50 จังหวัด ร่วมประกวด "ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD"

50 จังหวัด ร่วมประกวด "ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD"

50 จังหวัด ร่วมประกวด "ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD"ย้ำผลสำเร็จ "ห้องเรียนเคมีดาว" สร้างประโยชน์ทั่วประเทศ

กรุงเทพฯ – 17 พฤศจิกายน 2566 - กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย (Dow) และพันธมิตรในโครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว"  เปิดเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เป็นปีที่ 9 ชิงแชมป์การประกวดโครงงานทดลองเคมีแบบย่อส่วน  DOW-CST AWARD  ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งมีโรงเรียนทั่วประเทศส่งเข้าประกวดถึง 132 โครงงาน จาก 50 จังหวัด สะท้อนผลสำเร็จในส่งเสริมให้คุณครูทั่วประเทศนำเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ไปใช้ในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน ด้วยจุดเด่นของชุดการทดลองมีขนาดเล็ก ปลอดภัยสูง และราคาถูก ช่วยสร้างโอกาสที่เท่าเทียมด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ให้เด็กไทยได้ลงมือทดลองจริง แม้ในโรงเรียนที่ห่างไกล รวมทั้งรู้จักการประยุกต์ใช้สิ่งของในท้องถิ่นมาทดลอง ช่วยสร้างความเข้าใจในเนื้อหา และสร้างทัศนคติที่ดีในการศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งยังเป็นสาขาที่มีความต้องการอีกมากในประเทศไทย

50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"

Dow ได้ร่วมกับสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ (CST) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (สพฐ.และ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ส่งผลงานการทดลองที่ออกแบบภายใต้หลักการของ "เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนเข้าร่วมประกวด DOW-CST AWARD ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ ในหัวข้อ Green Chemistry ซึ่งในปีนี้มียอดผู้เข้าร่วมประกวดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 132 ทีม จาก 50 จังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นการเน้นย้ำถึงผลสำเร็จที่มีการนำวิธีการสอนแนวใหม่ไปใช้ในห้องเรียนอย่างทั่วถึง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการทดลองวิทยาศาสตร์แม้ในจังหวัดห่างไกล

50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"  

การประกวดรอบชิงชนะเลิศได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ที่ห้าง เดอะ สตรีท รัชดา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย 32 ทีม ในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนด้านวิทยาศาสตร์มากมายที่เปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้ด้วย อาทิ การแสดง "วิทยาศาสตร์แสนสนุก" โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ การแนะแนวสายอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย การเล่นเกมส์ตอบคำถามวิทยาศาสตร์ชิงรางวัลบนเวที ช่วงพูดคุยสร้างแรงบันดาลใจ "มหัศจรรย์ของธาตุและถิ่นที่อยู่" โดยคุณอาจวรงค์ จันทมาศ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง จากรายการ The Standard Podcast "ใด ๆ ในโลกล้วนฟิสิกส์"  

50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"

นายสุพจน์ เกตุโตประการ รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจ และพัฒนาธุรกิจคาร์บอนต่ำ กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า "Dow มุ่งสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับเยาวชนไทย เพื่อสร้างนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ที่จะคิดค้นนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในอนาคต โครงการห้องเรียนเคมีดาว ไม่เพียงเพิ่มโอกาสที่เท่าเทียมในการทดลองเคมีให้กับเด็กไทยทั่วประเทศเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะใช้สารเคมีน้อย ช่วยลดของเสียจากการทดลอง อีกทั้งช่วยประหยัดพลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตและขนส่งอุปกรณ์ชิ้นใหญ่ รวมทั้งสารเคมีจำนวนมากที่แต่ละโรงเรียนต้องใช้"

50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"  

ศ.ดร.วุฒิชัย พาราสุข นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า "การทำการทดลองด้วยเทคนิคปฏิบัติการแบบย่อส่วนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการคิด วิเคราะห์ และเข้าใจหลักการทางเคมีได้อย่างลึกซึ้ง จึงเหมาะที่นำมาใช้ร่วมกับการเรียนการสอนในโรงเรียน นอกจากจะสร้างทักษะให้นักเรียน ยังสร้างความมั่นใจให้นักเรียนสามารถทดลองเองได้อย่างปลอดภัยและกล้าคิด กล้าออกแบบการทดลองใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญาหาต่าง ๆ อันจะเป็นจุดเริ่มต้นสู่การคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยต่อไป"

 

นายเอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า "การประกวดในครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งผลสำเร็จที่ชัดเจนของของ สพฐและพันธมิตรจากการนำเคมีแบบย่อส่วนเข้ามาช่วยในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ไทย เป็นการเปิดประตูสู่โอกาสทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายและทันสมัยให้กับนักเรียนทั่วประเทศ ได้เรียนรู้และทดลองเคมีที่มีขนาดเล็กและปลอดภัย สามารถเข้าถึงการศึกษาทางวิทยาศาสตร์แม้ในพื้นที่ห่างไกล คุณครูได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในบทเรียนในหลักสูตรให้สอดรับกับบริบทของท้องถิ่นได้จริง จนสามารถส่งโครงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์สู่เวทีการประกวดได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งสพฐ.ตั้งใจว่าจะขยายผลการสอนด้วยการทดลองเคมีแบบย่อส่วนให้ไปถึงโรงเรียนจำนวนมากยิ่งๆ ขึ้นต่อไป และหวังว่าจะมีผู้เข้าร่วมประกวดมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ ปี"

 

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า "ชุดทดลองห้องปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้การเรียนเคมีเป็นเรื่องง่ายและสนุก เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และที่สำคัญคือเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีห้องปฏิบัติการเคมี สามารถคิดและทำโครงงานด้านเคมีได้อย่างหลากหลาย อพวช. เชื่อมั่นว่าการที่เด็กและนักเรียนสามารถเข้าถึงและใช้งานห้องปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนนี้ได้ จะเป็นการปลูกฝังความรักและความสนใจในวิชาเคมีมากขึ้น และขยายผลต่อความสนใจในวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ อีกด้วย

  50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"

ผลการแข่งขัน DOW-CST AWARD ครั้งที่ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 1) รางวัลยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศ จากศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี  ได้แก่ โรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จ. ปราจีนบุรี จากโครงงาน Electric Greenery 2) รางวัลดีเด่น ได้แก่ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  จ.นครปฐม จากโครงงานอัตราการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เมื่อใช้เม็ดวุ้นอัลจิเนตผสมแมงกานีสออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท 3) รางวัลชมเชย จำนวน รางวัล ได้แก่ โรงเรียนเมืองนครนายก จ. นครนายก และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย จ. กรุงเทพฯ ได้รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

 

ผลการแข่งขันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วย 1) รางวัลยอดเยี่ยม ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศ จากศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้แก่ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ. สงขลา จากโครงงานชุดปฏิบัติการเคมีย่อส่วน เรื่องการแพร่ 2) รางวัลดีเด่น ได้แก่ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย จ. เชียงราย จากโครงงานปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ของแก๊ส ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท 3) รางวัลชมเชย จำนวน รางวัล ได้แก่ โรงเรียนโยธินบูรณะ จ. กรุงเทพฯ และโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง จ. ปราจีนบุรี ได้รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

  50 จังหวัด ร่วมประกวด \"ปฏิบัติการเคมีย่อส่วน DOW-CST AWARD\"

นอกจากนี้ โครงการฯ ได้มอบรางวัลพิเศษ หรือรางวัล Popular View จำนวน รางวัล ให้กับทีมที่มียอดชมคลิปการทดลองสูงสุดบน YouTube ของ Dow Thailand โดยตัดสินจากยอดการชมวิดีโอเท่านั้น ได้แก่ โรงเรียนสตูลวิทยา จ. สตูล ซึ่งได้รับเงินรางวัลพิเศษ 10,000 บาท

 

           สำหรับคุณครูที่ปรึกษาของทั้ง 32 ทีม ที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ จะได้รับสิทธิเข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2024) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ พร้อมได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิกของสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ และเป็นครูต้นแบบของโครงการฯ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งครูที่ผ่านการฝึกอบรมภายใต้โครงการ "ห้องเรียนเคมีดาว" จะสามารถนำชั่วโมงการอบรมบรรจุในการขอหรือเลื่อนวิทยาฐานะของครูผู้สอนได้ต่อไป