'หมอมิ้ง' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

'หมอมิ้ง' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

'หมอมิ้ง' เลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจง 5 ข้อ ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' 10,000 บาท

วันที่ 19 มกราคม 2567 นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์รายการ 'เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand' ยืนยันหลักการและเหตุผลของโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน 'ดิจิทัลวอลเล็ต' มุ่งที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาฟื้นตัว เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยขณะนี้ยังอยู่ในวิกฤต ดังที่เห็นจากการที่ไทยฟื้นตัวช้าที่สุดจากการระบาดของโควิด-19 เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และตัวเลขหนี้สินครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 91.6 ของ GDP ซึ่งโครงการนี้จะช่วยแก้วิกฤตด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายของประชาชน ทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ ไปพร้อมกับการที่รัฐบาลจะเดินหน้าในการยกระดับเศรษฐกิจไทยต่อไป

 

 

1. หลักการสำคัญของ Digital Wallet คือการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลไม่ได้มุ่งทำให้คนด้านบนดีขึ้น เพราะการเติมเงินครั้งนี้จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรงถึงคนข้างล่าง โดยเป็นเรื่องปกติของการทำงบประมาณที่มีการกู้ ซึ่งถือเป็นการบริหารจัดการ เมื่อเราเข้ามาเป็นรัฐบาลและมีข้อจำกัดในหลายช่องทางของงบประมาณ รัฐบาลจึงทำให้ชัดผ่านการออกกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนพิจารณาตามกระบวนการ

 

2. ในกรณีที่มีการตั้งคำถามเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจ และกรณีที่มีเอกสารของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เผยแพร่ออกมาอย่างไม่เป็นทางการ อ้างถึงนิยามวิกฤตของธนาคารโลกที่อาจมองได้ว่าประเทศไทยยังไม่วิกฤต จึงอาจส่งผลต่อการกู้เงินของรัฐบาลนั้น หากใช้คำจาก ดร.วีรพงษ์ รามางกูร จะบอกว่าเราอยู่ใน 'ภาวะกบต้ม' ซึ่งหมายความว่า ขณะกบตัวนี้ถูกค่อย ๆ ต้มอย่างต่อเนื่องแล้วไม่โดดหนี กว่าจะรู้ตัวก็ตายแล้ว ซึ่งนักวิชาการอเมริกันอีกท่านคือ โนเอล ทิกี้ (Noel Tichy) นิยามไว้เช่นกัน และเมื่อเทียบกับภูมิภาค เราก็แย่กว่าทุกประเทศ​ จึงอยากชี้แจงด้วยตัวเลขต่าง ๆ ว่า

 

  • เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มตกต่ำชัดเจนตั้งแต่ก่อนช่วงโควิด-19 ดังที่เห็นว่าการเติบโตของ GDP ตกลงอย่างต่อเนื่อง จากเฉลี่ย 7.3% ในช่วงปี 1994-1996 สู่ 5.2% ในปี 1999-2007 และ 3.6% ในปี 2010-2019

 

  • ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การติดต่อต่างต่างประเทศและการลงทุนมีน้อยลง ทำให้การเติบโตของการลงทุนมีอัตราที่ต่ำกว่าการเติบโตของ GDP

 

 

  • ช่วงการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทยตกต่ำมากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคและฟื้นตัวช้าที่สุด หากนำตัวเลข GDP ปี 2562 มาเป็นแกนเปรียบเทียบ ในปี 2563 GDP ไทยตกประมาณร้อยละ 6 และเราค่อย ๆ ขยับกลับมาแตะที่จุดเดิม ในขณะที่ประเทศอื่นฟื้นกลับมาพ้นหมดแล้ว ดังนั้นถ้าเทียบกับ GDP ปี 2562 GDP ของไทยเราติดลบต่อเนื่องถึงปัจจุบันมิใช่หรือ

 

  • เหตุที่องค์กรอื่นอาจเห็นว่าเศรษฐกิจยังดีอยู่ เนื่องจากดูเพียงตัวเลข GDP รวม ไม่ได้ดูว่าคนยากคนจนเป็นอย่างไร หนี้สินครัวเรือนต่อ GDP ใน 10 ปีก่อนมีร้อยละ 70 แต่ขณะนี้สูงถึงร้อยละ 91.6 อีกทั้ง ตัวเลขวิจัยจากธนาคารไทยพาณิชย์ชี้ให้เห็นว่า คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทอยู่ได้เพราะหนี้สิน ซึ่งหมายความว่ารายจ่ายมากกว่ารายรับ

 

  • ตัวเลขอัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization Rate) ของไทยจากร้อยละ 60 ตกลงไปร้อยละ 58-59 ในเดือนนี้ ขณะที่ประเทศอื่น ๆ อาทิ เกาหลีใต้ ตัวเลขนี้สูงถึงร้อยละ 100 หากเรากระตุ้นให้ประชาชนสามารถบริโภคได้เต็มที่ ไม่ติดภาระหนี้ ประชาชนจะกล้าซื้อสินค้ามากขึ้น เครื่องจักรในโรงงานก็จะเริ่มเดินเครื่องอีกครั้ง

 

3. ในประเด็นที่ต้องมีการรักษาวินัยการเงินการคลัง รัฐบาลที่แล้วได้เพิ่มเพดานหนี้สาธารณะต่อ GDP จากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 70 การกู้เงินครั้งนี้จะเพิ่มหนี้สาธารณะเพียงประมาณร้อยละ 2 เท่านั้น หากสมมติว่า ปีนี้ GDP โตประมาณร้อยละ 3 ก็จะทำให้หนี้สาธารณะต่อ GDP ลดลงประมาณเท่าเดิม

 

4. ในประเด็นที่ต้องใช้งบประมาณผ่านการกู้นั้น รัฐบาลมีแผนจะคืนภายใน 3 ปี ซึ่งจะไม่กระทบ Credit Rating ของประเทศ เมื่อหารออกมาแล้ว คือประมาณแสนกว่าล้านต่อปี ดังนั้นจึงไม่มีการทิ้งหนี้ไว้ให้ลูกหลานตามวาทกรรมที่มีการกล่าวหา หากเทียบเป็นสัดส่วนต่อยอดงบประมาณ ดังเช่นในปีนี้คือ 3.4 ล้านล้าน จะเห็นว่าเป็นสัดส่วนไม่มากและอยู่ในวิสัยเดิมอยู่แล้ว โดยปกติประเทศไทยมีการกู้เงินเพื่อบริหารจัดการประเทศตลอดเวลา เพื่อนำเงินมาเร่งและใช้เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

 

5. การพิจารณาเรื่องการแก้วิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้นไม่ได้มองเพียงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต เพราะในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีเร่งนำเงินจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน ดังเช่นการเดินทางไป World Economic Forum ณ กรุงดาวอส นายกรัฐมนตรีได้พบกับบริษัทเอกชนระดับโลกจำนวนมาก ซึ่งส่งสัญญานเป็นบวกทั้งสิ้นและต่างเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต เช่น อุตสาหกรรมรถ EV ซึ่งขณะนี้เราสำรวจพบแหล่งแร่ลิเทียมแล้ว บริษัทรถ EV เจ้าใหญ่ของจีนลงทุนอยู่แล้วถึง 4 เจ้า และอยู่ในคิวอีก 2 เจ้า บริษัทเทสล่าก็กลับมาสนใจที่จะมาลงทุนในไทย บริษัทรถจากญี่ปุ่นก็ตัดสินใจจะลงทุนเพิ่มด้วย อีกทั้งรัฐบาลยจะมีการปรับปรุงการท่องเที่ยวไทย เพื่อเพิ่มรายได้ในระยะสั้นต่อไปด้วย

 

\'หมอมิ้ง\' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน \'ดิจิทัลวอลเล็ต\'

 

\'หมอมิ้ง\' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน \'ดิจิทัลวอลเล็ต\'

 

\'หมอมิ้ง\' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน \'ดิจิทัลวอลเล็ต\'

 

\'หมอมิ้ง\' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน \'ดิจิทัลวอลเล็ต\'

 

\'หมอมิ้ง\' ย้ำเศรษฐกิจไทยวิกฤติ จำเป็นต้องกระตุ้นผ่าน \'ดิจิทัลวอลเล็ต\'

 

ที่มา พรรคเพื่อไทย