สังคมสูงวัยกับยุค Thailand 4.0

สังคมสูงวัยกับยุค Thailand 4.0

 

สังคมสูงวัยกับยุค Thailand 4.0 จำเป็นต้องพัฒนาผู้สูงอายุให้แข็งแรงแข็งแกร่งทางด้านอารมณ์  โดยมีมุมมองแนวคิดจาก ผู้เชี่ยวชาญกับกลุ่มสังคมผู้สูงวัยจาก  ดร.วีรณัฐ โรจนประภา นายกสมาคมบ้านปันรัก มาเล่าถึงความเป็นสมาคมที่ออกแบบมาเพื่อชุมชนนิยม เน้นการให้การศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง คอมพิวเตอร์ ออนไลน์ เป็นสังคมศูนย์รวมผู้สูงวัยที่ห่วงใยใส่ใจกันและกัน  จำแนกเป็น3 องค์กร ในสถานที่เดียวกัน  เพื่อขับเคลื่อนพลังผู้สูงอายุในยุคนี้

1. มูลนิธิบ้านอารีย์ เน้นความสุขนิยมทางจิตใจ การอุทิศเพื่อพุทธศาสนา และบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่ชุมชน หรือสังคม โดยจะมีกิจกรรมฟังเทศน์ ฟังธรรม ดำเนินงานเพื่อให้มีการสร้างสาธารณประโยชน์อย่างสูงสุดเพื่อผู้สูงวัย

2. สมาคมบ้านปันรัก เป็นชุมชนนิยมตั้งบนความพอเพียง และไม่ได้ต้อนรับเพียงผู้สูงวัยเท่านั้น แต่สามารถต้อนรับผู้ใผ่รู้ใฝ่เรียนทุกท่าน หรือ องค์กรที่อยากทำอะไรคืนกับสังคม เพื่อรวมความเป็นชุมชน สังคมผู้สูงวัย แบบแท้จริง

3. บริษัท คิดใหม่ จำกัด ก่อตั้งเพื่อสร้างความรู้แนวทางธุรกิจที่เกิดประโยชน์เพื่อสังคม และเป็นองค์กรที่มีส่วนด้านการหารายได้เพื่อสนับสนุนทางตรงและทางอ้อมของ เครือข่ายอีก2 ที่กล่าวมาแล้ว เน้นการเรียนการสอน และปรับตัวสู่ การตลาดกับโลกโซเชียล (Social Enterprise)

ในการทำงานของสมาคมบ้านปันรัก จุดเริ่มต้น ดร.วีรณัฐ เท้าความถึงจุดประสงค์ในการก่อตั้ง “ มีการก่อตั้งมูลนิธิอารีย์  บริษัท คิดใหม่ จำกัด และ มาถึงการทำงาน ของ สมาคมบ้านปันรัก ที่พร้อมต้อนรับกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 55ปีขึ้นไป ให้ได้มีสถานที่ สามารถมีกิจกรรมร่วมกัน เปิดการเรียนการสอน ในแต่ละวัน มีกว่า 30วิชา โดยทางผู้สนใจ หรือ อาสาสมัครจากองค์กรต่างๆ เข้ามาทำการสอน หรือมี วิทยากร สลับคิวกันมาเพื่อให้ความรู้  มีทั้ง ภาครัฐ และ องค์กรเอกชนต่างให้ความสนใจ กับ สังคมผู้สูงอายุ จึงมีการจัดกิจกรรมของสมาคมบ้านปันรักเน้นการจัดการศึกษาเพื่อผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมในเทรนด์ของสังคมดิจิตอล ยุคนี้คงหนีไม่พ้น การใช้ สมารท์โฟน และ ช่องทางการสื่อสาร โซเชียล และ คอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรที่ผู้สูงอายุต้องการเรียนรู้ และตอบรับเข้ามาศึกษามากมาย เพราะ เชื่อมั่นว่า หัวใจยังมีไฟและไม่อยากพลาดการติดต่อสื่อสารกับคนในยุคดิจิตอล แต่ ในการให้ผู้สูงอายุใช้สมารท์โฟน มีข้อควรระวังหลายอย่าง เช่น กลุ่มการทำธุรกรรมทางการเงิน และการ เซนต์เอกสารสัญญาต่างๆ ผ่าน อีเมล์ หรือ ในแง่ของกฎหมายทั้งหมด จึงจำเป็นที่จะต้องค่อยเป็นค่อยไป กับหลักสูตรดิจิตอล สมารท์โฟน ช่องทางออนไลน์ ทั้งหมด”

เมื่อกล่าวถึงความกังวลในจิตใจของผู้สูงอายุในยุคนี้นั้น ดร.วีรณัฐ กล่าวว่า “ เหล่าผู้สูงอายุที่มีครอบครัวใหญ่ และ มีลูกหลานเยอะ มักมีปัญหาในการจัดการเรื่องทรัพย์สินมากที่สุด เพราะ การแบ่งทรัพย์สินให้กับครอบครัว หรือลูก ค่อนข้างเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุในการเลือกจัดการ จึงมีการจัดทนายอาสา เข้ามาดูแลและสอนเรื่องเอกสารที่เกี่ยวกับพินัยกรรม เพื่อให้การจัดสรรปันส่วนเรื่องธุรกรรม ทรัพย์สิน ของผู้สูงอายุไม่เป็นเรื่องน่ากังวล เราจึงให้ความสำคัญและการเรียนรู้ตรงนี้”

มุมมองของการใช้โซเชียลกับผุ้สูงอายุ ดร.วีรณัฐกล่าวว่า “ เชื่อผมสิ...ว่าทุกครั้งที่ไลน์ หรือ โซเชียลที่ท่านสมัครไว้มีเสียงแจ้งเตือนบนจอมือถือของท่าน  ความสุขของการใช้ชีวิตมันน้อยลง  เพราะเราให้ความสำคัญกับเครื่องตรงหน้ามากกว่าผู้คนที่นั่งอยู่ข้างคุณเสียอีก” ดังนั้นจึงเน้นให้ความสำคัญในการให้ความอบอุ่น ให้การพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ กับครอบครัวและคนรอบข้าง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีที่ยืนที่ครบ ถ้วนทั่ว ไม่ต้องกลัวการแบ่งแยกสังคม เพราะใกล้ถึง ยุคที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ในการคาดการณ์มุมมองของ ดร.วีรณัฐ โรจนประภา นั้น มองว่า อีก5-7 ปี ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างแท้จริง

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สมาคมบ้านปันรักจัดตั้งขึ้น เน้นเพื่อให้เกิดการเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ของตัวเอง เพื่อมอบความรู้ แบ่งปันวิชาที่มีประโยชน์ในทุกด้าน และ เป็นกำลังใจให้กันและกัน ให้มองสังคมผู้สูงอายุเป็นสังคมที่แข็งแรง และ สามารถเป็นที่ปรึกษาให้กับคนรุ่นหลังได้อย่างยอดเยี่ยม