คอนเฟิร์มแล้ว! แนวทาง 'แก้หนี้ครู' มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณแน่นอน

คอนเฟิร์มแล้ว! แนวทาง 'แก้หนี้ครู' มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณแน่นอน

"เพิ่มพูน ชิดชอบ" แจงชัดแนวทางหักเงินเดือน "แก้หนี้ครู" ทั่วประเทศ รองรับสวัสดิภาพครูเกษียณ มีเงินเหลือใช้แน่นอน

วันนี้ (13 ก.พ. 67) นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ และ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการนำเสนอหัวข้อข่าว เรื่องการหักเงินบำเหน็จบำนาญแก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยอาจทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการหักหนี้จากเงินบำนาญ และเกรงว่าจะไม่มีเงินเหลือใช้หลังครูเกษียณนั้น

โฆษก ศธ. ชี้แจงว่า ในนามกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) จึงอยากชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายว่า ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการหักเงินเดือนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้แก่สวัสดิการภายในส่วนราชการและสหกรณ์ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 (5) กำหนดไว้ว่า
 

ข้าราชการที่ประสงค์จะให้ส่วนราชการหักเงินเดือนหรือเงินบำเหน็จบำนาญเพื่อชำระหนี้เงินกู้ มีสิทธิที่จะได้เลือกใช้สวัสดิการภายในส่วนราชการหรือสหกรณ์ได้ตามความประสงค์ แต่ทั้งนี้การจะให้ส่วนราชการหักเงิน ณ ที่จ่ายเพื่อชำระหนี้เงินกู้นั้น จะต้องมีเงินเดือนสุทธิหลังหักจากหักชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละ 30 ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555

ในกรณีการหักหนี้จากเงินบำนาญของข้าราชการบำนาญ ต้องคำนวนจากฐานเงินบำนาญในสัดส่วนที่ระเบียบกำหนด คือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 เพราะหากใช้การคำนวนจากฐานเงินเดือนก่อนเกษียณอายุราชการ อาจทำให้ลูกหนี้บางกลุ่มเหลือเงินเดือนสุทธิน้อยกว่าที่ระเบียบกำหนด เนื่องจากฐานของเงินเดือนก่อนเกษียณอายุราชการจะสูงกว่าฐานเงินบำนาญอยู่แล้ว ส่งผลให้ไม่เหลือเงินที่จะดำรงชีพในแต่ละเดือนได้
 

พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงออกแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาฉบับนี้ เพื่อให้ส่วนราชการในสังกัดและองค์กรในกำกับ ศธ. ดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัด และเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษา เนื่องจากแต่ละคนมีภาระหนี้สินที่แตกต่างกันตามความจำเป็น เราจึงคำนึงถึงเงินเดือนคงเหลือสุทธิเพื่อการดำรงชีพในส่วนนี้เป็นอย่างมาก จึงอยากให้ครูได้ใช้เงิน หลังหักล้างยอดหนี้สินอย่างสุขใจ “มีกิน มีเก็บ มีเหลือ มีใช้”

นอกจากนี้ ได้ดำเนินการตั้งสถานีแก้หนี้ครู โดยมีคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาแต่ละจังหวัด ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยประสานกับสหกรณ์ออมทรัพย์ครูหรือสถาบันการเงินอื่น และเชิญเจ้าหนี้ทุกรายร่วมเจรจาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้หรือแก้ไขปัญหาการชำระหนี้ แล้วสรุปรวบรวมรายงานผลการดำเนินการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการทราบ ในวันที่ 10 ของทุกเดือน เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อไป

คอนเฟิร์มแล้ว! แนวทาง \'แก้หนี้ครู\' มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณแน่นอน คอนเฟิร์มแล้ว! แนวทาง \'แก้หนี้ครู\' มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณแน่นอน คอนเฟิร์มแล้ว! แนวทาง \'แก้หนี้ครู\' มีเงินเหลือใช้หลังเกษียณแน่นอน