หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

หยุด ! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ วช. ผนึก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผลักดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย “SOP-JUDA-สารเสพติดในเส้นผม” แก้ไขปัญหายาเสพติดในเด็กและเยาวชน

ปี 2563 กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน รายงานสถิติการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนประจำปี พบว่ามีจำนวนถึง 19,470 คดี ซึ่งคดีส่วนใหญ่เป็นฐานความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 9,600 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 49.31 ของคดีทั้งหมด และปัจจุบันพบว่ามีเด็กกระทำผิดซ้ำจำนวนมาก 

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มีการดำเนินโครงการ “นวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน” ภายใต้แผนงานขยายผลการวิจัยสู่การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

วันนี้ (26 พ.ค.) โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดเสวนา “นวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดและขยายผลนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

รวมถึงประเมินผลสำเร็จของการนำนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมสู่การปฏิบัติจริง และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะด้านการอำนวยการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนผ่านการบูรณาการในเชิงกฎหมาย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยทางนิติวิทยาศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษ บทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกับนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาท้าทายด้านการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ว่า จากการกระแสการเปลี่ยนแปลงระดับโลก หรือเมกะเทรนด์ ส่งผลให้เกิดพลวัตทางสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด

 

  • นวัตกรรมการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

ดร.วิภารัตน์ กล่าวต่อว่าขณะเดียวกันการผลักดันนโยบายในการพัฒนาประเทศ และแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติในเชิงรุก ได้จุดประกายประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมและบริหารงานยุติธรรมในหลายมิติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ต้องมีการศึกษา การพัฒนาแนวทางการปรับสมดุลให้บริบทขั้นตอนทางข้อกฎหมายมีการสอดคล้องกับการดำเนินการในเชิงปฎิบัติ  และมีการแสวงหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสำหรับการยกระดับศักยภาพการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเชื่อมั่นของกระบวนยุติธรรม

ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานที่เอื้อประโยชน์ในแง่ยุติธรรม ทั้งการป้องกัน  การปราบปราม การแก้ไขฟื้นฟู การสอดส่องดูแล เมื่อได้รับการปล่อยตัวคืนกลับสู่สังคม ซึ่งจะต้องมีจุดมุ่งหมายให้มีการเปลี่ยนแปลง โดยต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาสนับสนุน รวมทั้งเปิดโอกาสให้เครือข่ายภาคประชาชนได้เข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วม

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

"วช. ในฐานะหน่วยงานให้ทุน และบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ได้เล็งเห็นถึงงานวิจัยทางด้านการอำนวยความยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรมในหลายมิติ จึงให้การสนับสนุนแผนงานวิจัยท้าทายไทย แก่โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เพื่อทำกิจกรรมและสนับสนุนการวิจัย แผนงานขยายผลการวิจัยสู่การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงการอำนวยยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในปีที่ 2" ดร.วิภารัตน์ กล่าว

โดยมี ศ.พล.ต.ต.หญิง ดร.พัชรา สินลอยมา เป็นผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย โดยมีเป้าประสงค์ทำให้เกิดผลผลิตด้านนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงเกิดการขยายผลสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

 

  • วช.หนุนนวัตกรรมยุติธรรมลดเด็กกระทำผิดซ้ำ

ดร.วิภารัตน์ กล่าวอีกว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้เกิดการนำนวัตกรรมด้านต่างๆ มาทำการศึกษาต่อยอด โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านการป้องกันการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งผลผลิตจากการดำเนินงานที่ต้องมีความสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนประเทศในสังคมยุคดิจิทัล

อีกทั้งก่อให้เกิดผลลัพธ์ด้านการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในเรื่องการอำนวยความยุติธรรม และพัฒนาวิทยาการทางด้านกระบวนการยุติธรรมในทุกมิติ เพราะการอำนวยความยุติธรรมที่สมบูรณ์แบบนั้น จะต้องอาศัยทั้งหลักความยุติธรรมทางกฎหมาย หลักความยุติธรรมทางสังคม และนวัตกรรมด้านการสืบสวนสอบสวนที่ล้ำสมัยควบคู่กันไป

การเสวนาครั้งนี้เผยแพร่ผลการดำเนินงานรวมทั้งข้อค้นพบสำคัญของงานวิจัย รวมทั้งเพื่อสร้างมาตรการสำหรับการผสมผสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน ในการป้องกันเด็กและเยาวชนที่ไม่เคยกระทำผิดไม่ให้เป็นผู้กระทำผิดรายใหม่

รวมถึงเป็นการต่อยอดและขยายผลนวัตกรรมการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนสู่การประยุกต์ใช้ในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และจะเป็นต้นแบบในการขยายผลการใช้นวัตกรรมนี้ในหน่วยงานอื่นๆต่อไป

  • การป้องกันกระทำความผิดซ้ำและโอกาสเด็กและเยาวชน

ทั้งนี้ สำหรับบทบาทของวช.ในการขับเคลื่อนและต่อยอดงานวิจัยนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาท้าทายด้านอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน  โดยในส่วนนโยบายการวิจัยและนวัตกรรมนั้น ตั้งแต่มีการปฎิรูประบบวิจัยและนวัตกรรมตั้งแต่ปี 2562

มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทำให้มีนวัตกรรมทางการบริหารเกิดขึ้นหลากหลาย  ทั้งในเรื่องสภานโยบาย มีกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม มีคณะกรรมการส่งเสริมฯ มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

โดยในส่วนของการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม มีหน่วยในการบริหารจัดการเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีหลายหน่วยงานทำหน้าที่ร่วมกัน วช.ก็จะอยู่ในส่วนนี้ นอกจากยังมีหน่วยการทำวิจัย การทดสอบมาตรฐาน มาตรวัด  ก็จะอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน

การมีแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม มึความสอดคล้องกับแผนระดับชาติ ซึ่งในนโยบายดังกล่าว มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน และปี 2566-2570 จะเป็นกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ใหม่ ซึ่งวช.ได้ทำกรอบวิจัยประจำปี และจัดทำงานต่อเนื่อง 5 ปี

จากผ่านด้านววน.มีการเดินหน้ามาตั้งแต่ปี 2563-2565 ส่วนปี 2566-2570 มีความต่อเนื่องในการส่งต่อการบริหารจัดการ โดยจะดูในความสามารถการแข่งขัน ความท้าทายและปรับตัวใหม่ๆ เป็นพลวัต และการสร้างโอกาสใหม่ๆ และความพร้อมประเทศในอนาคต และยุทธศาสตร์ เรื่องการบริหารจัดการกำลังคน

  • เทคโนโลยียุติธรรมอัจฉริยะ เสริมพันธะทางสังคม

วช.ได้มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม จะครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดโจทย์วิจัย และเป้าหมายการวิจัย การขยายผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน กระบวนการบริหารโครงการ กระบวนการติดตามประเมินผล และการสร้างบุคลากร

ในส่วนของแผนงานวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นสังคมไทยความรุนแรง เป็นประเด็นสำคัญในการขับเคลื่อน แผงงานยุทธศาสตร์ที่ 2 ข้องสำหรับสังคมคุณธรรม แก้ปัญหาคอรัปชั่น สร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

รวมถึงหลายเรื่องที่เกิดขึ้น ทั้งเชิงมิติพื้นที่ การแก้ไข ความเข็มแข็งในเรื่องมิติสังคมฐานราก หรือการแก้ไข ยกระดับสังคม หลังสถานการณ์โควิด เพื่อให้เกิดความมั่นคง และแก้ไขปัญหา

นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย เพื่อการป้องกันกระทำความผิดซ้ำและส่งเสริมโอกาสการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำผิดซ้ำและส่งเสริมโอกาสการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชยที่เคนกระทำผิด และส่งเสริมโอกาสการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนที่เคยกระทำความผิด  ถือเป็นนวัตกรรมยุติธรรมท้าทาย

"มีการสร้างเทคโนโลยียุติธรรมอัจฉริยะ เสริมพันธะทางสังคมด้วยภาคีเครือข่าย แก้ไขการตีตราด้วยยุติธรรมทางเลือก โดยเป็นการวัดผลลดจากการกระทำผิดรายเก่าให้หมดไป และป้องกันผู้กระทำผิดรายใหม่ไม่ให้เกิดขึ้น" ดร.วิภารัตน์ กล่าว 

  • 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

ศ.พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา ที่ปรึกษาคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย กล่าวว่าด้วยจำนวนของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดมีจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของยาเสพติด ซึ่งจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จึงร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจขับเคลื่อนนวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย ภายใต้แผนงานขยายผลการวิจัยสู่การปฏิบัติเพื่อการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

โดยกรอบการวิจัยในดังกล่าว ได้มีการพิจารณาถึงการนำนวัตกรรมที่เกิดจากการบริหารจัดการโครงการวิจัยดังกล่าวมาสู่การต่อยอดและขยายผลในเชิงปฏิบัติการ โดยการเชื่อมโยงผลผลิตที่เด่นชัด (Best Practice)

จากกรอบการวิจัยทางด้านกฎหมาย นิติวิทยาศาสตร์ และฐานข้อมูล เพื่อให้สามารถสะท้อนถึงผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์เกี่ยวกับการอำนวยการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่มีการบูรณาการ ทั้งในเชิงกฎหมาย การใช้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยทางนิติวิทยาศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนที่เข้มแข็ง

ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย กล่าวต่อไปว่า แนวคิดการดำเนินงานสามารถแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของแต่ละกรอบการวิจัยได้อย่างชัดเจน โดยการดำเนินงานในระยะนี้ มุ่งเน้นให้เกิดการขยายผลและต่อยอดนวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทยสู่การปฏิบัติในเชิงรูปธรรม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในกระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

ทั้งการเปลี่ยนแปลงในเชิงกฎหมายที่จะเกิดการบูรณาการเครือข่ายผู้บังคับใช้กฎหมายในการอำนวยความยุติธรรมแก่เด็กและเยาวชนโดยมุ่งประโยชน์สูงสุดของตัวเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้มาตรการพิเศษแทนการดำเนินคดีอาญา ซึ่งถือเป็นการผสมผสานระหว่างมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางสังคมในการแก้ไขปัญหาการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

  • SOP-JUDA-สารเสพติดในเส้นผม

การเปลี่ยนแปลงในมิติต่อมา คือการเปลี่ยนแปลงในเชิงของการผลักดันการประยุกต์ใช้กระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในส่วนของการใช้ประโยชน์ในกระบวนการรวบรวมพยานหลักฐานที่มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบและการนำองค์ความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือการสร้างความยั่งยืนให้กับกระบวนการคืนเด็กดีสู่สังคมไม่ให้หวนกลับมากระทำผิดซ้ำ โดยกระบวนการสำคัญคือการประยุกต์ใช้แนวคิดทางจิตวิทยาสังคมในการสร้างความเข้มแข้งทางจิตใจให้แก่เด็กและเยาวชนที่ได้รับการปล่อยตัวสู่ชุมชน

ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนในสังคมในการให้โอกาสเด็กและเยาวชนเหล่านี้ให้มีพื้นที่จุดยืน มีอาชีพสุจริต หรือมีแนวทางการดำเนินชีวิตที่มีคุณภาพตามครรลองของสังคมปกติ

หยุด! เด็ก-เยาวชน กระทำผิดซ้ำ ดัน 3 แพลตฟอร์ม 8 นวัตกรรมยุติธรรมท้าทายไทย

ผลการดำเนินงานได้สร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการอำนวยความยุติธรรมแก่เด็กและเยาวชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งในมิติทางกฎหมายที่เกิด SOP ด้านการปฏิบัติต่อเด็กกระทำความผิดซึ่งมีอายุไม่เกิน 12 ปี หรือการใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยมาเป็นกลไกสำคัญในการหันเหคดีเด็กและเยาวชน   

ออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลักเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม มิติทางนิติวิทยาศาสตร์ที่เกิดโปรแกรม JUDA ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีระบบฐานข้อมูลการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนที่แยกออกจากฐานข้อมูลของผู้ใหญ่ เพื่อใช้งานในระดับสถานีตำรวจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สอดรับกับการพัฒนาเทคนิคการตรวจสารเสพติดทางเส้นผมที่จะพลิกโฉมการตรวจสารเสพติดด้วยวิธีการเดิมๆ ให้มีความแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น ประหยัดทั้งงบประมาณและระยะเวลา

  • เครือข่ายความร่วมมือ 4 หน่วยงานเติมภูมิคุ้มกันเด็กกระทำผิด

โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของ 4 หน่วยงานใหญ่ ได้แก่ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุมประพฤติ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนมิติด้านการผนึกพลังเครือข่าย ได้เกิดการพัฒนาหลักสูตรทักษะทางอาชีพทั้ง Hard Skill และ Soft Skill ที่ตรงตามความถนัดของเด็กและเยาวชนและความต้องการของตลาดอาชีพ

รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่ายสถานประกอบการกว่า 25 แห่ง ที่พร้อมจะมอบโอกาสในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพจากสถานที่จริง สภาพแวดล้อมจริง และสถานการณ์จริง รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการมีงานทำ มีอาชีพ และมีรายได้ที่เหมาะสมเมื่อได้รับการปล่อยตัวกลับคืนสู่สังคม

“เด็กและเยาวชนเปรียบเสมือนต้นกล้าที่รอวันเติบใหญ่เป็นอนาคตของชาติ ผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจึงต้องบูรณาการความร่วมมือในการสนับสนุนโอกาสและการชี้นำแนวทางที่เหมาะสม เพื่อให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ที่จะอยู่ในสังคมต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 50 ปี เกิดความตระหนักในคุณค่าชีวิต เกิดความมุ่งมั่นในการกลับตนเป็นคนดี มีความพร้อมที่จะกลับคืนสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ และไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก” ศ.พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา กล่าว

  • นวัตกรรมตรวจสอบสารตกค้างย้อนหลังกว่า 3 เดือน

นายประกอบ ลีนะเปสนันท์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง กล่าวว่า ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เป็นหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการพิจารณาคดีเป็นหลักและยังเป็นหน่วยงานที่ดูแลศาลเยาวชนฯทั่วราชอาณาจักร ที่ผ่านมาศาลฯพบข้อมูลว่ามีผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการที่จะมีการตรวจสอบสารเสพติดจากเส้นผมได้ ซึ่งมีความแม่นยำสูง ของหน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์และกรมพินิจฯ

จึงขอเข้ามามีส่วนร่วมกันในการทำงานร่วมกัน  เพื่อตรวจสารเสพติดจากเส้นผม กรณีที่ขึ้นสู่คดีในชั้นศาล โดยจะมีการตรวจสอบทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะคดียาเสพติดเพียงอย่างเดียว เพราะผู้ต้องหาบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ว่าจะเป็นคดีหลักทรัพย์ พบว่ามีสารเสพติดในร่างกาย  ชี้ให้เห็นว่า ยาเสพติดเป็นรากฐานที่ทำให้เด็กก่อคดี ขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หากมีการตรวจยาเสพติดโดยนวัตกรรมสามารถตรวจสอบสารตกค้างได้ย้อนหลังกว่า 3 เดือน จะทำให้ระงับยับยั้งการเสพยาเสพติดในเด็กได้อย่างต่อเนื่อง เพราะหลักฐานจะปรากฏชัดเจน มีผลในการพิจรณาคดีทันที เดิมเด็กจะเสพยาต่อเนื่องเพราะคิดว่าตรวจไม่เจอ 

ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบได้ทั้งหมด แม้แต่กระท่อม และกัญชา  ในอนาคตคาดว่า จะมีการตรวจย้อนหลังสารเสพติดได้กว่า 6  เดือนทำให้เด็กลดการใช้ยาเสพติด นอกจากนี้จะมีการขยายการตรวจสอบสารเสพติดในเส้นผมในศาลพื้นที่รอบกรุงเทพ และพื้นที่ที่คาดว่า มีผู้ต้องหาคดียาเสพติด โดยในงบประมาณหน้า จะเสนอให้มีการตรวจสอบยาเสพติดในเส้นผมในศาลทั่วประเทศ  

  • ตรวจสารเสพติดจากเส้นผม ลดเด็กติดยาเสพติด

กระทรวงยุติธรรม จะช่วยแก้ไขบำบัด ฟื้นฟู เด็กกระทำผิดโดยเฉพาะเด็กในกลุ่มยาเสพติด  ซึ่งเด็กกระทำผิดจะสามารถออกไปเยี่ยมบ้าน  ไปเรียน ไปศูนย์ฝึกได้เป็นเวลาประมาณ 7 วัน

ทุกครั้งที่เด็กกระทำผิดออกไป 3 วันแรก จะกลับไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่การตรวจปัสสาวะเมื่อผ่านไป 3 วันก็ไม่สามารถตรวจพบสารเสพติดได้ แต่ถ้าตรวจสารเสพติดจากเส้นผม ย้อนหลังไปได้ 3 เดือน เมื่อเขากลับออกไปก็จะไม่กล้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เพราะถ้าเขายังกระทำผิดเหมือนเดิม  เขาก็ไม่ได้ออกไปเยี่ยมบ้าน หรือไปข้างนอก

"เด็กก็จะเรียนรู้ว่า ไม่สามารถตบตาเจ้าหน้าที่ได้อีกแล้ว และเขากลัวจะเสียสิทธิ ดังนั้น นวัตกรรมดังกล่าว จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ให้เด็กกระทำผิดอีก และตอนนี้มีเด็กที่ลดกระทำผิดลงอย่างมากจนเกือบเป็นศูนย์ "  

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ภายใต้กระทรวงยุติธรรม ได้มีการตรวจสารเสพติดจากเส้นผม จนทำให้สถิติตัวเลขเด็กและเยาวชนกระทำผิดซ้ำ หรือยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดลดลง จะเห็นได้ว่า ประสิทธิภาพตรวจเส้นผมดีกว่าตรวจปัสสาวะ อย่างไรก็ตาม

การทำวิจัยดังกล่าว มีความพยายามขยายขอบเขตในการตรวจสารเสพติดจากเส้นผม ไปสู่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางทั่วประเทศ และขยายขอบเขตของผู้ตรวจ ให้รพ.เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยควบคุมการกระทำผิดของเด็กได้ดีขึ้น