จับ 'BYD Seal' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน 'Zhuhai International Circuit'

จับ 'BYD Seal' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน 'Zhuhai International Circuit'

บีวายดี (BYD)  จัดกิจกรรม “Innovation Meets Acceleration” ที่บ้านเกิด ประเทศจีน มีหลายกิจกรรม ทั้งการเยือนสำนักงานใหญ่ที่เซินเจิ้น และการลองขับกันในสนามแข่ง “Zhuhai International Circuit” เมืองจูไห่ กับ ซีล (Seal)

บีวายดี ซีล (BYD SEAL) เปิดตัวได้อย่างร้อนแรงทีเดียวในตลาดบ้านเรา สิ่งที่หลายคนชื่นชอบ มีทั้งเรื่องทั้งการดีไซน์ ออปชั่น ระดับราคา และสิ่งที่ตื่นตาตื่นใจที่สุด น่าจะเป็นเรื่องของสมรรถนะ โดยเฉพาะตัวท็อป “Performance”

Seal Performance ติดตั้งมอตอร์ 2 ตัว ขับเคลื่อน 4 ล้อ

  • มอเตอร์ตัวหน้าให้กำลังสูงสุด 214 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร
  • มอเตอร์ตัวหลัง 308 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร

ทำให้เป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ ว่านี่คือรถระดับเกิน 500 แรงม้า ที่ราคาแค่ระดับล้านบาทกลางๆ คือ 1.599 ล้านบาท 

แต่จริงๆ แล้วผมว่าจะบอกว่าเกิน 500 แรงม้า ก็ไม่น่าจะถูกซะทีเดียว แน่นอน ถ้าเอากำลังของมอเตอร์ 2 ตัว มาบวกกันตรงๆ ล่ะก็ใช่ แต่ในการใช้งานจริง ไม่น่าจะมีช่วงไหนที่มอเตอร์ทั้ง 2 ตัว จะทำงานโดยใช้กำลังสูงสุดพร้อมกัน 

แต่เน็ตๆ จะกี่ม้าก็ช่างครับ แต่เอาเป็นว่าแค่นี้ก็ร้อนแรงแล้วครับ 

อัตราเร่งร้อนแรง 0-100 กม./ชม. ใช้เวลา 3.8 วินาที เป็นตัวเลขที่เอาไว้เป็นข้อมูลของรถเถอะครับ ไม่ว่าจะเป็นรถรุ่นไหน ยี่ห้อไหน ก็ตาม เพราะในชีวิตจริงจะมีใครสักกี่คนที่ออกตัวแบ 0-100 ซึ่งกระชากที่แรงขนาดนั้น มึนได้เลย ใครไม่แข็งแรง พักผ่อนไม่เพียงพอนี่ น่ากลัวเหมือนกันนะครับ 

 

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

ซีล Performance ติดตั้งแบตเตอรีขนาด 82.56 กิโลวัตต์ชั่วโมง รองรับการใช้งานสูงสุด 580 กม. (NEDC) ติดตั้งยางมาตรฐานขนาด 235/45 R19

สร้างขึ้นบนแพลทฟอร์ม 3.0 แบบ CtoB หรือ Cell to Body นั่นคือส่วนบนของแบตเตอรีหรือ cover ออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของตัวถังรถในส่วนพื้นรถ จากนั้นจัดเรียงเซลล์แบตเตอรีในรูปแบบรังผึ้ง ซึ่งจะทำให้เซลล์บางๆ มีความแข็งแรง คล้ายกับการผลิตกล่องกระดาษนั่นเอง แล้วก็ปิดด้วยแผ่นรอง 

Cell to Body ทำให้โครงสร้างของรถแข็งแกร่งขึ้น ลดการให้ตัวหรือบิดตัวของโครงสร้างตัวถัง เพิ่มความแข็งแรง และการควบคุมรถที่ทำได้ดีขึ้นครับ 

สำหรับสนาม “Zhuhai International Circuit” ที่ใช้สำหรับกิจกรรมการลองขับ ซีล ในครั้งนี้ ผมว่าเป็นสนามที่สวย และมีความท้าทายทีเดียว กับโค้งดุๆ หลายโค้ง

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

สนามเหมือนจะตั้งอยู่กลางเมือง แต่เข้าใจว่าเมืองน่าจะตามมาทีหลัง เพระสนามนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2539 หลังจากเมืองจูไห่เริ่มจัดกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ต 2 ปี โดยช่วงแรกเป็นการแข่งแบบปิดถนน หรือที่เรียกว่า Street Circuit

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

ออกแบบโดย คินฮิลล์ เอ็นจิเนียร์ จากออสเตรเลีย เป็นกลุ่มเดียวกับที่ออกแบบสนามที่อาดิเลด เป็นสนามที่ได้มาตรฐาน เอฟ 1 

ปัจจุบันสนามแห่งนี้มีกิจกรรมการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง และเป็นเหมือนบ้านให้กับทีมมอเตอร์สปอร์ตจากฮ่องกง หรือว่า มาเก๊า

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

เพราะนอกจากสนามแล้ว การเดินทางก็ค่อนข้างสะดวก เพราะจูไห่ เป็นเมืองทางตอนใต้ของจีน และเป็นจุดที่มีสะพานเชื่อมต่อกับฮ่องกง และมาเก๊า เป็นสะพาวที่ยาวข้ามทะเล โดยมีบางช่วงที่มุดลงใต้ทะเล เพื่อเปิดทางให้เรือใหญ่ใช้เส้นทางในจุดดังกล่าวได้สะดวก

สนามแห่งนี้มีความยาว 4.3 กม. และมีโค้งทั้งหมด 14 โค้ง เป็นสนามที่เน้นเรื่องของการควบคุมรถมากกว่าจะเน้นทางตรงยาวๆ ให้ใช้ความเร็วสูงๆ กันบ่อยครั้ง 

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

เป็นกิจกรรมที่มีหลายชาติเข้าร่วมงาน หลังจากที่ บีวายดี ขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยทีมไทยของเรา เป็นสื่อมวลชนชาติแรกที่ได้ประเดิมสนามกับซีลช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา 

เป็นชาติแรกที่โชคดีทีเดียว เพราะเป็นช่วงไต้ฝุ่นป้วนเปี้ยนอยู่แถวนั้น ทำให้อยู่กับสายฝนทั้งวัน แม้ไม่หนักมาก แต่แทรคก็ไม่เคยแห้ง เพิ่มความท้าทายให้มากยิ่งขึ้น 

ที่นี่เราจะได้ลองขับในสิ่งที่ไม่ควรลองบนถนนหลวง ทั้งการใช้คันเร่งแรงๆ เบรกหนักๆ เข้า-ออกโค้งเร็วๆ โดยมีความท้าทายคือผิวแทรคที่ลื่นมากขึ้นจากฝน 

จุดเด่นที่หาได้จากการขับในสนามก็คือ แรงบิดที่ช่วยให้รถออกตัวได้เร็ว ขยับความเร็วได้เร็ว ทำให้จังหวะการออกจากโค้งทำได้ทันอกทันใจ ช่วยให้เวลาเฉลี่ยของการขับทำได้ดี 

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

ช่วงล่างนิ่ง การยึดเกาะถนนคมทีเดียวเมื่อผ่านโค้งที่ไม่ได้แคบมาก เช่น โค้ง 3 โค้ง 6 หรือแม้แต่โค้ง 14 ที่มีความลึกเพิ่มขึ้น เล็งจุดเบรก และจุดเลี้ยวให้พอดีผ่านไปไม่ยาก 

ส่วนโค้งแคบๆ โค้งยูเทิร์น เช่น โค้ง 7 โค้ง 11 ต้องกะจังหวะการเบรกให้ดี เพราะแรงส่งของรถที่กดคันเร่งมาเต็มที่ จะมีระยะการเบรกพอควรสำหรับรถบ้าน บวกกับความลื่นของพื้นแทรค

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

และเมื่อเบรกไม่พอ แต่ถึงจุดเลี้ยวก็ต้องเลี้ยวละครับ ทำให้เจอกับอาการอันเดอร์สเตียร์เกิดขึ้นเป็นจังหวะแรก คือเหมือนจะเลี้ยวไม่เข้า แต่ชั่วขณะเมื่อรถจัดการตัวเองได้แล้ว ล้อหน้าตะกุยไปตามทางที่เราต้องการ ล้อหลังก็ทำท่าอยากตะกุยด้วย ทำให้เกิดอาการอันเดอร์สเตียร์ตามมา แต่ก็เช่นกันเกิดขึ้นชั่วขณะ ก็ดึงรถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้ และเมื่อผ่านไปหลายๆ โค้ง ก็เริ่มชิน และสนุกกับมัน 

เพราะรู้จักนิสัยของรถมากขึ้น ทำท่างุ่นง่านๆ เล็กน้อย แต่ไม่งอแง ไปไหนไปกัน และขับกันแบบสนุกเท้าแบบนี้ ก็ปลอดภัยกันทุกคันทุกคน

แต่แน่นอนนี่คงไม่ใช่จังหวะที่ถูกต้องของการขับนัก เพียงแต่การดิ้น การดื้อของรถที่มีบ้าง ทำให้เราสนุกเท่านั้นเอง ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องสร้างความชินกับสนาม และจังหวะเบรกที่เหมาะสมมากขึ้น 

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'

เพราะนอกจากความแรง อัตราเร่งที่รวดเร็วแล้ว ซีล Performance ยังต้องแบกน้ำหนักตัวกว่า 2.1 ตันเลยทีเดียว

แต่อย่างที่บอกครับว่า นี่เป็นการขับในสนามแข่ง หลายอย่างมันเกินลิมิตที่จะใช้กับการขับบนถนนหลวง แต่ ซีล ก็ผ่านมาได้ไม่ยากนัก

และเมื่อลดความเร็วลงมา อยู่ในระดับที่เร็วใกล้เคียงกับการขับขี่บนท้องถนน มันก็ลัดเลาะโค้งต่างๆ ฝ่าฝนพรำๆ ไปได้แบบสบายใจครับ 

 

จับ \'BYD Seal\' ลงแทรค ลองความแรงฝ่าสายฝน \'Zhuhai International Circuit\'