ครม. มีมติรับทราบผลการดำเนินการสิทธิของมารดา กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด

ครม. มีมติรับทราบผลการดำเนินการสิทธิของมารดา กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด

ครม. มีมติรับทราบผลการดำเนินการในภาพรวมในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิของมารดา ในช่วงระหว่างก่อน และหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9)

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (27 กุมภาพันธ์ 2567) มีมติรับทราบตามที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้เสนอสรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวมของหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง สิทธิของมารดา ในช่วงระหว่างก่อน และหลังการคลอดบุตร กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) มาเพื่อดำเนินการ

ครม. มีมติรับทราบผลการดำเนินการสิทธิของมารดา กรณีการบริโภคโฟลิก เอซิด

สธ. ได้รวบรวมและสรุปผลพิจารณา ในภาพรวม สรุปดังนี้

1. การผลักดันเรื่องการป้องกันความพิการแต่กำเนิดเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ : สธ. เป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนานโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการป้องกันความพิการแต่กำเนิดในระดับชาติ โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ

2. การจัดให้มี คกก. ขับเคลื่อนบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน : สธ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนแผนงานระดับประเทศในการดูแลรักษาและป้องกันเด็กพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างจัดทำคำสั่ง สธ. เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและกรดโฟลิก อีกด้วย

3. การผลักดันให้มีการจัดทำกฎหมายสิทธิของมารดาในช่วงระหว่างก่อน และหลังการคลอดบุตร : สปสช. กำหนดให้มีรายการเพื่อป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และลดความพิการแต่กำเนิดอยู่ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

4. การสนับสนุนงบฯ ในด้านการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว : สธ. และ สสส. ได้จัดสรรงบฯ และหาแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยเกี่ยวกับวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) รวมทั้งสนับสนุนโครงการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ

5. การให้หน่วยงานของรัฐบูรณาการความร่วมมือในการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และมารดาในช่วงระหว่างก่อน และหลังการคลอดบุตรทราบถึงประโยชน์ของโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) : สธ. ได้รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและประโยชน์ของการได้รับบริการยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) ศธ. จัดทำกรอบหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาการเรียนรู้ด้านสุขศึกษาแก่เยาวชนทุกระดับ รง. สนับสนุนการบูรณาการการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวในสถานประกอบการและกำกับ ดูแล และส่งเสริมให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

6. การเร่งรัดดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพเข้าสู่ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ (HDC) : สธ. พัฒนาระบบเฝ้าระวังความพิการแต่กำเนิดระดับประเทศจากแหล่งข้อมูลความพิการแต่กำเนิดที่เก็บรวบรวมข้อมูลจาก รพ. สังกัด สธ. ทั่วประเทศ

7. การให้มีการอบรมให้ความรู้แก่ อสม. เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน : สธ. ได้ผลิตสื่อสำหรับ อสม. เพื่อใช้สื่อสารและติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาทักษะและให้คำปรึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์และความสำคัญของการได้รับวิตามินโฟลิก เอซิด (วิตามิน B9) แก่ อสม.

8. ให้ทุกจังหวัดให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันความพิการแต่กำเนิด

9.ให้ สธ. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีจำหวัดนำร่องเรื่องการป้องกันความพิการแต่กำเนิด : ใน 2 ข่อสุดท้ายนี้ สธ. อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มท. เพื่อพิจารณาหารือต่อไป