ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย

ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย

รมว.ดีอียกร่างกฎหมายผลักดันยุทธศาสตร์ AI ประเทศ คาดมิ.ย.ได้เห็นโฉมหน้ากลางปีนี้ พร้อมย้ำความร่วมมือรัฐ - เอกชน ตั้งเป้ายกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลไทยผ่านดิจิทัลอินฟราฯ

KEY

POINTS

  • ดีอีมีโครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ Cloud First Policy การพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID
  • ขณะนี้ได้ปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) หรือ บอร์ด AI
  • โดยตามไทม์ไลน์บอร์ด AI จะต้องผ่านบอร์ดีอีจากนั้นจะเข้าสู่ที่ประชุมครม.โดยคณะกรรมการทั้งชุดจะมีประมาณ 10 คนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิ.ย.

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี กล่าวภายหลังเข้าร่วมการประชุมงานเทคโนโลยีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Digital and Intelligent APAC Congress 2024 ว่าแนวทางการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำในส่วนของประเทศไทย ว่าประเด็นที่ประเทศไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นคือการเร่งการพัฒนาด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีอัจฉริยะ ภายใต้แผนงาน "The Growth Engine of Thailand" เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

โดยในฐานะกลไกการขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย อีกทั้งยังจะช่วยเสริมประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศ 

ทั้งนี้ โครงการสำคัญภายใต้แผนงานริเริ่มนี้ ได้แก่ โครงการ Cloud First Policy การพัฒนา AI สำหรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล การแก้ไขปัญหาการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยไทยได้มีบทบาทสำคัญ ในการจัดตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ (The ASEAN Working Group on Anti - Online Scam : WG - AS) และโครงการความร่วมมือที่หลากหลายกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่สอดคล้องกับทิศทางด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย

ในส่วนของ AI ที่มีความสำคัญอย่างมาก ดีอีได้ปรับปรุงคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทย (National AI Committee) โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ โดยจะมีการปรับปรุงให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการที่ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ด้านเศรษฐกิจด้วย เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ให้มีความสัมพันธ์ทั้งดาต้า เซ็นเตอร์ คลาวด์ และระบบคอมพิวเตอร์ระดับสูง

โดยคณะกรรมการ AI หรือบอร์ด AI แห่งชาตินี้จะมีผม (รัฐมนตรีว่าดีอี) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมร่วมเป็นประธานโดยคณะกรรมการทั้งชุดจะมีประมาณ 10 คนซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามกระบวนการภายในเดือนมิ.ย. เพราะตามไทม์ไลน์ต้องส่งให้และดีอีเห็นชอบโดยบอร์ดดีอีจะมีการประชุมครั้งหน้าในเดือนพ.ค.นี้ หลังจากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 

"นอกจากจะมีการปรับปรุงองค์คณะของบอร์ดเอไอแล้ว กระทรวงดีอีจะมีการผลักดันกฎหมาย AI ฉบับแรกของประเทศ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนและพิจารณาเรื่องจริยธรรมเอไอให้มีความโปร่งใสด้วย"

ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย นายประเสริฐ กล่าวต่อว่าในส่วนเนื่องการแจกเงิน ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทนั้น จะใช้แอปพลิเคชั่น 'ทางรัฐ' ในการลงทะเบียน ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้รองรับการใช้ งานของคน 50 ล้านคน ที่จะเข้ามาใช้งานพร้อมกันให้ได้ แอปจะต้องไม่ล่ม โดยในเบื้องต้นต้อง ใช้ดิจิทัลไอดีในการลงทะเบียน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงดีอี ที่จะให้คนไทยมีดิจิทัลไอดีให้ได้ 50 ล้านราย ภายในปีนี้ และ ครบ 100% ในปี 2568 

ซึ่งในเบื้องปัจจุบัน ไทยไอดี ของกรมการปกครอง มีผู้ใช้อยู่ 10 ล้านรายแล้ว ซึ่งกระทรวงมหาดไทยกำลังช่วยขยายเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกับการพัฒนาระบบหลังบ้านแอปทางรัฐเพื่อรองรับดิจิทัล วอลเล็ต จะมี สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร. ซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอปฯทางรัฐ เป็นผู้ดูแลระบบหลังบ้าน

ขณะที่กระทรวงดีอี และ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จะเป็นผู้ดูแลเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้  ซึ่งมันจะว่ารับบต่างๆจะพร้อมในไตรมาส 3 เพื่อให้ทันการเริ่มแจกเงินดิจัทัล วอลเล็ตในไตรมาสที่ 4

ดีเดย์มิ.ย.ฟอร์มทีมบอร์ด AI แห่งชาติ ‘ดีอี’ ประกาศความพร้อมยกร่างกฎหมาย

พร้อมกันนี้ นายประเสริฐ ยังระบุอีกว่า ดีอี ขอขอบคุณ หัวเว่ย และมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ที่ให้ความสำคัญกับประเทศไทย จัดการประชุมระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งนี้ โดยไทยถือเป็น 1 ในประเทศอาเซียนที่มีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำมาอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและระบบอัจฉริยะชั้นนำ จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไปด้วยกัน