เอ็มจี เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างราคาเข้าถึงลูกค้า

เอ็มจี เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างราคาเข้าถึงลูกค้า

ท่ามกลางสงคราม ตลาดรถยนต์ ที่ดุเดือด รุนแรง ทุกคนจำเป็นจะต้องปรับตัวเพื่อให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายที่สุด ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปข้างหน้า เพื่อหาทางพัฒนา และรับมือกับตลาดนอนาคตเช่นกัน และเอ็มจีคือหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีความเคลื่อนไหวในช่วงเวลานี้

เอ็มจี เป็นแบรนด์รถยนต์จากจีนรายแรกที่เข้ามาลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย ในนามบริษัท  เอสเอไอซี มอเตอร์- ซีพี จำกัด 

หลังจากเริ่มเปิดตลาดครั้งแรกในปี 2556 และที่ผ่านมา เอ็มจี ขยายการลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดคิดเป็นงบลงทุนสะสมกว่า 30,000 ล้านบาท 

โรงงานของ เอสเอไอซี มอเตอร์- ซีพี ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเออีสเทิร์นซีบอร์ด 2 (WHA ESIE 2) จังหวัดชลบุรี

มีพื้นที่กว่า 437.5 ไร่ มีบุคลากรทำงานมากกว่า 1,000 คน โดยเป็นคนไทยกว่า 98% 

กิจกรรมของโรงงานมีทั้ง โรงประกอบตัวถัง (Body Shop) โรงพ่นสีรถยนต์ (Paint Shop) โรงประกอบรถ (General Assembly Shop) คลังจัดเก็บอะไหล่เพื่อรองรับรถยนต์ของเอ็มจีทุกรุ่น

ในด้านการตลาด เอ็มจี เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เปิดตัวรถรุ่นแรกคือ MG6 ในปี 2556 จากนั้นก็เสริมตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งรถยนต์นั่ง หลากหลายตัวถังทั้ง ซีดาน แฮทช์แบ็ค สเตชั่นแวกอน รถปิกอัพ รถเอสยูวี เอ็มพีวี ด้านขุมพลังก็มีทั้งเครื่องยนต์ดีเซล หรือลูกผสมทั้งไฮบริด, ปลั๊ก-อิน ไฮบริด และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรืออีวี (EV)

ซึ่งในตลาดอีวีนั้น เอ็มจี ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้บุกเบิกตลาด แมส อีวี (mass EV) หลังจากเปิดตัวรุ่นแรกคือ ZS EV ในปี 2562 ซึ่งทำให้ตลาดอีวีที่เคยอยู่ในระดับหลักร้อยคันต้นๆ โดดขึ้นสู่หลักพันเป็นครั้งแรก จากนั้น เอ็มจี ก็เสริมตลาดอีวีอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน และมีความหลากหลาย ทั้งรถยนต์นั่ง เอ็มพีวี เอสยูวี และโรดสเตอร์ อย่าง MG Cyberster

ขณะเดียวกันทางด้านการตลาด เอ็มจี ก็ต้องต่อสู้กับการแข่งขันที่รุนแรง ทั้งจากการมาของพลังงานใหม่ๆ อย่าง อีวี หรือ การเข้ามาของผู้เล่นหน้าใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับเกมสงครามราคา บวกกับสถานการณ์ตลาดรถยนต์ที่ไม่ดีนัก

ซึ่งในมุมของเอ็มจี ก็มองว่า การขยับราคาก็จะส่งผลดีกับผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงรถยนตฺ์ได้มากขึ้นในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อถดถอย และรถบางรุ่นเมื่อปรับราคาแล้ว จะทำให้เข้าถึงลูกค้าที่มีความต้องการใช้รถแม้จริง หรือ มีรถเป็นคันแรก 

อย่างเช่นการขยับราคา ZS และ VS  โดย MG ZS ที่มี 3 รุ่นย่อย นั้น รุ่นเริ่มต้นคือรุ่น D สามารถเป็นเจ้าของได้ในราคาไม่ถึง 6 แสนบาท คือ 599,000 บาท รุ่นกลาง หรือ X 649,000 บาท และตัวท็อป V ราคา  689,000 บาท ซึ่งทุกรุ่นขยับลง 120,000 บาท 

ขณะที่ VS HEV ขุมพลังไฮบริด รุ่น D ราคา 699,000 บาท  รุ่น X759,000 บาท และ รุ่น X 2 tone ราคา 769,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ลดลงมา 160,000 บาท 

เอ็มจี เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างราคาเข้าถึงลูกค้า

การขยับราคาของทั้ง 2 รุ่น น่าสนใจ เพราะเป็นรถในกลุ่มเอสยูวีที่ตลาดมีความต้องการเพิ่มขึ้นทั้งจากประโยชน์ใช้สอย และการใช้งานในเส้นทางที่หลากหลาย รวมถึงรับมือน้ำท่วมขังได้ดีกว่า และยังจัดเป็นรถที่กลุ่มที่คนที่มีรถคันแรก หรือรถคันเดียวของบ้านต้องการ จากประโยชน์ในการใช้สอยที่หลากหลาย 

แต่ในเวลาที่ต้องรับมือกับการแข่งขัน ขณะเดียวกันเอ็มจีก็ระบุว่าจะต้องเดินหน้า สร้างความแข็งแกร่งรับมือกับตลาดในอนาคต รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้าต่อไปเช่นกัน ซึ่งนั่นรวมถึงพลังงานไฟฟ้า 

ซึ่งที่ผ่านมา เอ็มจี มีอีวี ทำตลาดหลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น ZS EV, MG EP, MG ES, MG4 Electric, MG4 Xpower หรือ MG MAXUS9 รวมถึง MG Cyberster และการเตรียมเปิดตัว MG MAXUS7

และเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตลาด อีวี ล่าสุด โรงงานลงทุนครั้งใหญ่ในการพัฒนาพื้นที่ในส่วนที่เหลืออีกกว่า 137.5 ไร่ จากทั้งหมด  437.5 ไร่ ให้เป็นส่วนของ NEW ENERGY INDUSTRIAL PARK เพื่อรองรับการเติบโตของอีวี และเติมเต็มระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าให้สมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ 

ซึ่งในส่วนที่พัฒนาใหม่้ ประกอบด้วย โรงประกอบแบตเตอรี่ พื้นที่สำหรับพัฒนาชิ้นส่วน เพื่อการประกอบรถยนต์เอ็มจีร่วมกับพันธมิตร 

เอ็มจี เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรม ปรับโครงสร้างราคาเข้าถึงลูกค้า

ส่วนกาารผลิตรถ อีวี ในไทย เอ็มจีก็ดำเนินการเป็นทางการไปแล้วในเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา กับ MG4 ELECTRIC  ทั้งรุ่น STANDARD RANGE และ รุ่น LONG RANGE

ส่วนของโรงงานแบตเตอรี ที่ลงทุนไปกว่า 500 ล้านบาท  ภายใต้ชื่อ HASCO-CP BATTERY SHOP ถือเป็นโรงงานแห่งแรกในอาเซียน โดยแบ่งพื้นที่เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ 

  • ส่วนการประกอบแบตเตอรี่ จากสายการผลิตอัตโนมัติที่ทันสมัยอย่างการนำหุ่นยนต์ (Robotic) เข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้ได้มาตรฐานที่แม่นยำ เทคโนโลยี AGV (Automated Guided Vehicle) ที่ใช้ในการกำหนดการเคลื่อนที่ของชิ้นงานตามเส้นทางรวมถึงระยะเวลา การทำงานและคุณภาพการผลิตที่แม่นยำ การเชื่อมโดยเลเซอร์ (Laser Welding) 
  • ส่วนการทดสอบมาตรฐานของแบตเตอรี่กว่า 60 ขั้นตอน ซึ่งได้รับรองคุณภาพและการตรวจสอบภายใต้ มาตรฐานยุโรป และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันกับสายการผลิตระดับโลก โดยโรงงานแห่งนี้ สามารถประกอบแบตเตอรี่ Cell-To-Pack ได้สูงสุดมากกว่า 50,000 แพ็ค/ปี และนำแบตเตอรี่มาใช้ในการประกอบรุ่นแรกคือ MG4 ELECTRIC  นั่นเอง