนระบบออนไลน์ทั้งหมดของธนาคารเสมือนจริงยังเอื้อให้ผู้บริโภคสามารถทำธุรกรรมการธนาคารทุกอย่างแบบออนไลน์จากทุกที่ทุกเวลา จุดเด่นของธนาคารเสมือนจริงจึงเป็นเรื่องของความสะดวกสบายและการเข้าถึงบริการของผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งมอบโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างรวดเร็วและถือเป็นการสร้างประสบการณ์ลูกค้ารูปแบบใหม่ทั้งหมด แน่นอนว่าธนาคารเสมือนจริงยังมีข้อเสียด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารเสมือนจริงอาจประสบปัญหาเซิร์ฟเวอร์หยุดการทำงาน อาจเกิดความล้มเหลวในระบบซึ่งกระทบถึงการให้บริการ ซึ่งเราสามารถบรรเทาความเสียหายของปัญหานี้ได้ ด้วยการสร้างแผนการดำเนินธุรกิจที่ต่อเนื่องที่เพื่อป้องกันปัญหาความขัดข้องทางเทคโนโลยี

 

R3 มีเป้าหมายในการปูทางสู่การเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิทัลในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ผ่านการนำเสนอเทคโนโลยีบล็อกเชนที่พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ การดำเนินงานของเราในประเทศไทยเริ่มต้นจากภาคธุรกิจการธนาคารซึ่งเราได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงสถาบันการเงินชั้นนำอีกหลายแห่ง อาทิ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกร ธนาคารกรุงไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน

 

สำหรับ R3 เราเชื่อว่าบล็อกเชนจะสามารถแยกส่วนการดำเนินงานอุตสาหกรรมและศูนย์ข้อมูลให้เอื้อประโยชน์จต่อทุกคน ช่วยให้เกิดการส่งผ่านข้อมูลอย่างอิสระทั่วทุกหน่วยธุรกิจ และทำให้วิสาหกิจมีข้อมูลครบถ้วนเพื่อการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น สามารถผสานการทำงานข้ามชาติและข้ามอุตสาหกรรม ตลอดจนสามารถรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจส่งผลเสียที่รุนแรงได้อย่างรวดเร็ว ด้วยการทำงานของแพลตฟอร์ม Corda ของ R3 เราได้เห็นถึงประโยชน์มากมายจากการใช้บล็อกเชน ดังเช่นที่นักพัฒนาซึ่งใช้ CorDapps สามารถสร้างแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ในหลากหลายอุตสาหกรรมเช่นทุกวันนี้ ในยุคที่ประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าสู่การธนาคารเสมือนจริงอย่างรวดเร็ว บล็อกเชนจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในธุรกิจการเงินแบบดิจิทัล เพื่อนำเสนอแนวทางการทำธุรกรรมที่ง่ายดาย ความโปร่งใสของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และโซลูชันเพื่อการประสานงานอันเปี่ยมประสิทธิภาพ