หลักการสร้าง 'ปรองดอง' ในมุมมอง 'จันจิรา สมบัติพูนศิริ'

หลักการสร้าง 'ปรองดอง' ในมุมมอง 'จันจิรา สมบัติพูนศิริ'

(รายงาน) หลักการสร้าง “ปรองดอง” ในมุมมอง “จันจิรา สมบัติพูนศิริ”

สันติภาพและความปรองดอง เป็นสิ่งที่คนไทยกำลังเดินไปหาและต้องการทำให้เกิดขึ้นจริง แต่สังคมไทย ยังเป็นสังคมที่ไม่ค่อยจะยอมรับหรือเข้าใจความเห็นต่างในความต้องการของสังคมชนบท เมื่อยังเป็นเช่นนี้ เราจะไปถึงฝั่งฝันความปรองดองได้จริงหรือ


นางสาวจันจิรา สมบัติพูนศิริ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ รายการ Business Talk สถานีโทรทัศน์ดิจิทัล NOW ช่อง 26 ว่า คนทั่วไปชอบมีความเข้าใจว่า สันติวิธี คือวิธีที่ใช่แล้วความมีความสุข สันติวิธีคือ ไม่ทะเลาะกัน รักกัน จริงๆ แล้วผิดทุกอย่าง


ความหมายที่แท้จริงของสันติวิธีคือ อนุญาตให้คนมาทะเลาะกันแบบไม่นองเลือด เวลาบอกทะเลาะคนไทยชอบตกใจ เช่น คุยกับคนทั่วๆไป หรือข้าราชการ เวลาพูดอะไรมาแล้ว ฉันบอกไม่เห็นด้วย ทำหน้าตกใจเหมือนเห็นผี อันนี้คือความเข้าใจของคนไทยทั่วไป


ในเรื่องสันติวิธีและสันติภาพ ความหมายที่ฉันแปลออกมา คือ ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง หมายความว่า คือเครื่องมือที่ให้คนใช้ปรับอำนาจเวลาทะเลาะกัน ฉะนั้นเวลาทะเลาะกัน ตีกัน ทำให้คุณไม่มีอำนาจ ไม่สามารถต่อรองได้ ฉะนั้น สันติวิธีคือเครื่องมือที่สร้างความกดดันอีกฝ่าย เพื่อให้สนองความต้องการของคุณ


O ถ้าเป็นความรุนแรงด้วยวาจาไม่เป็นไร
คิดว่าการนิยามแบบขั้นต่ำสุดทางกายภาพ อันนี้เป็นคำนิกายในแบบมนุษย์ เพราะเราไม่ใช่พระ เราจะต้องมาห้ามฆ่าสัตว์ นั่งกินเจ จึงจะใช้สันติวิธีได้ แต่ว่าคุณเชื่อว่าปฏิบัติการไร้ความรุนแรง คือ วิธีการที่คนธรรมดาๆ สามารถใช้กันได้ ไม่ให้มีการทะเลาะ เช่น หากทะเลาะกับแม่ ก็อดอาหารประท้วง แม่ก็จะห่วงคุณมาก เพราะคุณไม่กินข้าว แม่คุณก็จะรู้สึกเศร้าไปกว่าเดิม


เธอตั้งคำถามว่า การพูดจาแบบกร้าวร้าว หยาบคาย หรือทำให้เกิดความเกลียดชัง ในตำราที่้เรียนมา การด่านั้น เป็นสันติวิธี แต่ด่าแบบไหนถึงไม่เป็นสันติวิธี เช่น ด่าแบบขู่ว่าพรุ่งนี้จะไประเบิดบ้าน เหยียดเพศ หรือคนเป็นสัตว์ ทั้งหมดนี้นำไปสู่การฆ่ากัน การฆ่ากันมีต้นทุน คุณต้องรู้สึกว่า ถูกเหยียดหยาม ต้องรู้สึกอะไรกับการไม่มีศักดิ์ศรี


เรามักคิดว่า ในครอบครัวเรารักกันไม่มีความขัดแย้ง จริงๆ แล้วเป็นสถาบันที่มีความขัดแย้งสู้กันมากที่สุด เพราะฉะนั้นการปะทะกันของอำนาจ ก็เริ่มในบ้าน


สำหรับนักรัฐศาสตร์หลายคน การเมืองก็คือเรื่องในบ้านด้วย เวลาที่ปะทะกันทางอำนาจ และมีการต่อรองทางอำนาจ การที่เราต่อรองทางอำนาจไม่ได้หมายความว่า เราหมดอำนาจ แต่พ่อแม่ก็ต้องเคารพสิทธิของลูก เพราะเราอยู่ในสังคมที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานของสังคม เช่น การบังคับแต่งงาน จริงอยู่ที่ในยุคสมัยหนึ่งอาจจะทำได้ แต่สมัยนี้ต้องมีการต่อรอง การจับคลุมถุงชนเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เราต้องต่อรอง ไม่ใช่เราจะไม่รับข้อเสนอ แต่ต้องมีการพูดคุย

Oจะทำให้คนปรองดองกันทำอย่างไรดี
ต้องพูดในเรื่องวิธีการกระบวนการปรองดองก่อน ซึ่งมีอยู่ 2-3 อย่าง อย่างแรกคือ การพูดความจริง อย่างที่ 2 ใช้สันติวิธี และสุดท้ายใช้ความยุติธรรม ในเรื่องการพูดเรื่องความจริงหรือความยุติธรรม จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีการอนุญาตให้คนได้พูดออกมา การให้พูดคือการยอมรับความผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา หมายความว่า การกดดันให้คนไม่พูดเป็นไปไม่ได้

Oคนไม่พูด แต่ในใจปรองดองได้ไหม
เวลาคนไม่พูดนั้น ก็จะไปพูดในที่ลับ คนก็จะแอบคุยกันในโลกโซเชี่ยลที่รัฐบาลเข้าไม่ถึง ไม่มีหรอกคนจะไม่พูด เพียงแต่เขาไปพูดกันในที่ที่เราไม่รู้มากกว่า
ถามว่าทำแบบนี้ เหมือนคุณเอาเศษขยะไปใส่ในกล่องแล้วก็กดลงไป จนถึงวันหนึ่งของเหล่านี้ก็จะล้นออกมา ความปรองดองที่พูดกันจะเริ่มได้ก็ต่อเมื่อรัฐบาลเปลี่ยนเป็นรัฐบาลพลเรือนแล้วเท่านั้น

Oใช้เวลานานไหมกว่าที่สังคมจะปรองดอง
นานแน่นอน แบบม้วนเดียวจบ ของพวกนี้ยากมาก เพราะองค์ประกอบสังคมประกอบด้วยคนร้อยพ่อพันแม่ กลุ่มที่ยอมรับข้อตกลงของรัฐบาล แล้วมีการกีดกันคนกลุ่มเล็กที่ไม่เห็นด้วยออกไป กลุ่มเหล่านี้จะกลับมาแล้วทำให้กระบวนการสันติภาพมีปัญหา เรื่องที่ใหญ่กว่ากลไกรัฐบาล คือความเห็นของสังคม ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติก็เริ่มต้นการทำปรองดองยาก หากจะเริ่มก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงความคิดว่า คนกลุ่มหนึ่งไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เป็นเพียงประชาชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น


อย่างเช่นกระบวนการพูดคุยสันติภาพในสามจังหวัดใต้ คนที่ไม่ชอบกลุ่มมุสลิม ก็จะมองว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ไปคุยกับโจรทำไม ปัญหาว่า คนแบบนี้ ไม่รู้ว่าการที่พูดแบบนี้ออกไปทำให้คนในพื้นที่ไม่ปลอดภัยมากขึ้น และไปขัดขวางกระบวนการสันติภาพ และทำให้กลุ่มใช้ความรุนแรงที่ไม่ใช่คู่เจรจาโดยตรง ก็จะก่อความรุนแรงมากขึ้น เพื่อเรียกร้องความสนใจ