"นิกร" ชี้โอกาสยุบสภา เกิดได้ทุกวัน ประเมินส.ส.แห่ลาออก -สภาล่มคือปัจจัย

"นิกร" ชี้โอกาสยุบสภา เกิดได้ทุกวัน ประเมินส.ส.แห่ลาออก -สภาล่มคือปัจจัย

"นิกร" ชี้ตัวแปร ส.ส.ลาออก-สภาล่ม ปัจจัยสำคัญ นำไปสู่การยุบสภา ประเมินโอกาสยุบสภาเกิดได้ทุกวัน แต่ห่วง 2ร่างพ.ร.ป.ยังไม่ประกาศใช้อาจมีปัญหา

             นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา ให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลดน์  เป็นจังหวะการเคลื่อนตัวและถึงเวลาที่ต้องดำเนินการทางการเมืองของพรรคการเมือง และนักการเมือง เพราะเป็นระยะเวลาที่เหลืออยู่ หลังจากที่กติกาเลือกตั้งมีความชัดเจน อย่างไรก็ดีทราบว่า ส.ส.ที่มีชื่อจะย้ายไปพรรคภูมิใจไทย ทยอยลาออก เช่น น.ส.แนน บุณย์ธิดา สมชัย  ส.ส.อุบลราชธานี ทั้งนี้จะทำให้สภาฯ มีภาวะปริ่มน้ำ เพราะจากตัวเลข พบว่ามีส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ลาออก 11 คน และฝ่ายค้าน 16 คน ทำให้ตัวเลข ส.ส.รัฐบาลมี 246 คน และส.ส.รัฐบาล  190 คน ซึ่งมากกว่าฝ่ายค้าน 56 เสีงยง หากสามารถประคองไปได้ เชื่อว่าจะผ่านไปได้

 

 

             นายนิกร กล่าวด้วยว่า สำหรับฝ่ายรัฐบาลมีประเด็นให้พิจารณาคือ แม้ว่ารัฐบาลมี ส.ส. 246 คน แต่ในจำนวนดังกล่าว มีส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรี จำนวน 12 คน ดังนั้นการประชุมสภาฯ และการลงมติต้องระดมให้เข้าร่วม  ทั้งนี้ยอมรับว่าปัญหาของประชุมตอนนี้ คือ ฝ่ายค้านไม่เป็นองค์ประชุม เพราะจะทำให้ประชุมล่มได้ง่าย ดังนั้นต้องช่วยกันให้ผ่านเพื่อให้เกิดประโยชน์ 

             “ผมพูดว่าทำให้ดีที่สุด แม้จะมีการลงไปหาเสียง แต่กฎหมายที่มีในสภาฯ เป็นกฎหมายคาบเกี่ยว กันทั้งฝ่ายรัฐบาล และ ฝ่ายค้าน เช่น ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ของพรรคฝ่ายค้าน ร่างกฎหมายคู่ชีวิต ของพรรครัฐบาล ดังนั้นทั้ง 2ฝ่ายต้องช่วยกันประคอง ไม่ใช่ว่ากฎหมายฝ่ายรัฐบาลจะพิจารณาแต่ฝ่ายค้านไม่ร่วมพิจารณา หรือร่างกฎหมายของฝ่ายค้าน แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่รวมเป็นองค์ประชุม ทั้งนี้งบประมาณที่ใช้กับการประชุมสภาฯ แต่ละครั้งใช้ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท” นายนิกร กล่าว

             นายนิกร กล่าวด้วยว่าสำหรับส.ส.รัฐบาลที่ต้องขยับเพื่อทำพรรคใหม่ อาจทำให้เสียงของรัฐบาลในสภาฯ จะลดลงและกลายเป็นเสียงข้างน้อยได้ ส่วนโอกาสยุบสภานั้นตนมองว่ามีโอกาสมาก และสามารถยุบได้ทุกวัน เพราะด้วยเหตุของสภาฯล่ม หากตั้งใจจะยุบสภาฯน จริง ให้ถอนคนออกมา 20 คนทำให้เกิดเหตุได้ อย่างไรก็ดีสำหรับประเด็นที่ตนกังวล คือ การดำเนินการให้ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง เข้าสู่กระบวนการประกาศใช้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีผลบังคับใช้ หากยุบสภาก่อนอาจมีปัญหา เพราะฝ่ายค้านและรัฐบาลจะมีผลกระทบ.