กรมควบคุมโรคชวนร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ

กรมควบคุมโรคชวนร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ

กรมควบคุมโรคชวนร่วมรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 62 กับแนวคิด “บ้านเริ่ม ชุมชนร่วม: ป้องกันเด็กจมน้ำ”

การจมน้ำเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยอายุต่ำกว่า 15  ปีเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่งของทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อ และโรคไม่ติดเชื้อ จากข้อมูลเบืองต้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปีพ.ศ. 2551– 2561) พบว่ามีเด็กจมน้ำเสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง604คน/ปี หรือวันละ 2.5คน ซึ่งช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมเป็นเดือนที่เด็กจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุดเพราะตรงกับ ช่วงปิดภาคการศึกษาและช่วงฤดูร้อน กระทรวงสาธารณสุขจึงได้กำหนดให้วันเสาร์แรกของเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นวันรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ โดยในปี 2562นี้ตรงกับวันเสาร์ที่2 มีนาคม โดยพบว่าการจมน้ำเสียชีวิตของเด็ก ในช่วงปิดเทอมจะเป็นกลุ่มเด็กวัยเรียนมากที่สุด และส่วนใหญ่จะเสียชีวิตในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ โดยเด็ก มักจะชวนกันไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง และขาดทักษะการเอาชีวิตรอดและวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง สำนักโรคไม่ติดต่อ จึงได้กำหนดแนวคิด สำหรับการรณรงค์ในปี พ.ศ. 2562  คือ “บ้านเริ่ม ชุมชนร่วม:ป้องกันเด็กจมน้ำ” 

กรมควบคุมโรคขอเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมรณรงค์ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม โดยเน้น การสื่อสารในวงกว้างเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายระดับชุมชนซึ่งนับว่า เป็นกลุ่มเสียงหลัก เช่น สถานีวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว หรือรถกระจายเสียง โดยมุ่งหวังให้ครอบครัว (บ้าน) เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปลอดภัยทางน้ำ และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ โดยเน้นประเด็นดังนี 

ประเด็นสําคัญสำหรับการสื่อสาร  อย่าให้ปิดเทอมนี้เป็นปิดเทอมสุดท้ายสำหรับเด็ก  ปิดเทอมภาคฤดูร้อน 3เดือน (มี.ค.- พ.ค.) ปี พ.ศ. 2561มีเด็กจมน้ำเสียชีวิตถึง231คน(ร้อยละ 33.9ของเด็กที่จมน้ำ เสียชีวิตตลอดทั้งปี) โดยเป็นเด็กอายุ5-9ปี มากที่สุด (ร้อยละ 37.2), รองลงมา เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5ปี (ร้อยละ 35.1) เหตุการณ์การเฝ้าระวังเด็กจมน้ำช่วงปิดเทอมพบว่า ร้อยละ 80.4ของเด็กที่จมน้ำจะเสียชีวิต  เกือบครึ่งหนึ่งของเหตุการณ์ที่เฝ้าระวังเด็กจมน้ำช่วงปิดเทอม (35เหตุการณ์) พบว่าเป็นการชวนกันไปเล่นน้ำเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 2คนขึ้นไป สูงถึง 20เหตุการณ์ (ร้อยละ 53.1)   ในจำนวนเหตุการณ์ที่เด็กชวนกันไปเล่นน้ำตั้งแต่ 2คนขึ้นไป พบว่าครึ่งหนึ่งเสียชีวิตพร้อมกันตั้งแต่ 2คนขึ้นไป โดยพบว่า ส่วนใหญ่ขาดทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำและไม่รู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ในปีที่ผ่านมา (ปี พ.ศ. 2561) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี จมน้ำเสียชีวิต 681คน(0-4ปี= 266คน, 5-9ปี= 251คน, 10-14ปี= 164คน)  แหล่งน้ำที่เด็กจมน้ำมากที่สุด คือ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ (ร้อยละ 31.6) 

โดยมีข้อแนะนำดังนี้

1. ตกน้ำ อย่าตกใจ “ตั้งสติ ลอยตัวไว้”2. เด็กโต: ช่วยเพื่อนตกน้ำปลอดภัยใช้ “ตะโกน โยน ยื่น”3. เด็กเล็ก: ผู้ปกครองห่วงใย สอนเด็ก “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และอย่าลืมหา “พื้นที่เล่นให้ปลอดภัย: คอกกันเด็ก เป็นต้น