3 เกษตรกร"รักบ้านเกิด" ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีตัวช่วย

3 เกษตรกร"รักบ้านเกิด" ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีตัวช่วย

สุขที่ยั่งยืน 3 เกษตรกร"รักบ้านเกิด" ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีตัวช่วย สุขที่ยั่งยืน 3 เกษตรกร"รักบ้านเกิด" ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีตัวช่วย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในปี 64 ไว้ว่า มีการขยายตัวร้อยละ 1.5 และคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 จะขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.0-3.0 โดยมีภาคเกษตรเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต

ปัจจุบันเกษตรยุคใหม่ มีการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งเราอาจเรียกสั้นๆ ว่า เกษตรดิจิทัล

เกษตรดิจิทัล คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการผลิตทางการเกษตร ทั้ง สภาพดิน สภาพน้ำ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสง พื้นที่เพาะปลูก การเจริญเติบโตของพืชพรรณ และช่วยให้เกษตรกรเข้าใจถึงปัญหาและความต้องการที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการเกษตร

จึงขอพาไปรู้จัก 3 เกษตรกรจากโครงการคัดเลือกเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิดประจำปี 2564 ที่ได้นำแนวคิดและความรู้ด้านดิจิทัล มาประยุกต์ใช้

จิรภัทร คาดีวี เกษตรกรจากแสนบุญฟาร์ม จังหวัดกาฬสินธุ์  ก่อนหน้านี้เป็นวิศวกร แต่เลือกออกจากงานกลับมาปลูกผักอินทรีย์

"วิเคราะห์แล้วว่าเป็นอาชีพที่ตอบโจทย์เราได้ จึง เราก็เอาความรู้ที่เรียนมา ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอด เพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน รวมทั้งหาวิธีทำการเกษตรให้ง่ายขึ้น ทั้งด้านการผลิต การตลาด และการใช้แรงงาน"

3 เกษตรกร\"รักบ้านเกิด\" ทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีตัวช่วย

ด้าน พิริยากร ลีประเสริฐพันธ์ เกษตรกรจาก GardenThree จังหวัดหนองคาย เริ่มทำเกษตรจากโจทย์ว่า เอาความสุขเป็นตัวตั้งในการทำธุรกิจ

"เลือกปลูกผักสลัด ผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ส่งขายให้ผู้บริโภคและเปิดรับออเดอร์ได้ตลอดปี คลายความกังวลในเรื่องผักขาดช่วงไปได้เลย เพราะสวนเรานำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการทำการเกษตร

อาทิเช่น ระบบรดน้ำแปลงผักแบบอัตโนมัติ เปิดปิดผ่านโทรศัพท์มือถือ ถ้ามีธุระหรืออยู่ที่ไหนจะใกล้หรือไกล ก็สามารถเปิดปิดตั้งค่าได้ตลอดเวลา และใช้โซเชียลมีเดียช่วยในช่องทางการจำหน่าย เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคโดยตรง"

ส่วนเกษตรอินทรีย์อีกราย ภิญญา ศรีสาหร่าย จากฟาร์มฝันแม่  จังหวัดราชบุรี ผู้สานฝันแม่ให้เป็นจริง ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาร่วมพัฒนาฟาร์ม

โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อต่อยอดวางแผนการปลูก และการทำการตลาดให้มีความสอดคล้องกัน

"เมื่อก่อนใช้วิธีจดเอกสาร ปัจจุบันหันมาใช้เป็นแอปพลิเคชัน นำข้อมูลพื้นฐาน(data base) มาวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนผลิตเพื่อจำหน่าย  และนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มผลผลิต นำพามาซึ่งรายได้ที่ยั่งยืนและมีความสุข"

ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.rakbankerd.com