ขายทางเดียวต้องหลบ OFFLINE x ONLINE จะมา

ขายทางเดียวต้องหลบ OFFLINE x ONLINE จะมา

 

หากให้พูดถึงวงการธุรกิจการค้าขายของไทยจะเติบโตไปในรูปแบบใด สมัยก่อนเริ่มแรกทฤษฎีปลาใหญ่กินปลาเล็ก ห้างร้านใหญ่ๆ มักกวาดรายได้เพียบจนร้านค้าเล็กๆ หลายร้านต้องกุมขมับ แต่ต่อมาปลาใหญ่เริ่มกินปลาเล็กไม่ได้ เพราะ E-Commerce ได้เข้ามาช่วยต่อลมหายใจของร้านค้าเล็กๆ ขนาดที่ว่าไม่มีหน้าร้านก็ยังเป็นเจ้าของร้านออนไลน์กันได้ จนท้ายที่สุดร้านออนไลน์ที่ไร้หน้าร้านกลับมายึดพื้นที่ร้านค้าที่มีหน้าร้านเสียเองเมื่อร้านค้าปลีกที่ใครๆ ก็ดูว่ากำลังจะตาย โมเดลธุรกิจที่เรียกว่า O2O ก็เข้ามาผสานจุดแข็งของร้านค้าปลีกรวมกับการค้าขายแบบ E-Commerce เข้าด้วยกัน บอกได้เลยว่าโมเดลธุรกิจแบบนี้จะเป็นอนาคตที่มาแรงแบบสุดๆ 

Online to Offline
O2O แบบแรกก็คือ Online to Offline การผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์ ซึ่งเป็นการนำคุณภาพของออฟไลน์มาช่วยยกระดับออนไลน์นั่นเอง จากที่ใครคาดการณ์กันว่า แค่มีร้านค้าออนไลน์อย่างเดียวอย่างไรก็รุ่ง ไม่ต้องเปลืองงบสร้างร้านและจ้างพนักงาน แต่ท้ายที่สุดผู้ซื้อก็ยังต้องการประสบการณ์การจับต้องได้จริงทั้งได้เห็น ได้กลิ่น ได้ยิน ได้รับรู้รสชาติ และได้สัมผัสอยู่ดี ขนาดเจ้าพ่อ E-Commerce ชื่อดังอย่าง Alibaba และ Amezon ก็ยังต้องปรับตัวเองในการทำออฟไลน์เพิ่มขึ้น

เริ่มที่ Alibaba เว็บไซต์ E-Commerce ชื่อดังจากฝั่งตะวันออกหันมาสร้างห้างร้านของตัวเองในรูปแบบ “New Retail” ที่เชื่อมร้านค้าในโลกออฟไลน์และโลกออนไลน์เพื่อให้ส่งเสริมกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • เปลี่ยนร้านโชห่วยของจีนจำนวน 10,000 แห่ง ให้กลายเป็นศูนย์โชห่วยทันสมัยในชุมชน โดย สามารถสั่งสินค้าจาก tmall.com ของ Alibaba ได้ด้วย
  • Hema ซูเปอร์มาร์เก็ต 13 แห่ง ที่สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อดูข้อมูลสินค้าเพิ่มเติม และชำระเงินค่าสินค้าออนไลน์ได้
  • Tao Café ร้านสะดวกซื้อไร้พนักงาน เพียงสแกนบาร์โค้ดในแอปพลิเคชันของ Taobao ตรงทางเข้า ก็สามารถเลือกซื้อสินค้า และเดินออกจากร้าน ระบบก็จะตัดจ่ายเงินออนไลน์อัตโนมัติ
  • More Mall ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่จะเปิดในปีหน้า คาดว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลผู้บริโภคมหาศาลของ Alibaba โดยสินค้าที่นำมาจัดโชว์หรือจำหน่ายจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมบนเว็บไซต์ Alibaba เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นสินค้าจริง ทดลองสินค้าได้ ส่วนการสั่งซื้อและจ่ายเงินสามารถทำในโลกออนไลน์ 

มาที่ E-Commerce ฝั่งตะวันตกกันบ้าง อย่าง Amazon ก็เริ่มหันมาบุกโลกออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็น

  • ซื้อ Whole Foods Market เชนซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาทั่วสหรัฐ 466 สาขา เพื่อสร้างบริการAmazon Fresh บริการสั่งซื้อสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตและอาหารสดออนไลน์ โดยในอนาคตจะให้เป็นจุดรับสินค้าที่สั่งออนไลน์ และจุดกระจายสินค้าในการจัดส่งสินค้า
  • ร้านหนังสือ Amazon ซึ่งปัจจุบันมี 15 สาขา โดยหนังสือที่อยู่ในร้านทั้งหมดจะต้องได้รีวิวเฉลี่ย4 ดาวขึ้นไปในเว็บไซต์ Amazon ส่วนการจัดโซนหนังสือในร้านจะนำข้อมูลมาจากเว็บไซต์ Amazon เช่น หนังสือที่ผู้อ่าน Kindle อ่านจบในสามวัน อีกทั้งยังให้ส่วนลดกับลูกค้าที่เป็นสมาชิกของเว็บไซต์ Amazon ด้วย
  • Amazon Go ร้านสะดวกซื้อไฮเทค ที่ลูกค้าสามารถสแกนสินค้าผ่านแอปพลิเคชัน เมื่อหยิบสินค้าที่ต้องการครบ ก็เดินออกจากร้านได้เลย เพราะค่าใช้จ่ายสินค้าจะหักจากแอปพลิเคชันในมือถือโดยอัตโนมัติ

Offline to Online
จากข้อมูลของ ETDA ที่ระบุไว้เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2560 ว่า ธุรกิจ E-Commerce ในไทยเติบโตขึ้นเกือบ 10% ด้วยมูลค่ากว่า 2.8 ล้านล้านบาท เมื่อธุรกิจออนไลน์เติบโตไม่หยุด ธุรกิจอีกฟากฝั่งอย่างออฟไลน์ก็เลยได้รับผล

กระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถึงแม้ในปัจจุบันตัวเลขการซื้อขายผ่านธุรกิจ E-Commerce จะยังมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับตลาดค้าปลีกของประเทศ แต่จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป จึงทำให้ร้านค้าปลีกทั้งหลายถึงเวลาที่ต้องปรับตัว โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่ม Fashion & Beauty ที่ล้วนหาซื้อได้จากช่องทางออนไลน์แทบทั้งสิ้น

นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ร้านค้าปลีกชื่อดังของไทยอย่างห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล รีบปรับตัวก่อนใครและดูท่าจะไปได้สวย เพราะ Central online เว็บไซต์ที่ยกสินค้าในห้างมาไว้บนออนไลน์แบบครบครันเหมือนได้เดินห้างจริงๆ แถมยังมี The 1 Card ที่เอาแต้มมาแลกเป็นเงินได้ด้วย จนทำให้มีผู้เข้าชมกว่า 2,039,500 ครั้งต่อเดือนเลยทีเดียว

นอกจากนั้นร้านขายคอมพิวเตอร์ชื่อดังอย่าง J.I.B ก็ก้าวเข้ามาสู่ธุรกิจออนไลน์กับเขา โดยการทดลองขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทางออนไลน์ในครั้งเริ่มแรกนั้น ทำให้เขามีรายได้กว่า 800,000 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว และในปัจจุบัน J.I.B มีผู้เข้าชมกว่า 2,450,000 ครั้งต่อเดือนอีกด้วยธุรกิจ “โต” หรือ “ตัน” คุณกำหนดเองได้

เห็นได้ชัดว่า ในปัจจุบันหากการค้าขายของคุณต้องการ ‘โต’ ออนไลน์หรือออฟไลน์อย่างเดียวคงจะไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป ถ้าเป้าหมายของคุณอยู่ที่การได้ลูกค้าและรายได้ การผสมผสานการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันอาการ ‘ตัน’ ทางธุรกิจจึงถึงเวลาแล้วที่คุณจะนำOFFLINE x ONLINE ด้วยเทคนิคง่ายๆ แบบนี้

สร้างเสน่ห์ให้หน้าร้าน
ถึงเวลาที่หน้าร้านค้าปลีกจะต้องปรับเปลี่ยน นอกจากช่องทางออนไลน์แล้ว หน้าร้านยังเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าที่จะได้มาสัมผัสสินค้าจริงๆ ด้วยการแสดงให้เห็นว่าเราเข้าใจ insight ของผู้บริโภคยุคปัจจุบันและสามารถนำข้อมูลการซื้อขายบนโลกออนไลน์ของตนมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการ Free Wi-fi, การบริการปลั๊กไฟ, การจัดวางสินค้าตามความนิยมในช่องทางออนไลน์ เช่น Tesco Lotus สุขุมวิท 50 มีที่นั่งรับประทานอาหาร พร้อมจุดเสียบปลั๊กไฟและ Free Wi-fi บริการ หรือ 7 Eleven สาขาสาธิตปัญญาภิวัฒน์ มีที่ให้ลูกค้านั่งพร้อมปลั๊กไฟและช่องสำหรับเสียบ USB อีกทั้งยังมีจอ Touch Screen ดูรายการสินค้าออนไลน์โปรโมชัน หรือแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ที่สำคัญผู้ประกอบการยุคใหม่น่าจะลองหันมาใช้ระบบดูแลหน้าร้านอย่าง POS ที่สามารถช่วยเหลือในการสั่งสินค้า ดูสต๊อก การชำระเงิน การบัญชี ดูสถานะร้านในแต่ละสาขาในมือได้ตลอดเวลา รวมถึงยังมีรายงานทางการเงินเพื่อนำไปต่อยอดการวางกลยุทธ์การตลาดได้ง่ายขึ้น เช่น iget POS by CAT ระบบดูแลหน้าร้าน ที่มีบริการดูแลหลังร้านด้วยในระบบ iget M by CAT

ออนไลน์ ‘จำเป็น’ ต้องมี
สิ่งที่จำเป็นควบคู่มากับหน้าร้านเลยก็คือช่องทางออนไลน์ แม้คุณจะมีหน้าร้านที่เข้าใจผู้บริโภคเพียงใด แต่ไม่มีตัวตนบนออนไลน์คนก็หาคุณเจอยาก เพราะออนไลน์นอกจากจะสร้างรายได้ทั้งขาจรและขาประจำได้แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สร้างการรู้จักได้ดี แต่หากจะให้สร้างเว็บไซต์ออนไลน์ร้านของตนซึ่งใช้งบประมาณสูงก็คงเป็นไปได้ยาก เมื่อหันกลับมามองช่องทางอย่าง Facebook, Line หรือ Instagram แล้วก็ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่าช่องทางเหล่านี้ช่วยสร้างการรับรู้ได้เป็นอย่างดี แต่การสร้างยอดขายได้นั้น กลับเน้นไปที่เว็บไซต์ E-Commerce เสียมากกว่า เพราะเว็บไซต์เหล่านี้เป็นเสมือนแหล่งรวมร้านค้าที่ทำให้ผู้ซื้อรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิเลือกและเปรียบเทียบในหลายร้านได้ ยิ่งกว่านั้นยังเต็มไปด้วยโปรโมชันต่างๆ จำนวนมาก ตัวอย่างเว็บไซต์ E-Commerce ที่คนไทยคุ้นเคย
กันดี ได้แก่ Alibaba, Amezon, Lazada, 11 Street, Konvy, หรือ Shopee เป็นต้น ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้สามารถพาร้านตัวเองไปอยู่ได้ในทุกเว็บไซต์ที่กล่าวมา และยังมีอีกเว็บไซต์หนึ่งที่น่าจะพาร้านของคุณไปปักหมุด ซึ่งกำลังจะเปิดตัวในเดือนกันยายนนี้ คือ iget Mart by CAT

iget Mart by CAT แอปพลิเคชัน E-Commerce ที่พัฒนาด้วยฝีมือคนไทย เน้นขายของไทยๆ โดย CAT หรือ กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิต ที่เชื่อว่าจะเป็นแอปพลิเคชันที่เข้าใจคนขายและคนซื้อที่เป็นชาวไทยแบบสุดๆ ด้วยฟังก์ชันต่างๆ ที่ออกแบบมาแก้โจทย์พฤติกรรมการซื้อขายออนไลน์ของชาวไทยโดยเฉพาะ ได้แก่

- ช้อปบนมือถือง่ายมาก จากสถิติของ iPrice ผู้ให้บริการด้าน meta search ในตลาด ECommerce พบว่า คนไทยใช้มือถือในการช้อปปิ้งออนไลน์มากกว่าคอมพิวเตอร์ในสัดส่วน 79/21 ทำให้ iget Mart by CAT ออกแบบแอปพลิเคชันที่เน้นการใช้งานด้วยโทรศัพท์มือถือ ทั้งระบบการจัดการสินค้าของผู้ขายที่จัดการง่ายๆ ด้วยปลายนิ้ว ในส่วนของผู้ซื้อนั้นมีการแบ่งหมวดหมู่ โปรโมชัน ประวัติ การสั่งซื้อ หรือการจ่ายเงินที่ใช้ง่าย เข้าใจได้ทันทีเมื่อเปิดแอปพลิเคชัน
- คนขายใน iget Mart by CAT ต้องมีหน้าร้าน จากข้อมูลของ iPrice พบว่า คนไทยชอบค้นหาออนไลน์แต่ซื้อสินค้าที่ร้านค้า โดยพบว่าคนไทยมีค่า Conversion Rate (เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้า) น้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 20% เมื่อรวมกับสถิติของ ETDA ที่บอกว่าสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยปฏิเสธการซื้อสินค้าและใช้บริการออนไลน์เป็นเพราะกลัวโดนหลอก (51.1%), ไม่ได้สัมผัสหรือทดลองใช้สินค้าก่อน (39.9%), และชอบเดินเลือกซื้อสินค้าด้วยตัวเอง (31.1%) จึงทำให้ iget Mart by CAT มีกฎเกณฑ์สำหรับผู้ขายว่าจะต้องมีหน้าร้านค้าจริงจึงจะนำสินค้ามาขายได้ เพื่อให้ผู้ซื้อมั่นใจได้ว่าจะไม่โดนหลอก และหากต้องการสัมผัสสินค้าจริงหรือไปเอาสินค้าด้วยตนเองก็สามารถไปที่หน้าร้านจริงได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเพิ่มยอดขายให้กับเจ้าของร้านได้ เพราะจะทำให้ผู้ซื้อจากออนไลน์ต้องการที่จะไปหน้าร้านจริง จึงเป็นอีกช่อง
ทางสำคัญที่เจ้าของร้านจะเป็นที่รู้จักและมีรายได้ทางออฟไลน์มากขึ้นด้วย
- คืนสินค้าได้หากเกิดปัญหา จากข้อมูลของ ETDA บอกว่า ปัญหาได้สินค้าที่มีคุณภาพด้อยกว่าหรือไม่ตรงกับข้อมูลในออนไลน์คือปัญหาที่คนไทยเจอมากที่สุดถึง 52% รวมถึงยังได้รับสินค้าล่าช้ากว่ากำหนด 43.8% ทำให้ iget Mart by CAT มีระบบการคืนสินค้าขึ้นมา เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถคืนสินค้าหากไม่ตรงกับสิ่งที่โฆษณาไว้อีกทั้งยังมีระบบจัดส่งที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ด้วย
- Cloud ของไทย ความปลอดภัยเพียบ จะเห็นว่าในช่วงปีที่ผ่านมาเว็บไซต์มากมายต้องประสบปัญหาข้อมูลรั่วไหลซึ่งส่งผลเสียต่อธุรกิจทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการที่มีคลังเก็บข้อมูลในต่างประเทศนั้นมีโอกาสที่ข้อมูลจะหลุดรอดและป้องกันได้ช้ากว่า แต่สำหรับ iget Mart by CAT ที่พัฒนาโดยฝีมือคนไทย ซึ่งข้อมูลทุกส่วนจะถูกเก็บไว้ที่ Cloud ในไทย ทำให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลได้สูง อีกทั้งเมื่อเกิดปัญหาด้วยความที่พัฒนาโดยคนไทยและข้อมูลทุกอย่างก็อยู่ที่เมืองไทยจึงสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
- ไทยทำ เลยอยากให้ไทยใช้ จากเจตนาที่ต้องการสนับสนุนสินค้าและบริการไทย iget Mart by CAT จึงได้นำสินค้าไทยจำนวนมาก ทั้งสินค้า OTOP, สินค้าท้องถิ่น, สินค้าที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทย หรือ สินค้าที่ผลิตโดยคนไทย รวมถึงมีบริการจองโรงแรมและที่พักทั่วประเทศไทยที่ผ่านการคัดสรรมาดอย่างดี ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับและขยายช่องทางการขายให้กับผู้ขายหรือเจ้าของกิจการเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ซื้อมีช่องทางการซื้อสินค้าและบริการที่ไทยทำไทยใช้มากขึ้นด้วย

และในเดือนกันยายนนี้ iget Mart by CAT จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน CAT iget Market 4.0 ในวันที่ 11 - 12 กันยายน 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์รายชการเฉลิมพระเกียรติฯ ตั้งแต่เวลา 07.00 - 17.00 น. ในงานนี้จะรวบรวมร้านค้าที่อยู่ใน iget Mart by CAT มาให้ทุกคนได้เดินจับจ่ายใช้สอยกันได้โดยไม่ต้องหยิบเงินสดออกมา เพราะคุณสามารถใช้แอปพลิเคชัน iget Mart by CAT ตึ้ดๆๆ จ่ายเงิน เพียงเท่านี้ก็ได้ของกลับบ้านแบบไม่ต้องรอเวลาขนส่งอีกต่อไป ไม่เพียงเท่านั้นบอกเลยว่างานนี้มีโปรโมชันส่วนลด ของแจก ของแถมจัดเต็ม ส่วนใครที่สนใจนวัตกรรม งานนี้เขาก็มี Interactive Exhibition ให้ลองมาสัมผัสกับประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบใหม่กันด้วย

ถือเป็นอีกงานอีเว้นท์หนึ่งในเมืองไทยที่น่าจะเปิดประสบการณ์การซื้อขายแบบใหม่ได้น่าสนใจงาน หนึ่งของปีนี้เลย หากใครสนใจก็อย่าลืมไปงาน CAT iget Market 4.0 ในวันที่ 11 - 12 กันยายน 2561 ณ ลานอเนกประสงค์ อาคารรัฐประศาสนภักดี (อาคาร B) ศูนย์รายชการเฉลิมพระเกียรติฯกันนะ ส่วนใครที่อยากลองโหลดแอปพลิเคชันมาใช้ก่อนก็เข้าไปโหลดกันได้เลยที่
Android : https://goo.gl/5jzdbV
IOS : Coming Soon