กินข้าวใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ วิถีเกษตรอิงธรรมชาติของพี่น้องชนเผ่า

กินข้าวใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ วิถีเกษตรอิงธรรมชาติของพี่น้องชนเผ่า

เหลี่ยวมองวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนเผ่ากับ"พิธีกินข้าวใหม่" นิยมทำในเดือนข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง หลังจากประกอบพิธีเสร็จ จึงสามารถนำข้าวไปแบ่งปันผู้อื่นหรือจัดจำหน่ายได้

อาเกอะ บอแช ชาวอาข่ารุ่นใหม่จากบ้านพญาไพรลิทู่ ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ผู้สืบทอดวัฒนธรรมการเพาะปลูกของชาวอาข่า

แม้พื้นที่ปลูกของเขามีไม่มากนัก แต่ก็พอจะหาเลี้ยงกันได้ทั้งครอบครัวและทั้งปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนการปลูกด้วย หมายความว่าในพื้นที่แปลงหนึ่ง ต้องปลูกพืชให้หลากหลายที่สุด

พื้นที่ปลูกที่เรียกว่า ไร่หมุนเวียน ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย มีรูปแบบใกล้เคียงกัน คือมีพื้นที่ประมาณ 10-15 ไร่

ไร่หมุนเวียนที่ไม่เหมือนเดิม

เดิมนั้นแต่ละครอบครัวจะมีอย่างน้อย 7 แปลง หมุนเวียนเปลี่ยนไปปีละแปลง เมื่อครบ 7 แปลงหรือ 7 ปีก็วนกลับไปทำแปลงที่หนึ่งอีกครั้ง

แต่ปัจจุบันไม่สามารถทำได้แล้ว เนื่องจากผิดข้อกฎหมาย แต่ละครอบครัวจึงเหลืออย่างมากที่สุดเพียง 3 แปลงเท่านั้น

กรณีของอาเกอะก็เช่นกัน เมื่อมีเท่านี้ก็ทำตามที่มีอยู่ ไร่นาของอาเกอะจะปลูกพืชหลัก 3 อย่าง คือ ข้าว เผือก

 

กินข้าวใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ วิถีเกษตรอิงธรรมชาติของพี่น้องชนเผ่า เมี่ยงสมุนไพร 9 รสจากพืชผักธรรมชาติ 

ขณะเดียวกันก็จะมีพืชอาหารอื่นๆ ปลูกร่วมด้วย อาทิ ถั่ว ลูกเดือย สาคู ฟักทอง ฟักเขียว ฟักข้าว แตงกวา และผักต่างๆ

ทันทีที่ฝนมา การเตรียมพื้นที่ก็เริ่มขึ้น เมื่อดินได้น้ำฝนซัก 3 ห่า ชาวบ้านก็จะช่วยกันลงข้าวไร่ พันธุ์พื้นเมืองที่เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ตั้งแต่ปีก่อน

จากนั้นก็จะปลูกเผือก ปลูกมัน ทั้งมันฝรั่ง มันม่วง ลงบนพื้นว่าง แซมด้วยผักสวนครัวประเภทไม้เลื้อยหรือขึ้นค้าง ผักต่างๆ ถ้ามีก็ปลูกลงไป

“พืชแต่ละชนิดมีเวลาเก็บเกี่ยวของมันเอง พอเกี่ยวข้าวเสร็จ ก็จะขุดมัน ขุดเผือกไปเก็บไว้ ส่วนผักอื่นๆ ก็เก็บกินได้ทุกครั้งที่เรามาดูไร่ ทุกอย่างสามารถปลูกได้แล้วหาได้ในไร่ของเรา” อาเกอะ เล่า

กินข้าวใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ วิถีเกษตรอิงธรรมชาติของพี่น้องชนเผ่า

ความสัมพันธ์ระหว่างข้าวกับคน

วิถีเกษตรและการดูแลแหล่งอาหารจึงแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย ดังแสดงให้เห็นผ่าน “พิธีกินข้าวใหม่” หลังเสร็จสิ้นฤดูกาลผลิตแต่ละปี

 การได้กินข้าวใหม่หมายรวมถึงการได้มีชีวิตใหม่ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้าวกับคนของชนชาติพันธุ์มาอย่างยาวนาน

จึงเป็นพิธีกรรมที่ทรงคุณค่า ที่แสดงถึงความขอบคุณและแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ ต่อบุพการีและธรรมชาติที่เกื้อหนุนพืชพรรณอาหารต่างๆ ที่ปลูกไว้ แม้พิธีกรรมของแต่ละเผ่า อาจจะต่างกันบ้าง แต่ความสำคัญและให้คุณค่า ไม่ต่างกัน

องค์ประกอบสำคัญในพิธีกินข้าวใหม่ คือ ข้าว เผือก มัน นอกนั้นก็จะเป็น พืชผลทางการเกษตรต่างๆ ที่ปลูกในไร่ข้าว

โดยพิธีนี้จะนิยมทำกันในเดือนข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง หลังจากประกอบพิธีกินข้าวใหม่แล้ว จึงสามารถนำข้าวไปแบ่งปันผู้อื่นหรือจัดจำหน่ายได้

สุพจน์ หลี่จา นายกสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ เล่าว่า เพราะความเชื่อ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของชาติพันธุ์ต่างๆ นั้นมาจากวิถีแห่งการเกษตรทั้งสิ้น เริ่มต้นจากข้าว

ข้าวที่เป็นอาหารหลักและมีความเชื่อและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวอย่างมากมาย เช่น เวลาเดินก็จะเหยียบถูกสิ่งต่างๆ บนพื้นดิน บนพื้นหญ้า

หากเดินเท้าเปล่าก็จะรู้สึกได้เมื่อเท้าไปเหยียบถูกแมลงและสัตว์ต่างๆ เพราะไม่มีอะไรรองกั้นระหว่างเท้ากับผืนดิน เราจะรู้สึกอบอุ่นผูกพันที่ร่างกายได้ใกล้ชิดกับผืนแผ่นดิน

และที่สำคัญเป็นการเคารพให้เกียรติผืนแผ่นดินที่เราเหยียบย่ำทุกวันว่าเรามิได้รังเกียจ ดูแคลน ถ้าเราทุกคนจะเดินทางด้วยเท้าเปล่าเราจะซึมซับความผูกพันกับแม่ธรณีมากขึ้น

ขณะเดียวกันพิธีกรรมตามประเพณีที่ยึดถือกันมา-นี้ ยังหมายถึงการให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาที่ช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับกลุ่มชาติพันธุ์

เพราะพื้นที่เพาะปลูกแต่ละแปลงล้วนทรงคุณค่า มีความหลากหลาย และมีวิถีการผลิตที่อิงแอบกับความยั่งยืน

ความหลากหลายของพืชที่หายไป

แต่สำหรับความคิดเห็นของสุพจน์แล้ว เขาบอกว่าในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ มีหลายๆ สาเหตุที่อาจจะเกิดปัญหาในการรักษาฐานความมั่นคงทางอาหาร เมื่อความหลากหลายทางพืชอาหารลดน้อยลงเรื่อยๆ

สาเหตุสำคัญในความเห็นของสุพจน์ คือเรื่องของการเข้าถึงสิทธิในที่ดินและทรัพยากรดินน้ำป่า อันเป็นผลมาจากนโยบายภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับวิถีและบริบทของพี่น้องชาติพันธุ์ เช่น พี่น้องชาติพันธุ์ต้องปลูกข้าว ต้องทำไร่หมุนเวียน ซึ่งในไร่หมุนเวียนนี้จะมีพืชอาหารมากมาย หากไม่สามารถเข้าถึงสิทธิที่ดินได้อย่างมั่นคง

นั่นหมายความว่าวิถีเกษตรแบบพี่น้องชาติพันธุ์จะลดน้อยลงและจะทำให้พืชใหม่ๆ เข้าไปแทนที่ เช่น พืชเศรษฐกิจ อย่าง ยาง ข้าวโพด และผักต่างๆ

พืชเหล่านี้ไม่ได้สอดคล้องกับวิถีชีวิตหรือความเป็นอยู่ของพี่น้องชาติพันธุ์ เพราะพืชเศรษฐกิจนำมาซึ่งสารเคมี อันเป็นตัวทำลายความหลากหลายของพรรณพืชท้องถิ่น

 “เรื่องนี้น่าเป็นห่วงมากของพี่น้องชาติพันธุ์ เพราะฉะนั้นเรื่องสิทธิในที่ดินจึงเป็นเรื่องสำคัญ” สุพจน์ ย้ำ

สุพจน์ หลี่จา นายกสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์ กินข้าวใหม่ เพื่อชีวิตใหม่ วิถีเกษตรอิงธรรมชาติของพี่น้องชนเผ่า

(สุพจน์ หลี่จา นายกสมาคมสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนชาติพันธุ์)

พิธีกินข้าวใหม่

การรักษาประเพณีและวัฒนธรรมในการผลิตอย่างพิธีกินข้าวใหม่ของพี่น้องชาติพันธุ์ต่างๆ จึงเสมือนเป็นการแสดงออก ซึ่งวิถีการผลิตที่อิงแอบกับธรรมชาติ รักษาความหลากหลาย เพื่อให้ความมั่นคงทางอาหารยังคงอยู่

แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์รอบด้านจะกดดันให้วิถีต้องปรับเปลี่ยน แต่คนรุ่นใหม่ๆ จำนวนไม่น้อย ต่างหันกลับมาทำการเกษตรตามรอยบรรพบุรุษบ้างแล้ว

 “เยาวชนคนรุ่นใหม่บางกลุ่มอาจจะต้องการหาประสบการณ์จากในเมืองและต่างประเทศ แต่ถึงที่สุดแล้วพวกเขาก็ต้องกลับมาหาวิถีเกษตรเหมือนเดิม

เพราะฉะนั้น ถ้าพ่อแม่มีความมั่นคงในสิทธิที่ทำกิน ก็สามารถส่งต่อฐานทรัพยากรเหล่านี้ให้กับรุ่นลูกรุ่นหลาน ทำการเกษตรเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่ได้ ซึ่งอาจจะดีกว่าเดิมก็ได้

เพราะคนรุ่นใหม่มีประสบการณ์มีความรู้มากขึ้น ทั้งการทำกมมารเกษตรสมัย เรื่องการทำปุ๋ย การใช้สารชีวภาพ รวมถึงการแปรรูปต่างๆ เป็นการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วย” สุพจน์ กล่าว

ดังนั้น-นี่คือความท้าทายท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่พี่น้องชาติพันธุ์ชนเผ่าต่างๆ จะต้องผนึกกำลังกันรักษาฐานการผลิตของตัวเอง เพื่อคงไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารสืบไป