ทีเอ็มบี ชู อี-เพย์เม้นท์ โซลูชั่น

ทีเอ็มบี ชู อี-เพย์เม้นท์ โซลูชั่น

 

ทีเอ็มบี ชู อี-เพย์เม้นท์ โซลูชั่น หนุนลูกค้าธุรกิจรับเศรษฐกิจดิจิทัล

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังก้าวผ่านสู่สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)  หลังกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลมีบทบาทเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมไทยอีกหนึ่งในกลยุทธ์ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย คือการติดอาวุธทางปัญญาหรือความรู้เพื่อให้ทันความเปลี่ยนแปลงของโลก และก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างมั่นใจและปลอดภัย

ในงานสัมมนา “พลิกธุรกิจ ก้าวสู่เศรษฐกิจติจิทัล2017” ซึ่งจัดโดยธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) หรือทีเอ็มบีจึงเป็นอีกโอกาสในการช่วยเสริมทัพความแกร่งให้ผู้ประกอบการไทยได้เข้าใจและรับทราบเกี่ยวกับการผลักดันนโยบายของภาครัฐในเรื่องNational e-Payment หรือระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ซึ่งกำลังจะเริ่มใช้และมีบทบาทสำคัญในการพลิกโฉมระบบธุรกรรมการเงินของประเทศตลอดจนสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่Digital Economy ในยุค Thailand 4.0

โดยเชื่อว่าความรู้ดังกล่าวอาจมีส่วนเสริมพลังความคิดผู้ประกอบการไทยให้มองเห็นโอกาสและสามารถต่อยอดธุรกิจด้วยเครื่องมือทางการเงินในอนาคต

 

“ดิจิทัล” เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

เริ่มต้นด้วยการเปิดมุมมองจาก นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี ที่สะท้อนภาพรวมและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังเดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีที่มาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและดิจิทัลที่เริ่มมีบทบาทในชีวิตประจำวันคนทั่วโลก

โดยกล่าวว่าเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ มีแนวโน้มก้าวสู่สังคมดิจิทัลมากขึ้นจากความนิยมแพร่หลายของ Mobile Device Technology ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ รวมถึงในประเทศไทยโดยจากข้อมูลสมาคมธนาคารไทยในปี 2558 ประเทศไทยมีปริมาณการชำระเงิน 193 ล้านล้านบาท เป็นการชำระผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ร้อยละ30 อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันไทยยังอยู่ในระยะการปรับเข้าสู่เศรษฐกิจฐานดิจิทัล ซึ่งทีเอ็มบีคาดการณ์ว่าในปี 2568 ไทยจะมีปริมาณการชำระเงินทั้งหมด 315 ล้านล้านบาท และเป็นการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ถึงร้อยละ 53 ซึ่งส่วนหนึ่งมีปัจจัยมาจากการสนับสนุนด้านนโยบายของภาครัฐที่มีกฏหมายต่างๆ ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคที่ให้การยอมรับมากขึ้น

“ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ภาคการเงินการธนาคารได้มองเห็นและมีการเตรียมตัวมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันธุรกิจธนาคารถูก Digitize ไปแล้ว แต่สิ่งที่ยังไม่เปลี่ยนอีกอย่างเดียวคือพฤติกรรมของลูกค้า”

เขากล่าวต่อว่าสิ่งที่ธนาคารให้ความสำคัญมากคือการสร้างช่องทางใหม่ เช่น โมบายล์แบ็งกิ้ง เพราะจากการได้เฝ้าดูพฤติกรรมในปีเดียว พบว่าผู้ใช้เพิ่มขึ้นถึง 200% ปีแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อี-คอมเมิร์ซช่วยอี-เพย์เมนท์ อี-เพย์เมนท์ช่วยอี-คอมเมิร์ซ

ต่อด้วยบทวิเคราะห์เชิงลึก ของ ดร. เบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และหัวหน้านักวิเคราะห์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี ที่ร่วมตอกย้ำถึงเศรษฐกิจไทยกำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญคือนโยบายการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตัลของภาครัฐ รวมถึงการมาของระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือเนชั่นแนล อี-เพย์เมนท์ ที่จะช่วยเพิ่มความสะดวกและลดต้นทุนทางการเงิน และสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)ในไทยให้ขยายตัวต่อเนื่อง

“แต่ในปัจจุบันระบบค้าปลีกของไทยยังมีสัดส่วนของอี-คอมเมิร์สเพียงร้อยละ 4 ของค้าปลีกรวม  ขณะที่ผู้บริโภคไทยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้วิธีชำเงินผ่านการโอนเงินผ่านตู้หรือสาขา มากกว่าชำระผ่านอี-เพย์เมนท์ ถึงร้อยละ 70”

อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่า การที่ภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้อี-เพย์เมนท์มากขึ้น จะเป็นการเชื่อมโยงทั้งระบบ และผลักดันให้ประชาชนหันมาใช้บริการมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้อีคอมเมิร์ซและอี-เพย์เมนท์ขยายตัว และยังเชื่อว่าในช่วง 5 – 10 ปีต่อจากนี้ อี-เพย์เมนท์จะมีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ซึ่งจะทำให้อี-คอมเมิร์ซขยายตัวตาม ธุรกิจที่มองว่าน่าจะเติบโตสูงสุด คือธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว รองลงมาเป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ ไปจนถึงสินค้าเสื้อผ้าแฟชั่น

“ระบบอีเพย์เมนท์จะเป็นตัวตัดสิน เราจะเห็นว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคที่เป็นดิจิตัล อีโคโนมีมากขึ้น ซึ่งในสี่ถึงห้าปีข้างหน้า แน่นอนว่าจำนวนอินเตอร์เน็ตยูสเซอร์จะขยายมากกว่าปัจจุบัน แต่ขึ้นอยู่ที่ว่าเขาจะใช้อย่างไร แต่โจทย์ของเราตอนนี้ คืออยากให้เขาใช้ในกิจกรรมที่มี Productivity มาช่วยในด้านธุรกิจและการค้ามากขึ้น”

 

National e-Payment ช่วยลูกค้าธุรกิจลดต้นทุน

ด้าน นายณพงศ์ธวัช โพธิกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายระบบการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทยตัวแทนภาครัฐชี้แจงว่า รัฐบาลมีวัตถุประสงค์หลักคือการสร้างระบบ e-Paymentให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน จึงนำมาสู่ นโยบายผลักดัน National e-Payment ในวันนี้

“สิ่งที่ภาครัฐทำก็คือการผลักดันให้เกิดการใช้ระบบ e-Payment ในภาคประชาชนอย่างแพร่หลาย โดยที่ผ่านมารัฐบาลมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมการเงินสูงคือประมาณ 2 หมื่นล้านบาท แต่จากนโยบายของรัฐในการพยายามเปลี่ยนระบบการชำระเงินมาสู่ Digital e-Payment จะเป็นประโยชน์ทั้งระบบ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ จะเป็นการช่วยลดต้นทุนธุรกิจค่อนข้างมาก ทั้งด้านเอกสาร ต้นทุนกระดาษต่างๆ ที่จะลดลง และภาคประชาชนจะได้รับจากการใช้ e-Payment สร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจ ด้วยเทคโนโลยีที่รองรับมีความสะดวก”

อี-เพย์เมนท์ ก้าวสำคัญสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

เสริมแนวคิดดังกล่าวจากภาคเอกชนนายยศ กิมสวัสดิ์ ประธานสำนักระบบการชำระเงิน สมาคมธนาคารไทยกล่าวถึงการสนับสนุนและการเตรียมความพร้อมของสถาบันการเงินไทยกับนโยบาย National e-Payment ว่ายังเป็นระบบที่ช่วยให้การส่งเสริมความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งยังเป็นตัวผลักดันให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลเต็มตัวและทำให้เกิดโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต

โดยภาคเอกชนให้ความสำคัญและมีความมั่นใจในการใช้บริการ Digital e-Payment การใช้พร้อมเพย์ รวมถึงสถาบันการเงินและธนาคารไทยเองมีการปรับตัว และยังมีการวางแผนการลงทุนในการด้านเทคโนโลยีด้านธุรกรรมการเงินต่างๆ ในอนาคต เพื่อจะช่วยรองรับการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจในสังคม Digital Economy

“ในส่วนภาคธุรกิจ National e-Payment นั้นจะช่วยลูกค้าธุรกิจได้มาก ตั้งแต่การลดขั้นตอน ลดต้นทุนการจัดการเงินสด และเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่องค์กรอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้นถ้าเราไม่มีการวางแผนที่ชัดเจน การพัฒนาก็จะไปได้ไม่ดี ซึ่งเราต้องการความสะดวกในการทำธุรกรรมที่ดีขึ้น ที่จะช่วยให้ลูกค้าธุรกิจทำงานได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องมีกระดาษ ในมุมมองของภาคธนาคารเราจึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุน”

 

อี-เพย์เมนท์ ยกระดับภาคการเงินทั้งระบบ

นายรัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกรรมทางการเงินภายในประเทศ ทีเอ็มบี  กล่าวว่า จากการที่ทีเอ็มบีเป็นธนาคารแรกๆ ที่ให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับบริการทางการเงินด้วยช่องทางดิจิทัลมาโดยตลอด ธนาคารมีแนวโน้มพัฒนาการบริการที่จะออกมารองรับ National e-Payment ในทุกด้าน

“ปัจจุบันทีเอ็มบีมีการเตรียมความพร้อมใน 2 ส่วนสำคัญ เพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว ได้แก่ 1. การเตรียมด้านบุคลากร ธนาคารได้มีการสร้างทีมพิเศษที่จะมาร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในด้านe-payment ให้กับลูกค้าโดยใช้agile methodology ซึ่งเป็นวิธีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่FinTech นิยมใช้กันเพื่อสามารถให้ส่งมอบ feature ใหม่ๆให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น และ 2. ธนาคารได้ปรับตัวในเรื่องระบบของธนาคารมาอย่างต่อเนื่อง  โดยมีเป้าหมายหลัก คือการรองรับความพร้อมการให้บริการในโครงการ National e-Payment เช่น บริการพร้อมเพย์ที่กำลังเปิดบริการอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมนี้สำหรับนิติบุคคล ทีเอ็มบีมีความพร้อมทั้งในส่วนให้นิติบุคคลลงทะเบียนและทำการจ่ายเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ และได้มีแคมเปญพิเศษเพื่อช่วยกระตุ้นการใช้e-payment โดนมีอัตราค่าธรรมเนียมพิเศษซึ่งจะเป็นการช่วยให้ลูกค้าลดต้นทุนการดำเนินงานและลดต้นทุนในการบริหารเงินสดพร้อมเพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบเข้ารหัสป้องกันการ hack ให้กับทางลูกค้าด้วย

และอีกบริการหนึ่งที่ทางทีเอ็มบีได้เดินหน้าแล้วคือการให้ผู้ประกอบการเพิ่มช่องทางในการขายมากขึ้นผ่านการบริการรับชำระเงินผ่านเครื่องรับบัตร ทางทีเอ็มบีได้มีออกแคมเปญพิเศษเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการติดตั้งเครื่องรับบัตรอีดีซีพร้อมรับสิทธิพิเศษอื่นๆในด้านการทำธุรกรรมทางการเงินจากทีเอ็มบีหากนิติบุคคลใดสนใจบริการหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้ดูแลบัญชีหรือทีเอ็มบี Corporate Call Center โทร 02-643-7000”  นายรัชกรกล่าว