8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาทต่อคัน กรมการขนส่งทางบก เผย เดือนก.ย. 66 BYD Dolphin มียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ หรือจดป้ายขาวครั้งแรกมากสุดถึง 1,621 คัน

เมกะเทรนด์ที่มาแรง ณ ขณะนี้คงหนีไม่พ้น รถยนต์ไฟฟ้าที่คนไทยหันมาให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ล่าสุดในการประชุมบอร์ด EV ที่มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เห็นชอบในมาตรการ EV3.5 หรือ มาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 ช่วงระยะเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2567-2570) โดยอุดหนุนผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสูงสุด 1 แสนบาทต่อคัน 

โดยบอร์ดอีวีได้ให้ความสำคัญในการผลักดันให้ไทยเป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค ตามนโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2573 คิดเป็นกำลังการผลิตรถยนต์ประมาณ 725,000 คัน และรถจักรยานยนต์ประมาณ 675,000 คัน

โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินสนับสนุน

  • รถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้าน ขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท / คัน
  • รถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้าน ขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 20,000-50,000 บาท / คัน
  • รถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้าน ขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 50,000-100,000 บาท / คัน
  • รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 150,000 บาท ขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุน ระหว่าง 5,000-10,000 บาท / คัน

ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3 ที่จากเดิมจะต้องจดทะเบียนภายใน 31 ธ.ค. 66 ขยายออกไปเป็นต้องมีการจำหน่ายภายในวันที่ 31 ธ.ค. 66 และต้องจดทะเบียนภายในวันที่ 31 ม.ค. 67 ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปี 66 กับงาน “มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 40” หรือ Motor Expo 2023 ที่จะจัดขึ้น ณ อาคารชาลเลนเจอร์ อิมแพคท์ เมืองทองธานี ในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน-11 ธันวาคม 2566

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานฯ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ข้อมูลกับกรุงเทพธุรกิจว่า หลังจากที่รัฐบาลเข้ามาสนับสนุนรถยนต์อีวี ซึ่งถือว่าเป็นการทำต่อเนื่องจากอีวี 3.0  เพราะฉะนั้นจะมีการนำเข้ารถยนต์ หลังจากที่นำเข้ามาในปี 67 -68 หลังจากนั้นต้องมีการผลิตรถยนต์ในปี 69-70 จึงเป็นการจ้างงานเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้คนไทยมีรายได้ และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล โดยมีพันธมิตรต่าง ๆ เข้ามาร่วมด้วย 

สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานฯ และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเพื่อมากขึ้น แต่รถยนต์สันดาบก็ยังมีการผลิตควบคู่ไปด้วย ทั้งส่งออกและขายในประเทศ ซึ่งจะมีการเข้ามาตั้งโรงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองไทยเพื่อส่งออกด้วย ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี 

ในช่วงปลายเดือนพ.ย. - ธ.ค.66 จะมีการจัดงาน Motor Expo ก็จะยิ่งเป็นการช่วยกระตุ้นรถยนต์อีวีให้เพิ่มขึ้นมาอีก เพราะโดยปกติการจัดงานมหกรรมยายนต์ จะช่วยทำให้เกิดยอดขายขึ้น เพิ่มจากยอดการซื้อปกติภายในงานได้อีกราวประมาณ 20,000 -30,000 กว่าคัน 

ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์เดือน ก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 164,093 คัน ลดลงจาก ก.ย. 65 คิดเป็น 8.45% ส่งผลให้ 9 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ก.ย.66) มียอดผลิต 1,385,971 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.61% ซึ่ง 9 เดือนแรกผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 218,991 คันคิดเป็น 45.52% ของยอดผลิตรถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.04% ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 เดือนอยู่ที่ 576,007 คันคิดเป็น 41.56% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.74%

ส่วนยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนก.ย. 66 มีทั้งสิ้น 62,086 คัน ลดลงจาก ก.ย. 65 คิดเป็น 16.27% จากยอดขายรถกระบะที่ลดลงถึง 45% เพราะการเข้มงวดสินเชื่อประกอบกับก.ย. 65 มีฐานสูงเพราะเริ่มได้รับชิป ส่งผลให้ 9 เดือนแรกมียอดขาย 586,870 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 7.39% ขณะที่การส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนก.ย. 66 อยู่ที่ 97,476 คัน เพิ่มขึ้นจากก.ย. 65 คิดเป็น 2.90% 

และ 9 เดือนแรกส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 821,899 คัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปีก่อน 16.34%  มีมูลค่าการส่งออก 519,435.19 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.27% อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามสถานการณ์สู้รบตะวันออกกลาง หากไม่บานปลาย และไม่วงขยายออกสู่วงกว้าง จะทำให้การส่งออกทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

ขณะที่ กรมการขนส่งทางบก เผยสถิติการจดทะเบียนรถพลังงานไฟฟ้า รถยนต์ทั่วประเทศ ตั้งแต่ร 1 ต.ค. 2565 - 30 ก.ย. 66 มีจำนวนทั้งสิ้น 73,341 คัน เมื่อเทียบกับจำนวนการจดทะเบียนฯในปี 65 มีจำนวน 14,696 คัน เพิ่มขึ้น 58,645 คัน หรือคิดเป็น 399.05%

โดยในเดือนก.ย. 66 ที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ ได้แก่ 

  • BYD Dolphin 1,621 คัน
  • BYD ATTO 3 1,610 คัน
  • NETA V 854 คัน
  • ORA Good Cat 650 คัน
  • MG EP 513 คัน
  • MG 4 Electric 380 คัน
  • Tesla Model Y 250 คัน
  • MG Maxus 9 137 คัน
  • Tesla Model 3 125 คัน
  • MG ES 115 คัน

ทั้งนี้ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจรถยนต์ไฟฟ้า ราคาไม่เกิน 2 ล้านที่ได้รับความสนใจมีดังนี้ 

1.ORA Good Cat เริ่มต้น 8.28 แสนบาท

มีให้เลือก 3 รุ่นย่อย ได้แก่ รุ่น 400 TECH, 400 PRO และ 500 ULTRA มาพร้อมกับแบตเตอรี่ 2 ขนาด ที่วิ่งได้ไกล 400 - 500 กม. ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง

ส่วน ORA Good Cat  ในรุ่น 400 TECH และ 400 PRO จะเป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟต ขนาด 47.8 kWh ให้ระยะทางสูงสุด 400 กม. ต่อการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง สามารถชาร์จด้วยไฟบ้านแบบ AC ใช้เวลาประมาณ 8 ชม. และชาร์จเร็วกระแสตรง DC 0-80% ใน 45 นาที และ 30-80% ใน 32 นาที

และ ORA Good Cat ในรุ่น รุ่น 500 ULTRA จะมากับแบตเตอรี่ลิเธียม Ternary ขนาด 63.139 kWh ที่ให้ระยะทางการวิ่ง 500 กม. ตามมาตรฐาน NEDC สามารถชาร์จด้วยไฟบ้านแบบ AC ใช้เวลาประมาณ 10 ชม. มาพร้อมระบบชาร์จเร็วกระแสตรง DC 0-80% ใน 60 นาที และ 30-80% ใน 40 นาที

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

2.MG ZS EV เริ่มต้น 9.49 แสนบาท 

รถยนต์ไฟฟ้าสไตล์ SUV ขับเคลื่อนด้วยระบบมอเตอร์ไฟฟ้า พละกำลังสูงสุด 177 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 km/h อยู่ที่ 8.6 วินาที  และในการชาร์จเต็ม 1 ครั้ง ขับได้ไกลถึง 403 กิโลเมตร รุ่นนี้รองรับการชาร์จ 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ การชาร์จเร็ว (Quick Charge) สามารถชาร์จจาก 30-80 % ภายใน 30 นาที และการชาร์จแบบธรรมดา ผ่าน MG Home Charger 0-100 % ใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง 15 นาที

โดยมีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่น คือ MG ZS EV D ราคา 949,000 บาท และMG ZS EV X ราคา 1,023,000 บาท

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

3.BYD Atto 3 เริ่มต้น 1.09 ล้านบาท

BYD Atto 3 เป็น รถไฟฟ้า SUV 2023 อเนกประสงค์มีด้วยกัน 2 รุ่นย่อย ราคาเริ่มต้นเพียง 1.09 ล้านบาท รุ่น Standard Range ช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน 1 ตัว ขนาด 150 kW ติดตั้งบริเวณล้อหน้า กำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ 1 สปีด มาพร้อมแบตเตอรี่ BYD Blade Battery ความจุ 50.1 kWh ระยะทางวิ่งสูงสุด 410 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ (มาตรฐาน NEDC) ระยะทางวิ่ง 345 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ (มาตรฐาน WLTP) อัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.3 วินาที

ATTO 3 รุ่น Extended Range ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน 1 ตัว ขนาด 150 kW ติดตั้งบริเวณล้อหน้า กำลังสูงสุด 201 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบเกียร์ 1 สปีด มาพร้อมแบตเตอรี่ BYD Blade Battery ความจุ 60.48 kWh พร้อมระบบจ่ายกระแสไฟ V2L (Vehicle to Load) 2.2 kW (2,200 Watts) จ่ายพลังงานจากรถ สู่เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ สมรรถนะระยะทางวิ่งสูงสุด 480 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ (มาตรฐาน NEDC) ระยะทางวิ่ง 420 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ (มาตรฐาน WLTP) และอัตราเร่ง 0-100 km/h ภายใน 7.3 วินาที

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

4.ORA Good Cat GT เริ่มต้น 1.28 ล้านบาท

มอเตอร์ไฟฟ้าของรุ่นนี้มีกำลังสูงสุด 171 แรงม้า อัตราเร่ง 0-100 km/h ใน 8.5 วินาที ชาร์จแบบ AC จาก 0-100% ใช้เวลา 10 ชั่วโมง ชาร์จแบบ DC Fast Charge จาก 30-80% ใช้เวลา 40 นาที สามารถวิ่งได้ 500 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง (NEDC)สมรรถนะของมอเตอร์ไฟฟ้า Permanent Magnet Synchronous Motor ที่ให้กำลังสูงสุด 171 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร อัตราเร่ง 0-100 กม./ชม. 8.5 วินาที เร็วกว่า 500  GT  ซึ่งอยู่ที่ 9.2 วินาที

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

5.BYD e6 เริ่มต้น 1.39 ล้านบาท

มอเตอร์ที่มีกำลัง 94 แรงม้า พร้อมด้วยแรงบิด 180 นิวตัน-เมตร สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 130 กม./ชม. จับคู่กับชุดแพคแบตเตอรี่ BYD Blade Battery ขนาด 71.7 kWh รองรับการเดินทางต่อชาร์จ 500 กม. ตามมาตรฐาน NEDC ด้านประสิทธิกาพการชาร์จ BYD E6 รองรับการชาร์จแบบ Normal Charge ด้วยไฟ AC ที่ 6.6 kW สามารถชาร์จจาก 0-100% ได้ในเวลาประมาณ 11 ชั่วโมง และรองรับการชาร์จแบบ Quick Charge ด้วยไฟ DC สูงสุดที่ 60 kW สามารถชาร์จจาก 10-80% ได้ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 23 นาที

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

6.NISSAN LEAF เริ่มต้น 1.59 ล้านบาท 

 มาในรูปแบบรถยนต์ไฟฟ้าตัวถังแฮตช์แบ็ก 5 ประตู พอเพียงกับการใช้งานทั่วไป Nissan Leaf มาพร้อมมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูงสุด 150 แรงม้า มอเตอร์ 1 มอเตอร์ 110 kW สามารถวิ่งได้ระยะทางสูงสุด 311 กิโลเมตรต่อการชาร์จ 1 ครั้ง การชาร์จปกติ 3.6 kW onboard Charger ใช้เวลา 12 ชั่วโมง การชาร์จ Double Speed 6.6 kW onboard Charger ใช้เวลา 6 ชั่วโมง พื้นที่เก็บสัมภาระด้านหลัง ความจุสูงสุด 435 ลิตร สามารถพับเบาะได้เพื่อเพิ่มความจุเป็น 1,176 ลิตร โดยเบาะนั่งตอน 2 สามารถแยกพับ 60:40 ได้

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

7.Toyota bZ4X เริ่มต้น 1.83 ล้านบาท

ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ กำลังสูงสุด 218 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 337 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 71.4 kW ระยะทางวิ่ง 411 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ตามมาตรฐานการทดสอบ WLTP อัตราเร่ง 0 - 100 km/h ภายใน 6.9 วินาที Top Speed ความเร็วสูงสุด 160 km/h กล้องมองภาพรอบคัน 360 องศา กระแสสลับ AC รองรับการชาร์จ 6.6 kW ใช้เวลาประมาณ 10 ชั่วโมง กระแสตรง DC Fast Charging รองรับการชาร์จ 150 kW จาก 0-80% ภายใน 30 นาที หัวชาร์จ Type 2 / CCS Combo

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน

8.Tesla Model 3 เริ่มต้น 1.75 ล้านบาท

ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัวที่ล้อคู่หลัง (Rear-wheel Drive) กำลังสูงสุด 347 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 420 นิวตันเมตร พ่วงด้วยแบตเตอรี่ Lithium-ion Phosphate (LFP) ความจุ 57.5 kWh รองรับการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC สูงสุด 7.6 kW และรองรับการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง DC Fast Charge สูงสุด 250 kW อัตราเร่ง 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ภายใน 6.1 วินาที ความเร็วสูงสุด Top Speed ทำได้ 225 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะวิ่งสูงสุดต่อการชาร์จ อยู่ที่ 559 กิโลเมตร (NEDC)

มีด้วยกัน 3 รุ่น 

  • Tesla Model 3 Rear-Wheel Drive 2023 ราคาเริ่มต้น 1,759,000 บาท
  • Tesla Model 3 Long Range 2023 ราคาเริ่มต้น 1,990,000 บาท
  • Tesla Model 3 Performance 2023 ราคาเริ่มต้น 2,309,000 บาท

8 รถยนต์ไฟฟ้าที่สุดแห่งปี 66 ราคาไม่เกิน 2 ล้าน  รัฐฯ อุดหนุนสูงสุด 1 แสนบาท/คัน