“นิด้าโพล” เผย ปชช. หนุน “รีดภาษี-ตัดงบกระทรวง” มาทำนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ

“นิด้าโพล” เผย ปชช. หนุน “รีดภาษี-ตัดงบกระทรวง” มาทำนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ

“นิด้าโพล” เผย ผลสำรวจนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ กว่า 66% ไม่รู้วงเงินแต่ละพรรคใช้เท่าไหร่ เกือบ 50% มอง ที่มาแหล่งเงิน ต้องรีดภาษีมาแจก 27.86% ตัดงบกระทรวงไม่จำเป็น ด้าน 44.35% ระบุ พรรคนั้นต้องรับผิดชอบ ถ้าแจกแล้วหนี้สาธารณะพุ่ง รองมา คือนักการเมืองที่ทำ

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับเครือข่ายการเมืองสะอาด สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “นโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการของพรรคการเมืองช่วงเลือกตั้ง”

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนต่อวงเงินที่จะต้องใช้เกี่ยวกับนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 66.72 ระบุว่า ไม่ทราบ และ/หรือ ไม่เคยทดลองคำนวณ 

รองลงมา ร้อยละ 14.81 ระบุว่า ทราบ และ/หรือ เคยคำนวณรายละเอียดไว้ 

“นิด้าโพล” เผย ปชช. หนุน “รีดภาษี-ตัดงบกระทรวง” มาทำนโยบายแจกเงิน-สวัสดิการ

ร้อยละ 11.75 ระบุว่า ไม่ทราบและไม่สนใจว่าต้องใช้วงเงินเท่าไหร่สำหรับแต่ละนโยบายแต่ละพรรค 

และร้อยละ 6.72 ระบุว่า เป็นหน้าที่ของแต่ละพรรคการเมืองที่จะต้องคำนวณเงินและแจ้งให้ประชาชนทราบ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อแหล่งที่มาของเงินในการจัดทำตามนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมือง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.62 ระบุว่า จัดเก็บภาษีประชาชน/บริษัท/ห้างร้านต่างๆ เพิ่มขึ้น 

รองลงมา ร้อยละ 27.86 ระบุว่า ตัดทอนงบประมาณที่ไม่จำเป็นจากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ 

ร้อยละ 25.73 ระบุว่า กู้เงินจากต่างประเทศ 

ร้อยละ 21.15 ระบุว่า ใช้เงินคงคลังและเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย 

ร้อยละ 18.55 ระบุว่า กวาดล้างการทุจริตเพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอที่จะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ 

ร้อยละ 14.27 ระบุว่า กู้เงินจากในประเทศ และร้อยละ 3.82 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ส่วนผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหาย หากการดำเนินตามนโยบายแจกเงินหรือจัดสวัสดิการต่างๆ ของแต่ละพรรคการเมืองก่อให้เกิดปัญหาทางการคลังและหนี้สาธารณะ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.35 ระบุว่า พรรคการเมืองที่คิดและดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ 

รองลงมา ร้อยละ 41.68 ระบุว่า นักการเมืองที่คิดและดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ 

ร้อยละ 39.47 ระบุว่า ประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในคราวนี้ 

ร้อยละ 14.43 ระบุว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งที่ไม่หาทางป้องกัน 

ร้อยละ 9.62 ระบุว่า ข้าราชการประจำที่ทำงานรับใช้พรรคการเมืองในการดำเนินนโยบายเหล่านี้ 

ร้อยละ 6.34 ระบุว่า นักวิชาการที่ไม่ออกมาตักเตือนให้สติสังคม ร้อยละ 6.26 ระบุว่า เชื่อว่าปัญหาทางการคลังและหนี้สาธารณะ จะไม่เกิดขึ้น และร้อยละ 1.60 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ