มุมมอง 'มาดามเดียร์' ซอฟต์พาวเวอร์ ต้อง'สร้างกล้ามเนื้อ' ไม่ใช่ 'พีอาร์'

มุมมอง 'มาดามเดียร์'  ซอฟต์พาวเวอร์ ต้อง'สร้างกล้ามเนื้อ' ไม่ใช่ 'พีอาร์'

เปิดมุมมอง "มาดามเดียร์" แนะกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนใช้เม็ดเงิน แต่ต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง ชี้ "ซอฟต์พาวเวอร์" ต้อง"พาวเวอร์ " ไม่ใช่ "พีอาร์"

หนึ่งในรายชื่อที่เปิดตัวชิงหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่9 ซึ่งจะรู้ผลในวันที่ 9ธ.ค.นี้  หนึ่งในนั้น มีชื่อ "มาดามเดียร์" น.ส.วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ รวมอยู่ด้วย

เปิดมุมมองรวมถึงหลากหลายคำถามรวมถึงการจับตาไปที่บทบาทนักการเมืองในการเสนอตัวเป็นผู้นำหญิงคนแรก ของพรรคประชาธิปัตย์ 

น.ส.วทันยา ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ“Deep talk”ออกอากาศทางเฟซบุ๊คกรุงเทพธุรกิจ เริ่มที่ประเด็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่า ถ้าใช้คำว่าวิกฤติแปลว่า ต้องมีตัวเลขGDPที่ติดลบ2ไตรมาสเราก็เห็นชัดเจนว่า GDPไม่ได้ติดลบ ซึ่งที่ผ่านมาก็เติบโตไปเรื่อยๆเพียงแต่ว่า เติบโตไม่เท่าที่ควรจะเป็น

วันนี้ปัญหาของประเทศไทยไม่ใช่วิกฤติ แต่เป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและโครงสร้าง ที่เราขาดศักยภาพในการแข่งขันกับนานาชาติ

น.ส.วทันยา ยังกล่าวว่า เห็นด้วยกับการใช้เม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพียงแต่เราต้องวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นให้ตรงจุดก่อนส่วนตัวมองว่า วันนี้เรากำลังเกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทุนภายในประเทศที่ขาดหรือมีปัญหา

ส่วนตัวจึงเชื่อในหลักการว่าถ้าเราจะเติมเงินต้องเติมเงินลงไปในการแก้ปัญหาให้ตรงจุดไม่ว่าจะเป็น

มุมมอง \'มาดามเดียร์\'  ซอฟต์พาวเวอร์ ต้อง\'สร้างกล้ามเนื้อ\' ไม่ใช่ \'พีอาร์\'

1.การพัฒนาเรื่องทุนมนุษย์ ถ้ารัฐบาลจะใช้เงิน5แสนล้านอยากให้รัฐบาลไปลงทุนเรื่องทุนมนุษย์ เช่นการศึกษาเราจะพัฒนาระบบการศึกษาอย่างไรเพื่อให้ยอมรับกับความผันผวนในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติเทคโนโลยีและเอไอในปัจจุบันแต่ระบบการเรียนไทยเรายังเจอวิธีการแบบเดิม

2.ความผันผวนทั้งในเรื่อง climate change ปัญหาของโลกต่างๆ แล้วเด็กไทยเราจะยอมรับความผันผวนเหล่านี้อย่างไร ที่สำคัญปัญหาของประเทศคือทักษะแรงงาน ถ้าเราไปดูงานวิจัยที่ผ่านมาจะเห็นว่าสิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงมาตลอดตั้งแต่ยุคต้มยำกุ้งคือทักษะแรงงานแต่ปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม ในขณะเทคโนโลยีกำลังขยับไปอีกหนึ่งสเตปยิ่งทำให้ปัญหาทักษะแรงงานกลายเป็นระเบิดสะสมและเป็นลูกที่ใหญ่กว่า

  • แก้ทุนมนุษย์ -Productivity

ฉะนั้นถ้าจะแก้อย่างที่บอกต้อง1.แก้ที่ทุนมนุษย์ 2.แก้ที่ Productivity การใช้เทคโนโลยีในการผนวกภาคอุตสาหกรรมซึ่งยังไม่เห็นรัฐบาลผลักดันเรื่องเหล่านี้ เราพูดถึงเรื่องงบวิจัยแต่เมื่อเทียบกับต่างประเทศเรายังมีงบประมาณที่น้อยกว่าหลายประเทศหากเปรียบประเทศเป็นองค์กรการที่เราจะดีไซน์งบออกมาเราต้องดีไซน์ให้เหมาะกับองค์กรนั้นๆ แต่ยังไม่เห็นทิศทางตรงนี้ว่าทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร 

น.ส.วทันยา ย้ำว่าไม่ได้ปฏิเสธการเฉพาะหน้า  แต่ไม่ไม่ใช่การแก้ปัญหาระยะสั้นโดยไม่มีการพูดถึงการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างระยะยาวสิ่งที่เป็นห่วงวันนี้รัฐบาลพยายามนำเงินนอกงบประมาณคือไปกู้เพิ่ม  ฉะนั้นไม่ใช่แค่5แสนล้านที่รัฐบาลจะกู้แต่ยังรวมไปถึงดอกเบี้ยที่ต้องเพิ่มเข้าไป 

มุมมอง \'มาดามเดียร์\'  ซอฟต์พาวเวอร์ ต้อง\'สร้างกล้ามเนื้อ\' ไม่ใช่ \'พีอาร์\'

  • ส่องงบ 673.7ล้านล้าน 'ลงทุน' แค่20%

วันนี้เรามีการนำเงินในอนาคตมาใช้แต่กลับไม่ได้มีการพูดถึงในเชิงโครงสร้าง โครงสร้างงบประมาณของประเทศที่รัฐบาลกำลังจะเอาเข้าสภา จำนวน3.7ล้านล้านบาท

วันนี้เราเหลือเงินลงทุนแค่20% โดยจำนวนนี้เหลืองบลงทุนจริงน้อยกว่า20%เสียด้วยซ้ำ ส่วนตัวจึงมองว่าวิธีแก้ของรัฐบาล1.ไม่ตรงจุด 2.ภาระที่ต้องเกิดขึ้นในอนาคตจะนำมาสู่ปัญหาภาพใหญ่ที่บานปลายต่อไปในอนาคต

ในแง่ของความคุ้มค่าที่รัฐบาลพยายามจะบอกว่าก่อให้เกิดความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ที่รัฐบาลคาดว่าจะหมุนเวียนได้6รอบแต่ในข้อเท็จจริงสิ่งที่เกิดขึ้นสามารถหมุนเวียนได้เพียง1รอบเท่านั้น จึงมองว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ตอบโจทย์และไม่สามารถแบกรับความเสี่ยงที่มหาศาลในอนาคตและเป็นภาระของประชาชนที่จะต้อกบวกหนี้ตรงนี้เข้าไป 

  • ซอฟต์พาวเวอร์ ต้อง"พาวเวอร์" ไม่ใช่ "พีอาร์"

ส่วนที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลังระบุว่าไม่อยากให้มองแค่มาตรการเดียวแต่ต้องมองภาพรวมเป็นตะกร้า เช่นดิจิทัลวอลเล็ต วีซ่าฟรี รวมถึงซอฟต์พาวเวอร์ที่กำลังจะทำ น.ส.วทันยา กล่าวว่า เห็นด้วยทุกอย่าง แต่นโยบายรัฐบาลวันนี้ ยังไม่เห็นการกลับไปแก้ปปัญหาที่รากของปัญหาจริงๆ เช่นเรื่อง ซอฟต์พาวเวอร์วันนี้ที่มีการอนุมัติโครงการไป5พันล้าน 

"ถ้าเราจะพูดถึงคำว่า 'พาวเวอร์' คือการต้องมีกำลัง นั่นแปลว่าเราต้องมีกล้ามเนื้อก่อนแต่วันนี้ยังไม่เห็นรัฐบาลที่จะทำอะไรในการสร้างกล่ามเนื้อให้คนไทยให้กับประเทศบ้าง"

วันนี้ซอฟต์พาวเวอร์เราพูดถึงเม็ดเงิน5พันล้าน ถ้าถามคนที่อยู่ในวงการสื่อ ส่วนตัวไม่ได้เรียกว่า ซอฟต์พาวเวอร์แต่เป็นงบประมาณที่ว่าด้วยการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่มุ่งเน้นในเรื่องอีเวนท์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับดิจิทัลวอลเล็ตที่เรายังไม่เห็นการสร้างกล้ามเนื้อให้คนไทย หรือจะเติบโตในอนาคตได้อย่างมั่นคง

ยกตัวอย่าง K-POP  ในช่วงที่มีกระแสกังนัมสไตล์ และได้ไปเล่นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกเพื่อสร้างการยอมรับบทบาทคนเอเชียที่เข้าไปสู่เวทีระดับโลก ทำให้วัฒนธรรมคนเอเชียไปทัดเทียมวัฒนธรรมทางฟากยุโรป เป็นต้น

"ฉะนั้นการที่ไทยจะสร้างซอฟต์พาวเวอร์คือการที่รัฐบาลจะหันมาสนใจกับการสร้างอุตสาหกรรมที่แข็งแรงในการเพียงพอที่จะขยายไปในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมการกิน การแต่งกาย เป็นต้น"

การจะผลักดันซอฟต์พาวเวอร์นอกเหนือจะมีในเรื่องกฎหมายรวมถึงงบประมาณเข้าไปเกี่ยวข้อง ในประเทศไทยในช่วงที่ตนอภิปรายงบประมาณในปี2565 ในส่วนของกระทวงวัฒนธรรม ที่เรียกว่าเป็นซอฟต์พาวเวอร์จริงๆมีอยู่ประมาณ50ล้านบาทเท่านั้น หนังดีๆสักเรื่องลงทุนเป็น1,000ล้าน แล้วเราจะเอา50ล้านไปทำอะไร อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็ต้องเข้ามาสนับสนุน 

ในฐานะคนที่ที่มาจากอุตสาหกรรมสื่อ มองว่าอุตสาหกรรมสื่อเป็นอุตสาหกรรมที่ถูกละเลยจากภาครัฐ เข้าใจได้ว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสื่อเติบโตและเแข็งแรงได้ด้วยตนเอง แต่ ณ วันนี้อุตสาหกรรมสื่ออาจไม่ได้แข็งแรงเหมือนในอดีต เพราะเจอเรื่องของ Digital Disruption วันนี้ถ้ารัฐบาลจะประกาศนโนบายเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ ก็ต้องนำมาสู่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้เกิดขึ้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐจะต้องกลับมามองและเสริมสร้างตรงนี้อย่างจริงจัง 

“วันนี้เราเห็นแต่งบพีอาร์แต่ยังไม่เห็นนโยบายหรืองบที่จะไปเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้คนไทยเลย”

เมื่อถามว่า ถ้าอยากจะแก้ปัญหาโครงสร้างระยะยาวคิดว่าอยากทำอะไร น.ส.วทันยา ย้ำว่า การออกแบบนโยบายกลับไปแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างทั้งทุนมนุษย์ สวัสดิการ  

1.การศึกษาทำอย่างไรจะให้เข้าถึงคุณภาพการศึกษาที่เท่าเทียมบนคุณภาพที่ใกล้เคียงกันมีการศึกษาฟรีจนถึงอายุ15ปี ตามที่กำหนดตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลงานพรรคประชาธิปัตย์ในยุคที่ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกฯที่เสนอเป็นนโยบายการศึกษา แต่วันนี้ยังมีปัญหาในเรื่องความเหลื่อมล้ำ

2.วันนี้อัตราเด็กไทยเกิดน้อยลงเรื่อยๆจึงเป็นที่มาของการเลือกตั้งปี2566 ที่พรรคเสนอนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ในการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี รวมถึงการพัฒนาในเรื่องทักษะต่างๆ อีกด้วย

เมื่อถามว่า ถูกต้องอาจจะไม่ได้ถูกใจอาทิปัญหาทางเศรษฐกิจที่มีการแนะนำว่าต้องปรับโครงสร้างแต่ในทางการเมืองกลับกันคือขอถูกใจเอาไว้ก่อน หากมีโอกาสเป็นผู้นำพรรคจะทำอย่างไรในสภาวะที่ตอนนี้คนถูกใจมากกว่า น.ส.วทันยา กล่าวว่า ในฐานะนักการเมืองที่วันนี้เราเสนอตัวแทนมาเป็นตัวแทนประชาชนก็ต้องมีคำว่าถูกต้องเสมอ ถ้าไม่สามารถยืนอยู่บนหลักการนี้ได้เราก็ไม่สามารถทำหน้าที่บนความรับผิดชอบได้ ส่วนตัวยังเชื่อว่าเราสามารถทำทั้งถูกต้องและถูกใจให้เป็นไปในทิศเดียวกันได้ 

ติดตาม รายการ “Deep talk”ออกอากาศทางเฟซบุ๊คกรุงเทพธุรกิจ แบบเต็มๆเวลา 19.00 น. วันนี้(4ธ.ค.)