เจาะชีวิต ‘คนบนแท่น’

เจาะชีวิต ‘คนบนแท่น’

 

ภาพแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติกลางทะเลที่สวยงามยามพระอาทิตย์ตกอาจเป็นภาพที่เคยผ่านตาใครหลายคนมาบ้างแต่น้อยคนนักที่จะมีโอกาสได้ไปเยือนทีมงานจุดประกายมีโอกาสได้เดินทางไปสัมผัสความยิ่งใหญ่ของแท่นกลางทะเลด้วยตาตนเองรวมถึงได้ใช้ชีวิตร่วมกับพนักงานของปตท.สผ. ที่ปฏิบัติงานบนแท่นผลิตก๊าซฯโครงการบงกชใต้ตลอด 1 สัปดาห์เต็มจึงขอนำเรื่องราวชีวิตของคนบนแท่นมาเล่าสู่กันฟัง

โครงการบงกชเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวไทยอยู่ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาราว 200 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ 1 ชั่วโมงแหล่งก๊าซฯแห่งนี้ดำเนินงานโดยบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) หรือปตท.สผ. โดยมีพนักงานหมุนเวียนกันทำงานบนแท่นแห่งนี้กว่า 300 ชีวิตปฏิบัติหน้าที่ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

ภารกิจอันท้าท้ายของพวกเขาคือการนำก๊าซธรรมชาติที่อยู่ลึกลงไปใต้พื้นน้ำและผิวโลกนับกิโลเมตรขึ้นมาผลิตเป็นพลังงานป้อนเข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง

สำหรับคนที่ทำงานบนแท่นงานของพวกเขาแตกต่างจากมนุษย์ออฟฟิศทั่วไปพนักงานส่วนใหญ่จะทำงานเป็นกะครั้งละ 21 วันต่อเนื่องทุกวันแม้เสาร์-อาทิตย์จึงทั้งหนักและกดดันแต่หลังจากนั้นจะได้หยุดรวดเดียว 21 วันที่นี่จึงเป็นเสมือนบ้านหลังที่สองเพราะครึ่งหนึ่งของชีวิตพวกเขาต้องทำงานกินอยู่และหลับนอนอยู่บนแท่นกลางทะเลแห่งนี้

เยือนแหล่งพลังงานใจกลางอ่าวไทย

แหล่งบงกชประกอบไปด้วยแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติบงกชเหนือและบงกชใต้โดยแท่นที่เรามีโอกาสได้ไปเยือนคือแท่นบงกชใต้ภาพแท่นที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้านั้นดูยิ่งใหญ่กว่าที่จินตนาการไว้จะว่าไปก็เปรียบเสมือนเมืองเล็กๆที่มีผู้คนนับร้อยทำงานและใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เมื่อทีมงานไปถึงกิตติธัชมูลศาสตร์ผู้จัดการแท่นผลิตแหล่งบงกชใต้ปตท.สผ. ต้อนรับและเล่าให้เราฟังว่าแหล่งบงกชนี้ช่วงแรกๆมีบริษัทโททาลบริษัทน้ำมันระดับโลกจากฝรั่งเศสเป็นผู้ดำเนินการและปตท.สผ.เป็นผู้ร่วมทุนต่อมาบริษัทได้พัฒนาบุคลากรเรียนรู้เทคโนโลยีและสั่งสมประสบการณ์จนกระทั่งปี 2541 ปตท.สผ. จึงได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการอย่างเต็มตัวโครงการบงกชจึงนับเป็นจุดกำเนิดของการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของประเทศไทย

“แหล่งบงกชคือโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ที่สำคัญของเราและเป็นบทพิสูจน์ถึงความสามารถของคนไทยทำให้เรามั่นใจว่าถ้าเราดำเนินการที่แหล่งนี้ได้เราทำที่ไหนก็ได้ในโลกนี้”

เป็นทั้งที่ทำงาน...และ “บ้านหลังที่สอง”

สุวิทย์กอประคองหัวหน้างานโลจิสติกส์แหล่งบงกชใต้ปตท.สผ. เป็นผู้ที่ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนบนแท่นแห่งนี้เขาบอกกับเราว่าด้วยความที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ตลอด 24 ชั่วโมงบางครั้งคนมาใหม่ๆที่ยังปรับตัวไม่ได้อาจเกิดความเครียดดังนั้นโจทย์ใหญ่ของเขาคือการทำให้ทุกคนรู้สึกว่าที่นี่คือบ้านหลังที่สองของพวกเขา

แน่นอนว่าเรื่องแรกที่ต้องดูแลคืออาหารการกินอาหารที่นี่เรียกได้ว่าเข้าขั้นอุดมสมบูรณ์เพราะมีถึงวันละ 4 มื้อได้แก่มื้อเช้ากลางวันเย็นและมื้อดึกสำหรับพนักงานกะกลางคืนทุกมื้อจะมีอาหารไทยและอาหารฝรั่งอย่างละ 3 เมนูพร้อมสลัดบาร์น้ำพริกหลายชนิดไอศกรีมขนมหวานผลไม้รวมถึงยังมีชาและกาแฟสดและเครื่องดื่มนานาชนิดอาทินมกล่องน้ำผลไม้วางเรียงรายในตู้เย็นรอให้หยิบ (ฟรี) ได้ตลอดเวลา

“เราต้องการให้ทุกคนอยู่ที่นี่อย่างมีความสุขเหมือนอยู่บ้านตัวเองเป็นอันดับแรกเพื่อไม่ให้เค้ารู้สึกคิดถึงบ้านสิ่งที่เราเข้าไปดูแลหลักๆก็จะมีเรื่องอาหารการกินอาหารที่นี่ต้องเหมือนที่บ้านทำให้กินเลย” สุวิทย์เล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี

การจัดเตรียมห้องพักที่สะดวกสบายให้พนักงานทุกคนก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันที่นี่มีห้องนอน 57 ห้องรองรับพนักงานได้ 200 คนนอนรวมได้ห้องละ 4 คนเป็นเตียง 2 ชั้นทุกห้องมีห้องน้ำในตัวมีล็อกเกอร์สำหรับเก็บเสื้อผ้าของใช้ส่วนตัวและเสื้อชูชีพที่เตรียมพร้อมไว้หากมีเหตุฉุกเฉินห้องนอนแยกหญิง-ชายและแยกโซนสำหรับพนักงานกะกลางคืนเพื่อความเป็นสัดส่วนให้ทุกคนได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

ตามติดชีวิต “คนบนแท่น”

หลังเลิกงานคนบนแท่นจะหากิจกรรมสันทนาการเพื่อผ่อนคลายก่อนเข้านอนบางคนก็ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีซึ่งแท่นพักอาศัยแห่งนี้มีอุปกรณ์กีฬาต่างๆหลายอย่างให้เลือกตามความสนใจอาทิลู่วิ่งที่ปั่นจักรยานที่ยกน้ำหนักโต๊ะสนุกเกอร์โต๊ะโกล์โต๊ะปิงปองสนามฟุตบอลขนาดย่อมหรือแม้แต่ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ด้านบนสุดยามพลบค่ำก็อาจกลายเป็นลานวิ่งหรือใครที่ชื่นชอบการดูหนังตกกลางคืนห้องอาหารก็จะกลายเป็นโฮมเธียเตอร์ด้วยภาพยนตร์ที่มีหมุนเวียนมาให้ชมเสมอๆส่วนใครที่รักในเสียงเพลงที่นี่ก็มีห้องซ้อมดนตรีที่มีเครื่องดนตรีและอุปกรณ์เครื่องเสียงต่างๆพร้อม

หรือหากใครคิดถึงครอบครัวการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถทำได้อย่างสะดวกสบาย                       

ธีระวุฒิทวิชสังข์ช่างเทคนิคชำนาญการความปลอดภัยมั่นคงอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SSHE) แหล่งบงกชใต้ปตท.สผ. เล่าว่าระยะทางไม่ใช่อุปสรรคระหว่างเขาและครอบครัว “ตัวผมเองชอบทำงานสไตล์ลุยๆอยู่แล้วผมทำงานที่นี่มา 16 ปีก่อนที่จะมีครอบครัวพอมีครอบครัวทางบ้านผมเค้าก็เข้าใจเรียกว่าทำมาตั้งแต่ยังไม่มีอินเทอร์เน็ตจนกระทั่งบริษัทพัฒนาเทคโนโลยีให้พวกเราสื่อสารกับทางครอบครัวได้ง่ายอย่างเช่น Skype หรือ Facebook ทำให้เราออนไลน์เห็นหน้าลูกได้การพูดคุยก็ง่ายขึ้น”

เช่นเดียวกับสุภณัฐบุญยิ่งสถิตเจ้าหน้าที่ระบบบริหารงานบำรุงรักษา (CMMS) แหล่งบงกชใต้ปตท.สผ. ที่เล่าถึงความรู้สึกที่ได้มาใช้ชีวิตแบนแท่นว่า “ชีวิตทำงานบนแท่นเวลาทำงานก็หนักแต่เวลาหยุดเราก็หยุดและการได้มาทำงานตรงนี้แม้เราจะเป็นฟันเฟืองเล็กๆแต่ทุกคนสำคัญถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไปก็อาจทำงานสะดุดไม่สามารถส่งก๊าซได้ก็อาจมีผลต่อประเทศดังนั้นแม้จะเป็นส่วนเล็กๆแต่เราก็รู้สึกภูมิใจ”

“ความปลอดภัย” คือหัวใจของการทำงาน

สำหรับการทำงานและใช้ชีวิตบนแท่นมาตรการด้านความปลอดภัยเป็น “กฎเหล็ก” ที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญสูงสุดไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยของตัวบุคคลและความปลอดภัยในกระบวนการผลิตก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่ทีมงานจุดประกายรู้สึกได้คือทุกคนช่วยกันดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษโดยเฉพาะกับผู้มาเยือนอย่างพวกเรากฎและนโยบายความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพราะหมายถึงความปลอดภัยของคนอื่นๆด้วยอาทิห้ามมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ห้ามจุดประกายไฟถ่ายรูปห้ามใช้แฟลชเด็ดขาด

ปีรติเมษะมานหัวหน้างานความปลอดภัยมั่นคงอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (SSHE) แหล่งบงกชใต้ปตท.สผ. เล่าว่าทุกๆเดือนแท่นบงกชใต้จะมีการซ้อมเหตุฉุกเฉินเพื่อรับมือสิ่งไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นอาทิภัยธรรมชาติไฟไหม้ฯลฯโดยมีตั้งแต่การซ้อมอพยพพนักงานซ้อมประสานงานกับสำนักงานใหญ่ไปจนถึงซ้อมการหยุดผลิตหรือ shutdown ซึ่งถึงแม้ว่าเหตุการณ์ฉุกเฉินจะยังไม่เคยเกิดขึ้นจริงก็ตามแต่เพื่อความปลอดภัยของพนักงานทุกคนและความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศจึงต้องมีแผนรับมือและเตรียมการป้องกันไว้ก่อนเสมอ

แท่นบงกชใต้มีแพทย์ประจำ 1 คนที่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลาโดยมีเครื่องมือแพทย์ยาและเวชภัณฑ์ครบครันพร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงสามารถทำการผ่าตัดเล็กและวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้โดยจะมีการประสานงานกับแพทย์ที่ประจำสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพเพื่อการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องและทันท่วงที

ปีรติเล่าว่าที่ผ่านมาที่แท่นผลิตโครงการบงกชใต้แห่งนี้ยังไม่เคยเกิดอุบัติเหตุที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานจนถึงขั้นต้องหยุดงานเลยรวมถึงยังไม่เคยมีอุบัติเหตุที่ส่งผลให้ต้องหยุดส่งก๊าซหรือกระทบต่อกระบวนการผลิตซึ่งทั้งหมดนี้ก็มาจากมาตรการด้านความปลอดภัยที่รัดกุมนั่นเอง

“เราต้องการให้พนักงานเดินทางมาทำงานและกลับบ้านอย่างปลอดภัยทุกคนกระบวนการผลิตทั้งหมดก็ต้องปลอดภัยรวมถึงต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุด”

ตลอดระยะเวลาหลายวันที่อยู่ที่นี่คนบนแท่นทุกคนทำหน้าที่เจ้าบ้านดูแลพวกเราอย่างดีตั้งแต่วันแรก

ที่ไปถึงจนกระทั่งวันที่เดินทางกลับเรายังสัมผัสได้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นแค่เพื่อนร่วมงานกันแต่เป็นเสมือนคนในครอบครัวเดียวกันที่มีความผูกพันกันนั่นก็เพราะมิตรภาพที่ดีของทุกคนที่นี่เริ่มต้นขึ้นณที่แห่งนี้เอง

ภาพของแท่นบงกชใต้ค่อยๆเลือนหายไปจากสายตาขณะที่อยู่บนเฮลิคอปเตอร์แต่สิ่งที่ไม่หายไปจากความทรงจำคือวันนี้โครงการบงกชแหล่งพลังงานที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 2 ทศวรรษแห่งนี้ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่สำคัญของประเทศไทยพร้อมกับ “คนบนแท่น” ทุกคนที่มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อเดินหน้าสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ประเทศไทยด้วยมือคนไทยต่อไป...

สัมผัสเรื่องราวและการใช้ชีวิตกลางอ่าวไทยของพวกเขาเพิ่มเติมได้ในสารคดีสั้น “เจาะชีวิตคนบนแท่น” โดยรับชมย้อนหลังได้ที่ www.facebook.com/pttepplc