กสทช. และ ITU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

กสทช. และ ITU จัดประชุมเชิงปฏิบัติการยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC ประจำปี พ.ศ.2561 (COE 2018) ระหว่างวันที่   3 – 6 กันยายน 2561  

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธานเปิดงานประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการกำกับดูแลภายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ระหว่างสำนักงาน กสทช. และ ITU ภายใต้กรอบการประชุมใหญ่ WTDC ประจำปี พ.ศ. 2561 (COE 2018) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) โดยในโครงการความร่วมมือดังกล่าว ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “Distributed Ledger Technologies (Blockchain) Ecosystem and Decentralization” ในระหว่างวันที่   3 – 6 กันยายน 2561  

โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และ ITU ในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือของแต่ละภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ในยุคดิจิทัล ผลักดันให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศในการพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภายในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก อีกทั้งจะเป็นกลไกสำคัญของสำนักงาน กสทช. ในการสร้างความร่วมมือในระดับสากลเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนาภายในภูมิภาค ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก

พร้อมทั้งมีความสอดรับการแนวนโยบายของรัฐบาลที่จะผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยการลดต้นทุน ลดระยะเวลา เพิ่มช่องทางการค้าและก่อให้เกิดสินค้าและบริการใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเพื่อนำสังคมไปสู่การเป็นสังคมอัจฉริยะ (Smart City) ต่อไป นอกจากนี้ การเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในเรื่อง Distributed Ledger Technologies (Blockchain) Ecosystem and Decentralization ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแนวคิด Thailand 4.0 ได้อย่างหลากหลาย

เนื่องจากเทคโนโลยี Blockchain ช่วยในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลและการปลอมแปลงข้อมูลที่ทำได้ยาก มีความโปร่งใสที่สามารถตรวจสอบได้ แต่ยังคงมีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน     ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่เสถียรและมีศักยภาพมากพอที่จะรองรับการนำเทคโนโลยี Blockchain ไปประยุกต์ใช้กับงานให้สัมฤทธิ์ผล  อนึ่ง สำนักงาน กสทช. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลด้านโทรคมนาคมจึงต้องมีส่วนร่วมในการผลักดันในเรื่องนี้ด้วยไม่มากก็น้อย                                                 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ :

คุณปาริชาติ  สุวรรณ์ (ปุ้ม)  มือถือ 081-668-9239 อีเมล์: [email protected]

คุณพีรณัฐ วงศ์ชัยสัมฤทธิ์ (โม่) มือถือ 087-700-1452 อีเมล์: [email protected]