ดีเอสไอ เตรียมส่งสำนวน หุ้นสตาร์ค ให้อัยการ ส่วน หุ้นมอร์ แจ้งข้อหาอีก 28 ราย

ดีเอสไอ เตรียมส่งสำนวน หุ้นสตาร์ค ให้อัยการ ส่วน หุ้นมอร์ แจ้งข้อหาอีก 28 ราย

"ดีเอสไอ"แถลงความคืบหน้า "หุ้นสตาร์ค" เตรียมส่งสำนวนอัยการสิ้นเดือนนี้  เร่งติดตามเงินถูกโอนต่างประเทศ-ผู้ต้องหลบหนี 1 ราย  พร้อมแจ้งข้อหา 28 ราย คดีหุ้นมอร์

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566) พันตำรวจโท จักรกฤษณ์  วิเศษเขตการณ์ ผู้อำนวยการกองคดีการเงินการธนาคารและการฟอกเงิน แถลงข่าวความคืบหน้ากรณี การทุจริตในบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รับเป็น  คดีพิเศษเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 มีผู้เสียหายทั้งสิ้นจำนวน 4,704 ราย มูลค่าความเสียหายจำนวน 14,778 ล้านบาท

ขณะนี้ได้ดำเนินการสอบสวนใกล้เสร็จสิ้น ตอนนี้อยู่ระหว่างสรุปสำนวน และจะมีการประชุมคณะพนักงานสอบสวนสัปดาห์หน้า และคาดว่าจะส่งสำนวนให้กับอัยการภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้

โดยคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินการสอบปากคำผู้กล่าวโทษ จำนวน 5 ราย สอบปากคำพยานบุคคลรวมจำนวน 157 ราย แจ้งข้อกล่าวหาผู้ต้องหาจำนวน 11 ราย ทั้งนิติบุคคลและบุคคล แต่มีผู้ต้องหา 1 ราย ที่ถูกออกหมายจับและหลบหนีไปต่างประเทศ 1 ราย ซึ่งได้ประสาน หน่วยบังคับใช้กฎหมายของต่างประเทศ ผ่านอัยการต่างประเทศ ในการติดตามตัว ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าน่าจะหนีไปทางยุโรปแต่ไม่ชี้ชัดว่าอยู่ประเทศอะไร ส่วนทรัพย์สินที่อยู่ภายในประเทศได้ยึดอายัดหมดแล้ว

ส่วนทรัพย์สิน ที่ถูกโอนไปนั้นเราทราบจำนวนแต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาก็คืออัยการ อยู่ระหว่าง ที่จะพยายามติดตามเงินจำนวนนี้มาให้ได้ 

ส่วนกรณี ที่มีกระแสข่าวว่ามีเงินถูกโอนออกไปพันกว่าล้านนั้น เป็นการโอนไปก่อนที่จะรับมาเป็นคดีพิเศษ

โดยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ฐานตกแต่งบัญชีและงบการเงิน และฐานฉ้อโกงประชาชน รวมถึงความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และได้มีการยึดอายัดทรัพย์สิน เกี่ยวกับการฉ้อโกงประชาชนประมาณ 400 ล้านบาท และได้ส่งให้กับปปง. และนำเข้าคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อดำเนินการ ทางแพ่งเรียบร้อยแล้ว

พันตำรวจโท จักรกฤษณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับ
กรณีหุ้น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) ในระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 - 10 พฤศจิกายน 2565 (ช่วง pre - open) มีกลุ่มบุคคลรวม 32 ราย ร่วมกันสร้างราคาหรือปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ MORE (คดีปั่นหุ้น)อย่างต่อเนื่อง ในลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ มีมูลค่าความเสียหายประมาณ 800,000,000 บาท อีกส่วนหนึ่งฉ้อโกง มูลค่าความเสียหาย 4,000 กว่าล้าน

ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต. ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนที่จะรับมาเป็นคดีพิเศษ เมื่อเดือน มิถุนายน 2566 กว่าจะส่งมอบสำนวน ประมาณเดือนกันยายน 2566และมีการแต่งตั้งพนักงานสอบสวน กองบัญชาการสอบส่วนกลาง ที่ลงนามโดยนายกรัฐมนตรี มาร่วม ตอนนี้อยู่ระหว่าง ดำเนินการทำงานร่วมกัน

ในระหว่างที่รับสำนวนได้มีการเรียก เจ้าหน้าที่
​ ก.ล.ต. มาสอบ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตลาดหลักทรัพย์ และผู้เสียหาย บริษัทหลักทรัพย์ 10 บริษัทที่เป็นโบรกเกอร์ มาให้การเพิ่มเติม และได้มีการออกหมายเรียกผู้ต้องหา 28 รายในต้นเดือน ธ.ค.นี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหาไปแล้ว 4 ราย รวม 32 ราย
และคาดว่าจะรีบดำเนินการคดีนี้ให้เร็วที่สุด