สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ต.ค. 66

สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 19 ต.ค. 66

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ ประจำวันที่ 19 ต.ค. 66 เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ลดผลกระทบท้ายเขื่อน พร้อมเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำ ภาพรวมของประเทศ ประจำวันที่ 19 ต.ค. 66 จากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังปานกลางประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ภาคกลางตอนล่าง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง 

คาดการณ์สถานการณ์น้ำ ในช่วงวันที่ 20-24 ต.ค. 66 ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง พายุโซนร้อน “ซันปา” บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย

ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 18 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 6,617 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้

  • ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 61,264 ล้าน ลบ.ม. (74%)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 37,097 ล้าน ลบ.ม. (64%)

เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่

เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง

  • ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม แม่มอก และแควน้อยบำรุงแดน
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร น้ำพุง และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล

ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย

เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา
  • ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก: ปราณบุรี 

โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด  2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ  3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่

 

สถานการณ์อุทกภัย

พื้นที่ชุมชน รวม 4 จังหวัด 19 อำเภอ 84 ตำบล 487 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,794 ครัวเรือน ดังนี้ 

  • ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

พื้นที่เกษตรกรรม รวม 18 จังหวัด 477,527 ไร่ ได้แก่ จ.พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี กรุงเทพมหานคร หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาพสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และปราจีนบุรี

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จัดประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำชี-มูล โดยมีคณะกรรมการลุ่มน้ำมูล เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำชี-มูลและพิจารณาแผนการระบายน้ำของเขื่อน โดยมติที่ประชุมให้เขื่อนอุบลรัตน์ปรับเพิ่มการระบายน้ำจากวันละ 15 ล้าน ลบ.ม. ทยอยปรับเพิ่มเป็นขั้นบันได วันละ 3 ล้าน ลบ.ม. จนถึงวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. และหากจะเพิ่มการระบายน้ำ ให้มีหนังสือขอความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นในฐานะประธานคณะกรรมการลุ่มน้ำชีอย่างเป็นทางการ แต่ไม่เกินวันละ35 ล้าน ลบ.ม. และให้เขื่อนลำปาวปรับลดการระบายน้ำลงวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. จนกว่าปริมาณน้ำในเขื่อนจะเข้าสู่สภาวะปกติ 

รวมถึงจัดการและควบคุมการระบายน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ท้ายน้ำของลุ่มน้ำมูล รวมทั้งเห็นชอบและมอบหมายให้ สทนช.3 ในนามศูนย์อำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการตามมาตรา 36 ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ ปี 2561 โดยให้มีหน้าที่และอำนาจในการบูรณาการ อำนวยการ บูรณาการติดตามและตรวจสอบการบริหารจัดการน้ำและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันในการป้องกัน แก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในพื้นที่จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.ตาก และกำแพงเพชร ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง นครศรีธรรมราช และพังงา

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สนับสนุนน้ำดื่ม เพื่อให้ศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย ภาคกลาง นำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 2,400 ขวด ขนาดขวดละ 0.6 ลิตร รวมทั้งสิ้น 1,440 ลิตร กรุงเทพมหานคร ดำเนินการกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำฝน เพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำ ดังนี้

  • คลองแสนแสบ ช่วงบริเวณคลองวัดบำเพ็ญเหนือ เขตมีนบุรี
  • คลองสอง ช่วงชุมชนสะพานไม้ 1 เขตหลักสี่
  • คลองบางซื่อ ช่วงใต้ทางด่วนถึงหลังกรมสรรพาวุธทหารบก เขตพญาไทและเขตบางซื่อ
  • บึงกระเทียม ช่วงซอยรามอินทรา 82 เขตมีนบุรี
  • คลองซอยที่สิบเอ็ด ช่วงชุมชนฮ่าซ่านัย เขตหนองจอก

น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน   

น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน